เมื่อเอ่ยถึง เพลงลูกทุ่งอีสาน เชื่อว่าหลายคนคงจำ เนื้อร้อง และทำนองได้ ติดหู วันนี้ สยามรัฐออนไลน์ พาไปรู้จัก เพลงลูกทุ่งอีสาน ว่ามีความเป็นมาอย่างไร โดย เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต ได้เผยแพร่  กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งอีสาน ตอนที่ 10 ต่อจากตอนที่แล้ว ไว้ดังนี้


กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งอีสาน (10)

“เพลงลูกทุ่ง” จึงต่างไปจาก “หมอลำ” แต่คล้ายกันเพราะเป็นวัฒนธรรมร่วมที่ใช้ร่วมกัน และถือกำเนิดมาจากความไม่มีกฎเกณฑ์ระบุ มาตรฐาน แต่อาศัยทำนองและคำร้องที่ส่งสัมผัสเหมือน กลอนแปด กลอนร่าย มีลักษณะเรียบง่าย เนื้อหาและภาษาที่ใช้ตรงไปตรงมา น้ำเสียงลีลาชัดถ้อยชัดคำ มงคล เปลี่ยนบางช้าง ให้ลักษณะที่ชัดเจนของเพลงลุกทุ่งไว้ 2 ประเภท คือ เสียงหรือสำเนียง ของ 1. เสียงร้องนำ 2. เสียงดนตรี

คำว่า “เพลงลูกทุ่ง” เพิ่งมีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2507 หนึ่งในสัญลักษณ์ของเพลงลูกทุ่งคือเครื่องดนตรีฝรั่งที่เข้ามารัชสมัยรัชกาลที่ 4 โดยเฉพาะ แอคคอร์เดี้ยน เพลงลูกทุ่ง จึงมีแหล่งกำเนิดในภาคกลางลุ่มน้ำเจ้าพระยา และใช้วัฒนธรรมร่วมกันทั้งสองฝั่งโขงด้วยความประณีประนอมของเครือญาติ ก่องจะแพร่หลายไปตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ พร้อมๆ กับการตัดถนนสายมิตรภาพ จึงมีขุนพลเพลงลูกทุ่งอีสานเข้มามากมายในแถวหน้าของวงการเพลงลูกทุ่งเมื่อ พ.ศ. 2513 เป็นต้นมานี้เอง ซึ่งมีผลพวงมาตั้งแต่ เบญจมินทร์,เฉลิมชัย ศรีฤชา,พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา,สุรินทร์ ภาคศิริ,เทพพร เพชรอุบล,ดาว บ้านดอน,ศักดิ์สยาม เพชรชมพู,สนธิ สมมาตร,ฉวีวรรณ ดำเนิน,อังคนางค์ คุณไชย และวงเพชรพิณทอง เป็นอาทิ

ความโด่งดังของ สองวงดนตรีเป็นอย่างน้อยคือ เพชรพิณทอง และ วงดนตรีเสียงอีสาน นั้นต้องแยกกล่าวถึง เพราะเป็นสองวงแม่เหล็กต่อยอดกันและกัน ขณะที่เพลงลูกทุ่งอีสานเริ่มบัญญัติใช้เมื่อ พ.ศ.2517 หลังจากความดังของเพลง อีสานลำเพลิน ของ อังคนางค์ คุณไชย เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง บัวลำภู แต่ก่อนหน้านี้นักร้องจากพื้นที่ราบสูส่วนมากมีพื้นฐานความเป็นหมอลำมาก่อน โดยเฉพาะความโด่งดังของ วงรังสิมันต์ที่มี ฉวีวรรณ ดำเนิน เป็นนักร้องนำประจำวงดนตรี สำหรับ ฉวีวรรณ ดำเนิน ยังเคยเป็นนางเอกหมอลำคณะรังสิมันต์ คู่กับ ทองคำ เพ็งดี คู่พระคู่นาง ที่โด่งดังมากในยุคประมาณปี 2508 - 2513 โดยเฉพาะเรื่อง สีทนมะโนราห์ โดยมีลูกศิษย์ลูกหา เช่น บานเย็น รากแก่น อังคนางค์ คุณไชย ที่ได้รับการยกย่องเป็นราชินีหมอลำเช่นเดียวกัน ก่อนจะเปลี่ยนผ่านมาถึง บานเย็น รากแก่น โดยการสนับสนุนของ เทพบุตร สติรอดชมพู ผู้จัดการวงที่มองขาดด้านการตลาด

ทว่า บานเย็น รากแก่น กลับมีเพลงโดดเด่นไม่มากนัก โด่งดังจากเพลง คืนเพ็ญเข็นฝ้าย ผลงานของ สุรินทร์ ภาคศิริ ประกอบภาพยนตร์เรื่องแผ่นดินแม่ แต่ด้วยบุคลิกสวยรำสะสวย แต่เพลงเด่นเพลงดัง แต่ความดังก็ร้องประกบคู่กับสายัณห์ สัญญามาแล้ว หากนับจริงแล้วยังน้อยมากเมื่อเทียบกับอังคนางค์ ที่มีเพลงแก้เกี้ยวกับนักร้องลูกทุ่งอีกหลายคนไม่ว่าจะเป็น ร้อยเอ็ด เพชรสยาม ,เทพพร เพชรอุบล ,ศักดิ์สยาม เพชรชมพู เป็นต้น

โดยเฉพาะความโด่งดังจากเพลงอีสานลำเพลิน ความสำคัญของเพลงนี้ ในแง่ประวัติศาสตร์เพลงลูกทุ่งอีสาน ว่ากันว่า นี่คือเพลงแรกของการเปิดศักราช "ลูกทุ่งอีสาน" ยุคเฟื่องฟู โดยมี เทพพร เพชรอุบล-ศักดิ์สยาม เพชรชมพู-ดาว บ้านดอน-อังคนางค์ คุณไชย เป็นนักร้องตัวชูโรง ก่อนหน้านั้น ก็อาจมีเพลงที่นำกลอนลำ ท่วงทำนองลำเพลิน ไปใช้อยู่บ้าง 

เพลงอีสานลำเพลินนี้ จัดเป็นต้นแบบของเพลงอีสาน 2 ท่อน (ท่อนแรก "โอ่ลำ" ท่อนที่สองร้องเป็นเพลง) ในยุคต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน และยังเป็นเพลงร้องอัดแผ่นเสียงเพลงแรกของ ราชินีเพลงลูกทุ่งอีสาน อังคนางค์ คุณไชย ด้วย ในตอนที่อัดแผ่นเสียงเพลงนี้ ในปี พ.ศ. 2515 เธอมีอายุเพียง 17 ปี เท่านั้นและเสริมความดังทุลุฟ้าด้วยเพลง"สาวอุบลรอรัก" เพลงที่เสมือนเครื่องหมายการค้าประจำตัวของ อังคนางค์ คุณไชย ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ประพันธ์เพลงนี้เมื่อปี 2517

ขณะเดียวกันยังมีนักร้องที่เป็นลักษณะพันทางอยู่หลายคนไม่ว่าจะเป็น พิมพ์ใจ เพชร พลาญชัย,เย็นจิตร พรเทวี,เดือนเพ็ญ อำนวยพร,อรอุมา สิงห์สิริ,ปริศนา วงศ์ศิริ,พิมพา พรศิริ ,น้องนุช ดวงชีวัน ,สไบแพร บัวสด ,ขวัญอ่อน ตลาดสด และ ศิริพร อำไพพงศ์ เป็นต้น ล้วนต่างมีเพลงเด่นเพลงดังเป็นปรากฏฮิตติดหูมาจนถึงบัดนี้ และหลายคนยังยื่นพื้นได้จนถึงปัจจุบัน ขณะที่บางคนก็ค่อย ๆ เงียบหายเปลี่ยนอาชีพ 

รวมไปถึง จินตรา พูนลาภ ลูกทุ่งหมอลำสาว ,ฮันนี ศรีอีสาน ที่มาในยุคกลาง เสียดายที่ ฮันนี ศรีอีสาน เสียชีวิตเร็ว ขณะที่ จินตรา พูนลาภ ยังยื่นพื้นที่ผลงานเพลงอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงยุค หญิงลี ศรีจุมพล ,ต่าย อรทัย ,นก พรพนา ,ตั๊กแตน ชลดา ,ดอกอ้อ ทุ่งทอง มาจนถึงยุคลูกทุ่งอินดี้ อย่าง ลำไย ไหทอง , อาม ชุติมา, เต๊ะ ตระกูลตอ,มีนตรา อินทิรา
 

ที่มา:เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต