เมื่อเอ่ยถึง เพลงลูกทุ่งเชื่อว่าหลายคนคงคงจำ เนื้อร้อง และทำนองได้ ติดหู ไม่ว่าจะเป็นลูกทุ่งยุคแรก จนกระทั้ง มีการวิวัฒนาการ มาสู่ เพลงลูกทุ่งในปัจจุบัน เรียกว่า เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง
วันนี้ สยามรัฐออนไลน์ พาไปรู้จัก พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" ว่ามีความเป็นมาอย่างไร โดย เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต ได้เผยแพร่ พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" ตอนที่ 9 ต่อจากตอนที่แล้ว ไว้ดังนี้
เพลงลูกทุ่ง (9)
ครูเพลงผู้มาจากแผ่นดินอีสาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสยามประเทศไทย นับว่าเป็นสร้างสีสันในวงการลูกทุ่งเมืองไทยอย่างมาก อาจเรียกได้ว่า ผู้สำแดงพลังลาวชาวอีสาน ผ่านเสียงเพลง สะท้อนภาพสังคม วิถีชีวิต และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บอกเล่าผ่านบทเพลงยุคสมัยได้อย่างคมชัดผนวกกับความสละสลวยทางภาษาที่นักแต่งได้แต่งขึ้นกลมกลืนกับเสียงร้องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนของนักร้อง
สองแม่ทัพหน้าครูเพลงรุ่นใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว ถือว่าเป็นตำนานผู้บุกเบิก เช่น ครูเบญจมินทร์ หรือ ตุ้มทอง โชคชนะ ราชาเพลงรำวงจากอุบลราชธานีเจ้าของเพลง รำเต้ย, ชายฝั่งโขง และเป็นต้นแบบของ สุรพล สมบัติเจริญ พร้อมกับนำทำนองเพลง “อารีดัง” ของเกาหลีมาเผยแพร่
เฉลิมชัย ศรีฤๅชา เจ้าของเพลง เบิ่งโขง ,ลอยเรือล่องโขง ชาวจังหวัดร้อยเอ็ด รวมทั้ง ปอง ปรีดา ชาวขอนแก่นผู้สร้างสรรค์ตำนานเพลงแห่งโขงสองฝั่ง ถือว่าเป็นขุนพลเอกอีสานอีกท่าน และติดหนึ่งในสี่เสือแห่งวงจุฬารัตน์ รัตน์ เป็นนักร้องที่ร้องเพลงเสียงสูง แต่ไพเราะและเป็นรุ่นบุกเบิกสำเนียงลายเพลงอีสานสองฝั่งโขง รวมทั้งทำให้คนรู้จักโขงนทีสายน้ำแห่งชีวิตนี้ผ่านบทเพลงของเขามากมายจนเรียกได้ว่า นี่แหละคือ ขุนพลเพลงอีสานยุคต้นผู้ยึดแม่น้ำโขงสองฝั่งได้ด้วยบทเพลงอมตะ
คนเกิดปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คำปัน ผิวขำ นามจริงของ ปอง ปรีดา เป็นหนึ่งในสี่ขุนพลแห่งวงจุฬารัตน์ เขาเคยประกาศประโยคเด็ดว่า “กูเกิดมาเพื่อร้องเพลง” และยึดหัวหาด ยึดครองสายน้ำโขงอย่างเบ็ดเสร็จ เพราะมีเพลงที่ใช้คำว่า “โขง” เป็นชื่อเพลงร่วม ๆ 10 เพลง ไม่นับรวมเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำ แต่ไม่ระบุคำว่า “โขง” ในชื่อเพลงอีกมากหลาย จวบจนเข้าสู่วัยชรา ปอง ปรีดา ในวัยกว่า 70 ปี ก็ยังรับจ้างร้องเพลงอยู่จนกระทั่ง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 11.30 น ที่โรงพยาบาลชัยบาดาล ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด
เพลงลูกทุ่งเกี่ยวกับแม่น้ำโขงมีเยอะมาก โดยเฉพาะเพลง สาวฝั่งโขง ของ ปอง ปรีดานั้นงดงามและคลาสิกยิ่งนัก ฟังครั้งใดก็ไม่เบื่อ ยืนยัดความดังความลาสิกมตั้งแต่ พ.ศ.2501 เป็นต้นมา ทั้งเสียงร้อง เสียดนตรี และเสียงผิวปาก ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเขาจนโดดเด่นและไพเราะ
“โอ้ฝั่งลำน้ำโขง ยามเมื่อแลงค่ำลง สาวเจ้าคงลงเล่นตามท่า สาวเจ้าคงสิเพลินหนักหนา ข้อยหรือมาคอยท่า สาวเจ้าอย่ามัวหลงลอย”ชวนให้เห็นภาพน้ำโขงยามเย็นได้แจ่มชัดง่ายงามจนทำให้ “พาใจข้อยนี้เลื่อนลอย
เกรงฮักเฮาจะปล่อย ไหลล่องลอยบ่กลับคืนมา”
นอกจากเพลง สาวฝั่งโขง แล้ว ปอง ปรีดา นั้นยังมีเพลงอื่นๆ ที่เขาแต่งเองร้องเช่น ล่องโขงคืนเพ็ญ,เที่ยวฝั่งโขง,ฝั่งโขงในอดีต,สองฟากฝั่งโขง หรือเพลง เดือนคล้อยคอยสาว คลาสิกมาก ๆ ที่หนุ่มสาวชาวนาโดยเฉพาะท่อนจะจบเพลง
ข้อยนี้เฝ้าคอยเจ้าอยู่นาน จวบเดือนคล้อยลอยผ่าน คนทุกบ้านจนเขาเข้านอน แว่วไก่แอ่วครวญ โศกกำสรวลชวนอาวรณ์ เหลือบมองเห็นสาวหาวนอน จำใจจรจากเจ้าไป
เ
ห็นภาพที่น่ารัก งดงามประสาไทบ้าน ให้เห็นถึงจินตนาการของนักแต่งเพลงฝีมือดีจากดินแดนที่ราบสูง ถือว่าเป็นหนึ่งแกนนำขบวนเพลงลูกทุ่งอีสานยุคแรก ๆ แม่น้ำโขง จึงเป็นวัฒนธรรมที่เชื่อมร้อยภูมิภาคนี้และได้มอบของขวัญอันล่ำค่า เช่น นครวัด ให้กับมนุษยชาติกับแอ่งอารยวัฒนธรรมร่วมสองฝั่งโขงบนความเป็นแม่น้ำนานาชาติ—ปอง ปรีดา ก็ได้สำแดงพลังสร้างสรรค์ผานบทเพลงไว้อย่างเป็นอมตะอีกท่านหนึ่งก็ต้องถือว่าเป็น หน่วยหน้าเช่นกัน สงเคราะห์ สมัตณภาพงศ์ ครูเพลงเมืองชัยภูมิ ผู้อยู่เบื้องหลังเพลงดังของ เพลิน พรหมแดน ไม่ว่าจะเป็น ชัยภูมิบ้านพี่, คนโคราช, ข่าวสด ๆ จนเป็นตำนานคู่บุญของเจ้าพ่อเพลงพูดขุมกำลังสำคัญที่สร้างมิตรเพลงอีสานหลังการตัดถนนมิตรภาพ และกลายเป็น สี่เสาหลักครูเพลง ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ นับเรียงตามความอาวุโส ดังนี้ สัญญา จุฬาพร หรือ สันต์ ศิลปะสิทธิ์ ขุนพลเพลงจากเมืองเลย ยังมีชีวิตอยู่ในวัย 80 กวาปี ประวัติครูเพลงท่านนี้อยู่ในหนังสือ
“ลูกทุ่งอีสาน” ของ แวง พลังวรรณ เขียนประวัติครูเพลงเมืองเลยท่านนี้ไว้ว่าสันต์ ศิลปะสิทธิ์ เป็นชาวจังหวัดเลย เป็นนักแต่งเพลงที่มีผลงานเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ใช้ชื่อ สันต์ ศิลปะสิทธิ์ และ สัญญา จุฬาพร ซึ่งชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้ในการร้องเพลงสมัยที่ยังอยู่กับวงจุฬารัตน์
เขาคือเจ้าของผลงานเพลงที่สร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ จากนักร้อง-นักแหล่พ่อเพลงภาคกลางมาเป็นนักร้องแนวลาวอีสาน ด้วยเพลง ลาก่อนบางกอก และเปลี่ยน “นักร้องเพลงหวานอาชีพ” อย่าง พนม นพพร ให้มาโด่งดังด้วยเพลงแนวอีสานด้วยเพลง เซิ้งสวิงในหนังสือเล่มเดียวกันยังยกตัวอย่างเพลงที่ครูเพลงท่านนี้แต่งให้นักร้องชื่อดังระดับตำนาน เช่นเพลง ลาก่อน-บางกอก, สาวสมัยใหม่ ให้กับ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เพลง ทุ่งทองรวงทิพย์ ให้กับ ไพรวัลย์ ลูกเพชร กล่อมน้อง, ระฆังสวาท ให้กับ ทูล ทองใจ และทหารเสือราชินี, สัจจะผู้หญิงของ นกน้อย อุไรพร ตายซ้ำสา ของ เสน่ห์ เพชรบูรณ์ เจ้าของเสียงเพลง สิบหมื่น, แม่ร้อยใจ และเพลง แต่งงานกันเด้อ ของ สนธิ สมมาตร
นอกจากนี้ยังมีเพลง ฝนตกบ้านน้อง, แม่, ซำมาคักแท้น้อ, เซิ้งกระติ๊บข้าว, เซิ้งแห่นางแมว, แก้มเปิ่นเวิน เป็นอาทิ ปัจจุบัน ครูสัญญา จุฬาพร ยังวนเวียนอยู่ในวงการเพลงลูกทุ่ง เป็นพี่ใหญ่ที่เคารพสำหรับนักแต่งรุ่นน้องและครูของคนรุ่นหลัง
เสาหลักที่ที่สอง พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ปราชญ์เพลงแห่งอุบล ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยลูกทุ่ง – กำกับภาพยนตร์) พ.ศ. 2557 ผู้ล่วงลับ เมื่อ 1 กันยายน 2558
เพลงแรกในชีวิตการเป็นนักแต่งเพลง คือ ดาวบ้านนา แต่งให้กับ สมนึก นิลเขียว นักร้องหนุ่มรูปหล่อเสียงดีจากเมืองเพชรบุรี ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ไพรวัลย์ ลูกเพชร เพลงหวานคลาสสิกผสมกลิ่นอายลิเก และไพรวัลย์ยังร้องเพลงนำในภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักลำน้ำมูล ที่ครูพงษ์ศักดิ์เป็นผู้อำนวยการสร้างอีกด้วย
เพลง ทุ่งรัก ของ ศรคีรี ศรีประจวบ ที่ครูพงษ์ศักดิ์แต่งนั้นภาษางดงามมาก จนหลายคนหลงคิดว่าเป็นเพลงของครูไพบูลย์ บุตรขัน ยังมีเพลงอื่น ๆ ที่ภาษางดงามมากอีก เช่น เสียงซุงเว้าสาว, ตะวันรอนที่หนองหาน
เพลง สาละวันรำวง ที่ครูแต่งให้กับลูกศิษย์คนสำคัญอย่าง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เป็นเสมือนสะพานเชื่อมวัฒนธรรมสองฝั่งโขงผ่านบทเพลงก่อนหน้านั้นมีเพลง สาวคนโก้ และ สาวชุมแพของขุนพลเพลงเมืองสุพรรณท่านนี้ด้วย
ส่วนเพลง อีสานบ้านของเฮา นั้นครูพงษ์ศักดิ์ประมวลความเป็นภาคอีสาน ทั้งวัฒนธรรมการอยู่การกิน การประกอบอาชีพ เรียกว่าได้บรรยากาศอีสานครบถ้วนสมบูรณ์เลยทีเดียว เมื่อบวกกับเสียงร้องโทนสนุกสนานรื่นเริง ของ เทพพร เพชรอุบล ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เพลงนี้มีมนต์เสน่ห์ยิ่งนัก จากเพลง “อีสานบ้านของเฮา” สำทับความเป็นอีสานตามมาด้วยเพลง ลำนำอีสาน
นอกจากนี้ยังมีเพลงดังข้ามยุคสมัยเป็นอมตะไม่ว่าจะเป็นเพลง รอรักใต้ต้นกระโดน ของ ดาว บ้านดอน ด่วน บขส., แคร์ด้วยหรือน้อง, ดอกอ้อริมโขง, อดีตรักทุ่งอีสาน ของ สนธิ สมมาตร รักร้าวหนาวลม ของ บรรจบ เจริญพร ร้องแก้กับ ผ่องศรี วรนุช, เพลง รักลาอย่าเศร้า, คำหมอบอก ของ พรสวรรค์ ลูกพรหม ดวงใจคนจน, หนาวเดือนห้าแล้งเดือนหก ให้กับ รังษี บริสุทธิ์ ฯลฯ
อีกหนึ่งในตำนานผู้ยังมีลมหายใจอยู่ เสาหลักคนที่สามครูเพลง คือ สุรินทร์ ภาคศิริ นักเขียนรางวัลนราธิป พ.ศ.2563 เสือปืนไวจากอำนาจเจริญ มีชื่อจริงว่า ชานนท์ ภาคศิริ ใช้ชื่อจัดรายการวิทยุว่า ทิดโส โปข่าว หรือ ทิดโส สุดสะแนน เกิดเมื่อ พ.ศ.2485 ที่อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันคืออำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 (ม.6 เดิม) จากโรงเรียนอำนาจเจริญ เมื่อ พ.ศ.2503มีพรแสวงและพรสวรรค์ในการประพันธ์มาตั้งแต่เด็ก เพราะได้มีโอกาสเรียนรู้จากคณะละครอุลิตราตรีศิลป์ และคณะเทพศิลป์ 2 ที่ไปปักหลักเปิดการแสดงที่บ้านต่างจังหวัดสมัยเรียนมัธยมปีที่ 3 และเริ่มแต่งกลอน นวนิยาย เรื่องสั้น และแต่งเพลงเชียร์กีฬาของโรงเรียน พอจบ ม. 6 จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ตามหาความฝันของชีวิต ศึกษาด้านการเป็นนักร้องนักประพันธ์ด้วยการอาศัยชายคากุฏิวัดนรนารถสุนทริการาม เทเวศร์ พึ่งใบบุญข้าวก้นบาตรพระ มีอุปสรรคด้านการศึกษาเล่าเรียนจึงหันมาแต่งเพลง ประพันธ์กลอน เรื่องสั้น และฝากตัวเป็นศิษย์ของ ครู ก. แก้วประเสริฐ ครูเพลงชื่อดังในยุคนั้น ได้รับการสนับสนุนอย่างดี
ขณะเดียวกันก็ได้สอบเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรมราชทัณฑ์ สมัยที่ยังสังกัดอยู่กับกระทรวงมหาดไทย จึงหมดโอกาสที่จะเดินสายเป็นนักร้อง หันมาเอาดีกับงานประจำและแต่งเพลง ฉะนั้นครูจึงพูดเล่นเสมอ ๆ ว่า อดีตคือ “คนรับจ้างหลวงเฝ้าคุก” และผลงานหลาย ๆ เพลงก็มาจากเหตุการณ์ในคุก เช่นเพลง ผ้าขาวม้า ของวงรอยัลสไปรท์
ผลงานชิ้นแรก ๆ คือ คนขี้หึง ขับร้องโดย ชื่นกมล ชลฤทัย เพลง คนขี้งอน ร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร เพลง เมษาอาลัย ร้องโดย หมาย เมืองเพชร ตอนหลัง ศักดิ์สยาม เพชรชมพู นำมาร้องใหม่ และเพลง เต้ยเกี้ยวสาว ขับร้องโดย กบิล เมืองอุบล ซึ่งเป็นเพลงที่สร้างชื่อด้วยแนวการร้องแบบศิลปะหมอลำ
จากนั้นก็แต่งเพลงป้อนให้นักร้องดัง ๆ อีกหลายคน เช่น ศักดิ์ศรี ศรีอักษร, ไวพจน์ เพชร สุพรรณ, สนธิ สมมาตร, กาเหว่า เสียงทอง, ศรคีรี ศรีประจวบ, ศรชัย เมฆวิเชียร, เรียม ดาราน้อย, วงรอยัลสไปรท์, ศักดิ์สยาม เพชรชมพู, สันติ ดวงสว่าง, เอ๋ พจนา, ชาย เมืองสิงห์ เป็นต้น
พรไพร เพชรดำเนิน ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากเพลง งานนักร้อง ในปี 2514 ผลงานของครูสุรินทร์ ภาคศิริครูสุรินทร์แต่งเพลงแรกในการบันทึกแผ่นเสียงของนักร้องลูกทุ่งหลายคน เพลง รูปไม่หล่อพ่อไม่รวย ของ ดำ แดนสุพรรณ, เพลง อย่าเดินโชว์ ของ บรรจบ ใจพระ (ภายหลังคือ บรรจบ เจริญพร)เพลงที่สร้างชื่อให้มากที่สุดคือ วอนลมฝากรักของ บุปผา สายชล อ.ส.รอรัก ของ ศักดิ์สยาม เพชรชมพู รวมทั้งยังแต่งเพลงแนวช้าให้กับนักร้องที่ถนัดเพลงแนวสนุกอย่าง ศักดิ์สยาม ในเพลงทุ่งกุลาร้องไห้ จนได้รับรางวัลลูกทุ่งกึ่งศตวรรษทหารเกณฑ์ผลัด 2 ทำให้ ศรชัย เมฆวิเชียร แจ้งเกิดอย่างเต็มตัวจากเพลงนี้ หนาวลมที่เรณู ของศรคีรี ศรีประจวบ กลายเป็นหนึ่งในเพลงประจำอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม หอมกลิ่นดอกคำใต้ ให้กับนักร้องเสียงดีเมืองขอนแก่น ก้องเพชร แก่นนคร หนุ่ม นปข. ของ สุริยา ฟ้าปทุมลำกล่อมทุ่ง ของ ไพรินทร์ พรพิบูลย์ ลูกทุ่งคนยาก ให้กับ สนธิ สมมาตร
โดยเฉพาะเพลง อีสานลำเพลิน ของ อังคนางค์คุณไชย ที่นับเป็นการเปิดศักราชเพลงลูกทุ่งอีสานทำให้เพลงลูกทุ่งอีสานกลายเป็นแนวเพลงแนวหนึ่งที่แพร่หลายเป็นที่นิยมสนใจของคนในสังคมปัจจุบันอย่างกว้างขวาง
เสาหลักอีสานคนที่ จะเป็นใครไม่ได้เพราะพ่วงด้วยความเป็นนักแต่งเพลง – นักร้องผู้สูงสง่าเทพพร เพชรอุบล ผู้ชายสูงสง่าขุนพลเพลงลูกทุ่งจากจังหวัดอุบลราชธานี ถือว่าเป็นผู้เปิดโฉมให้เห็นภาพของอีสานไม่ได้แห้งแล้งอย่างที่เข้าใจจากเพลง อีสานบ้านเฮา ผลงานของ ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรกขา จนทำให้ ดอกผักกะแยงหมอหวลทั่วแผ่นดินสยามและเพลง ลำนำอีสาน จากผู้แต่งคนเดียวกันอัตตลักษณ์อีสานอย่างหนึ่งคำผญา เพลงของเทพพร เพชรอุบล มีแทรกคำผญาอยู่ด้วยหลายเพลง เช่นเพลงที่สร้างชื่อให้ขุนพลเพลงอีสานผู้นี้คือเพลง คิดฮอดอ้ายแหน่เด้อ ฝีมือของ เทพบุตร สติรอดชมพู ในท่อนแยกของบทเพลง
“หากคิดฮอดอ้าย เดือนหงาย ให้แนมเบิ่ง แนมเบิ่ง แนมเบิ่ง เดือนอีเกิ้ง อยู่เทิงฟ้าสิส่องทาง อ้ายกะสิเฝ้าแนมเบิ่งดาว ดอกเด้อบ่ห่าง ดวงเดือนเหมือนดั่งหน้านาง สองเราต่างส่งใจหากัน”ท่อนนี้นำคำผญาที่คุ้ยเคย “ถ่าแม้นเจ้าคึดฮอดอ้ายให้แหงนเบิ่งเดือนดาว สองตาเฮาสิจ้องกันอยู่เทิงฟ้า” และผญาบทนี้ก็ไปปรากฏในเพลง คิดถึงพี่ไหม ของ ศรคีรี ศรีประจวบ ที่ ครูพยงค์ มุกดา มาแทรกไว้เช่นกัน“คืนไหนข้างแรมฟ้าแซมดารา น้องจงมองหาดาวประจำเมือง ทุกคืนเราจ้องดูเดือนดาว ทุกคราวเราฝันเห็นกันเนื่องๆ ถึงสุดมุมเมืองไม่ไกล”ได้อารมณ์หวานไปอีกแบบครับ
ตลอดชีวิตในความเป็นศิลปินเพลงของ เทพพร เพชรอุบล ทำงานอย่างหนักมาตลอดชีวิต ทั้งงานเพลงและการใช้ชีวิต เป็นผลให้ปลายปี 2540 เขาล้มป่วยเนื่องจากเส้นเลือดในสมองอุดตัน เป็นผลให้ไม่สามารถพูดหรือเคลื่อนไหวและช่วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง แต่ด้วยกำลังใจที่เข้มแข็ง ทำให้เขาหายจากโรค และกลับมาแข็งแรง สามารถสร้างสรรค์ผลงานเพลงได้อีกครั้งนักร้องอีสานผู้ยิ่งใหญ่ที่เรียนขานกัน “สี่เด็ดเพชรอีสาน” นำขบวนด้วย ดาว บ้านดอน – ศักดิ์สยาม เพชรชมพู –สนธิ สมมาตร และ เทพพร เพชรอุบล สายัณห์ สัญญา ยิ่งใหญ่เพียงใดในภาคกลาง ในแผ่นดินอีสานนาม เทพพร เพชรอุบล ก็ยิ่งเช่นนั้น
ทั้งนี้ นอกเหนือความเป็นนักร้องที่เอกลักษณ์เฉพาะตัว บทเพลงสนุกสนาน ยังเป็นครูเพลงผู้ยิ่งใหญ่ในการแต่งเพลงและสร้างสายธารนักร้องลูกทุ่งอีสานผลงานแต่งทั้งร้องเอง แต่งเอง และแต่งให้ผู้อื่นก็มากมาย ไม่ว่าจะเป็น คิดฮอดอ้ายแหน่เด้อ,อีสานบ้านเฮา,อาลัยสาวเรณู,นับหมอนรถไฟ,เสียงแคนแทนใจ,ลำนำอีสาน,ของแซบอีสาน,สั่งฟ้าไปหาน้อง,ฮักสาวอุบล,นัดวันให้น้องรอ ,ฝังใจเวียงจันทน์ ,สามเกลือเที่ยวกรุง ตอน ๑ และ ๒ ,รำวงหาคู่,ครวญหาอังคนางค์,จนแท้น้อ ,ร้องไห้ทำไม,บ่ลืมบ้านนอก,สัมภาษณ์เทพี,ป๋ากันเถาะ,ไก่จ๋าไก่ ,คนอุ้มไก่,กลับมาเถิดน้อง รวมทั้งที่แต่งให้ ศักดิ์สยาม เพชรชมภู อย่างเพลง สัญญาเดือนสาม รวมทั้ง สิ้นกลิ่นคูณ ของ เทพรังสรรค์ ขวัญดารา เป็นต้นร่วมแต่งเพลงและร้องเพลง จำหน่ายเพื่อการกุศลในวาระ 200 ปี จังหวัดอุบลราชธานี และวาระสมโภชน์ 100 ปี จังหวัดอุดรธานี ปี 2535สนับสนุนณรงค์คนอีสานไม่กินปลาดิบ ร่วมกับสาธารณสุขจังหวัด ขอนแก่น และคณะเพชรพิณทอง ปี 2535 สนับสนุนรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2536 ได้รับเกียรติจากสมาคมนักแต่งเพลง ให้เป็นตัวแทนนักร้องของภาคอีสาน แต่งเพลงและร้องเพลงเนื่องในงานส่งพระวิญญาณสมเด็จย่า- ได้เดินทางไปเผยแพร่ศิลปะพื้นบ้านที่วัดพระศรีนครินทร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ชีวิตในช่วงปลายต้องเทียวเข้าออกโรงพยาบาลตลอด 17 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งเสียชีวิต เมื่อเวลา 20.24น. วันที่ 22 ตุลาคม 2556 ในวัย 66 ปี เจนภพ จบกระบวนวรรณ ได้กล่าวถึงการสูญเสียครั้งนี้ของชาวอีสานประหนึ่ง “พระธาตุพนมถล่มซ้ำสอง” เหมือนเสียงเพลง “พี่อ๋อ” ร้องไว้ในเพลง อาลัยพระธาตุพนม ขอน้อมคารวะครูเพลงรุ่นก่อนที่ล่วงลับผู้ได้สร้างบริบททางสังคมผ่านบทเพลง ขอแสดงมุทิตาจิตต่อสี่ครูเพลงเสาหลักลูกทุ่งอีสานผู้ยังมีลมหายใจ และน้อมจิตบูชาแทน ธูปเทียนแพ, พานดอกไม้, หญ้าแพรก, ดอกมะเขือ, ดอกเข็ม ด้วยบทเพลงของครู
ขอบคุณ:เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต