เมื่อเอ่ยถึง เพลงลูกทุ่งอีสาน เชื่อว่าหลายคนคงจำ เนื้อร้อง และทำนองได้ ติดหู วันนี้ สยามรัฐออนไลน์ พาไปรู้จัก เพลงลูกทุ่งอีสาน ว่ามีความเป็นมาอย่างไร โดย เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต ได้เผยแพร่  กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งอีสาน ตอนที่ 7 ต่อจากตอนที่แล้ว ไว้ดังนี้


กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งอีสาน (7)

ยุคสมัยเพลงลูกทุ่งกำลังเบ่งบานความโด่งดังของ สายัณห์ สัญญา ,ยอดรัก สลักใจ กำลังเป็นที่ชื่นชอบของแฟนเพลงทั่วฟ้าเมืองไทย แนวเพลงลูกทุ่งอีสานก็เป็นที่ยอมรับไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือคนชาวบ้านทุ่งในกรุงเทพฯ เท่านั้น ยังข้ามไปถึงฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงการก้าวข้ามแม่น้ำโขงมาของ ก.วิเสส นักร้องเพลงสมัยที่กลมกลืนกับเพลงลูกทุ่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาก็ยิ่งแนบแน่นกับวงดนตรีต่าง ๆ จนถึงขนาดได้เล่นเป็นพระเอกภาพยนตร์เพราะความโด่งดังสองฝั่งแม่น้ำโขงจากเพลง ไทดำลำพัน นับตั้งแต่ ปี 2511 สถานีวิทยุกระจายเสียง ททท. ได้นำเอาเพลงลาวชื่อ “ไทดำลำพัน” มาเผยแพร่ทางคลื่นเอเอ็มส่งกระจายเสียงไปทั่วประเทศ  และก.วิเสสก็ยังเป็นกัลยาณมิตรสนิทกับ กังวานไพร ลูกเพชร ขุนพลเพลงศิษย์เอกครูสุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับ--- กังวานไพร ลูกเพชร คือเจ้าของบทเพลง ลมว่าว ที่แต่งโดย ชาตรี ศรีชล ที่มีกลิ่นอายเครื่องดนตรีสองฝั่งโขงที่แคนขึ้นอินโมรเพลง

ปัจจุบัน ก.วิเสส ยังไปมาหาสู่กับกังวานไพร ลูกเพชรอยู่เนื่อง ๆ ทุกครั้งที่เขามีโอกาสมาเมืองไทย บ้านพักหลังเดิมแถววงเวียนใหญ่และย่านบางแคในทุกวันนี้ยังเป็นหลังผิงอันอบอุ่นของหนุ่มใหญ่สายสัมพันธ์บ่เคยขาด

วงดนตรีสุพร สมบัติเจริญ เคยข้ามฝั่งแม่น้ำโขงยกพลไปแสดงวงดนตรีในงานไหว้พระธาตุหลวงเวียงจันจนเป็นที่ชื่นชมมาจนถึงทุกวันนี้ และเพลงเดือนหงายที่ริมโขง ก็ได้จารึกประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งวงการเพลงลูกทุ่ง และตามมาด้วยเพลงอื่น ๆ ของวงศิษย์สุรพล และวงดนตรีสมัยศิลปินที่โด่งดังข้ามฟ้าไปถึงแดนอาทิตย์อุทัย - ประเทศญี่ปุ่น ก่อนจะข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปแสดงดนตรีให้กับแผ่นดินดวงจำปาในยุคที่ยังเป็นราชอาณาจักรลาวล้านช้างร่มขาวตามคำเชิญเอิ้นหาของท้าวอุ่น ชนะนิกร  ผู้ปกครองแขวงภาคใต้ จัดตั้งแนวกอบกู้เอกราชของลาวในขณะนั้น

...ใช่ว่าพี่จะเจ้าชู้ฮักหนูพี่จึงข้ามมาเห็นเดือนเจิดจ้าที่ริมฝังโขงพี่จึงทอดโยงสายเรือจัดรถท่าเดื่อมาหาขวัญใจ...

ท่าเดื่อ เดิมเคยเป็นข้ามไปมาของประชาชนสองฝั่งโขงที่จะมายังนครหลวงเวียงจันอดีตมีเพียงเส้นทางน้ำทางเดียวที่จะข้ามไปมาก่อนการเปิดสะพานมิตรแห่งที่หนึ่ง ในปีหนึ่ง ๆ โดนเฉพาะเทศกาลงานบุญธาตุใหญ่วันออกพรรษาที่สาธุจะมานมัสการองค์พระธาตุจุฬามณีหรือ "พระธาตุหลวง" ก็จะมีงานหาวงดนตรีมาเปิดวิกการแสดง 7 วัน 7 คืน วงดนตรีที่มาจากฝังไทยจึงมีทั้ง ลูกทุ่ง- ลูกกรุง และคณะหมอลำ ไม่ว่าจะเป็น วงสุนทราภรณ์, สุเทพ วงศ์กำแหง, วงหมอหมอลำรังสิมันต์ 

รวมทั้ง วงดนตรี "สุรพล สมบัติเจริญ" ที่เกิดเพลงดังข้ามพ.ศ.บอกนามสถานที่ร่านอาหารผับบาร์ใน พ.ศ.นั้นเช่น ร้านเวียงราตรีที่ปัจจุบันคือ สถานีขนส่งโดยสารใกล้ ๆ ตลาดเช้าที่ไม่เหลือร่องรอแล้ว และโรงแรมเวียงราตรี ปัจจุบันด่านท่าเดื่อ ปิดทำการตั้งแต่การระบาดโควิด19 จนถึงบัดนี้

ห้าบทเพลงเป็นอย่างน้อยที่กล่าวถึงบอกนามสถานที่นคีหลวงเวียงจันอันได้แก่ เดือนหงายที่ริมโขง โดยครูสุรพล สมบัติเจริญ ฝากใจไว้เวียงจัน โดย แทน นครปฐม เวียงจันเวียงใจ โดย สมัย อ่อนวงศ์ แต่งโดย ลุงแนบ - ณรงค์ โกษาผล และตามน้องกลับสารคาม, เสน่ห์สาวเวียงจัน ขับร้องโดยศักดิ์สยาม เพชรชมภู แต่งโดย เทพพร เพชรอุบล และอาจมีอีกหลายบทเพลงที่ตกสำรวจและผู้เขียนอาจหลงลืมอยู่อีกเป็นแน่แท้

สำหรับบาร์เวียงราตรีนั้น ผมเคยมาแต่ไม่ใช่สถานที่เดียวกันกับครูสุรพล สมบัติเจริญ อ้างอิงในบทเพลง แต่เป็นร้านใหม่ย้ายจากที่เดิมแต่ยังคงชื่อในตำนานและปัจจุบันก็ไม่มีร้านดั่งกล่าวแล้ว หากจะกล่าวถึงหนึ่งในสี่สุดยอดขุนพลเพลงลูกทุ่งอีสานอีกคนที่สร้างผลงานไว้อย่างยิ่งใหญ่มีเพลงพันทางเชื่อมโยงพรมแดนอุษาคเนย์ลุ่มแม่น้ำโขงที่ไม่ใช่เฉพาะ สปป.ลาว เท่านั้น ยังมีเพลงกล่าวถึงสาวดินแดนปราสาทหินโบราณที่แม่น้ำโขงได้ไหลผ่านอย่างราชาอาณาจักรกัมพูชา และเชื่อมโยงไปถึงทางออกของมหานทีอุษาคเนย์สายนี้ที่เวียดนาม


ศักดิ์สยาม เพชรชมพู นับเป็นนักร้องลูกทุ่งอีสานลำดับต้น ๆ ของวงการที่เคยมีนักหาวงดนตรีจัดประชันวงดนตรี ศักดิ์สยาม เพชรชมพูปะทะความดังของ สายัณห์ สัญญา ถึงขนาดวิกแตกมาแล้ว

ตามน้องกลับสารคาม เพลงสร้างชื่อให้กับ ศักดิ์สยาม เพชรชมภูเป็นเพลงบอกนามสถานที่และการเดินทางตามหาหญิงคนรัก เริ่มต้นที่บ้านจังหวัดมหาสารคามออกรถโดยสารไปยังจังหวัดขอนแก่นมาถึงอุดรธานียุคที่ยังเป็นฐานทัพอเมริกาจึงมีฉากผับบาร์แล้วจึงข้ามโขงที่ท่าเสด็จมาฝั่งท่าเดื่อ--บ้านท่าเดื่อมาถึงเขตนครหลวงเวียงจันมาบนขอพรพระธาตุหลวง ในเพลงไม่บอกว่าได้พบหรือหาเจอหรือเปล่า ที่มากกว่านั้นคือ ใครเป็นแต่งเพลงนี้ นักร้องต้นฉบับก็ไม่สามารถให้ตอบได้จนบัดนี้และมีคนกล่าวอ้างเกินสิบรายว่าตนเองเป็นผู้แต่ง


แต่ยังเพลงทำนองนี้อีกเพลงคือ ตามน้องทั่วอีสาน ที่เจ้าตัว-ศักดิ์สยาม บอกว่าเป็นผลงานเขียนของ เทพบุตร สติรอดชมภู แต่งเนื้อและเขาเป็นคนใสทำนองด้นเจ้าใจจะนามชื่อจังหวัดและโฆษกนักจัดรายการทั่วอีสาน

เมื่อมีโอกาสได้ทำเรื่องเพลงลูกทุ่งลุ่มน้ำโขงทำให้ได้ย้อนทวนเพลงลูกทุ่งที่พูดถึงเพื่อนบ้านอุษาคเนย์โดยเฉพาะ ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ที่มีกลิ่นอายของยุคสงครามเย็นควาทดห็นต่างทางการเมืองบนพรมแดนบนแผนที่เพลงลูกทุ่งนี่แหละ เป็นตัวเชื่อมประสานให้เกิดความรักของคนในอนุภูมิภาคน้ำโขงผ่านเรื่องราวในเสียงเพลง

"เพราะบทเพลงจึงทำให้คนฮักกัน" บุนทะนอง ชมไซผน นักเขียนซีไรต์ที่วัยเด็กเคยมาดูวิกวงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญมาเปิดการแสดงที่งานไหว้พระธาตุหลวงเวียงจัน กล่าวคงไม่เกินเลยที่จะให้สมญาสี่เด็ดเพชรลูกทุ่งอีสานนาม ศักดิ์สยาม เพชรชมภู  ว่าเขาคือ ลูกทุ่งอินโดจีน เจ้าของเพลงดังข้ามแม่น้ำโขงตามน้องกลับสารคาม เพลงที่ยังสืบทราบว่าใครกันแน่ที่เป็นคนแต่ง เมื่อครูถวิล อิติบุตรานำเนื้อมาให้ขับร้องตั้งแต่อยู่วงรังสิมันจนกระทั่งได้มาอัดแผ่นเป็นเพลงแรกในชีวิตในชื่อ"ศักดิ์สยาม เพชรชมภู" ในแผ่นเสียงชื่อว่า เทพบุตร สติรอดชมภู เป็นแต่ง และยังทิ้งนามปริศนาว่า ชาย เชียงยืน เป็นใครที่แต่งเพลงนี้

"พี่ตามหาคนงามจากสารคามไปถึงเมืองขอนแก่น สืบหาเนื้อเย็นแต่ไม่เห็นหน้าแฟนจากขอนแก่นไปอุดรธานี หาแก้วตาทั่วบาร์ทั่วคลับไม่ได้นอน ไม่ได้หลับ พี่อยากจะพบคนดีหาจนทั่วอุดร น้องก็ไม่เห็นมีจากอุดรธานี พี่ไปตามที่หนองคาย

ถึงลำโขงพี่นั่งลงร้องไห้หาจนทั่วแดนไทยน้องจากไกลหนีหายจำจะข้ามลำโขงหาอนงค์แก้วใจจะข้ามลำโขงไปหาทรามวัยที่เวียงจันกราบวิงวอนพระธาตุหลวงให้ดลช่วยให้ได้พบคนสวย เหมือนดังที่ใฝ่ฝันตามหานวลน้อง จนทั่วนครเวียงจันไม่เห็นแม้เงาจอมขวัญ พี่แทบจะกลั้นใจตาย"


ศักดิ์สยาม เพชรชมภู เป็นหนึ่งในนักร้องลูกทุ่งอีสานที่มีเพลงสำเนียงเสียงเพื่อนบ้านลุ่มน้ำโขงลักษณะเพลงเกี้ยวสาวครบ 4 ชาติได้แก่ ลาวคือเพลง ตามน้องกลับสารคาม, เสน่ห์สาวเวียงจัน กัมพูชา เพลงธิดากำปงจาม ซึ่ง ระพิณ ภูไท ร้องก่อนแต่ไม่ดังเท่าที่ควร และเวียดนาม แอมจ๋า แต่งโดยเทพพร เพชรอุบล และเพลงรักสาวรำวงแต่งโดยครูสุรินทร์ ภาคศิริ

ที่มา:เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต