เมื่อเอ่ยถึง เพลงลูกทุ่งเชื่อว่าหลายคนคงคงจำ เนื้อร้อง และทำนองได้ ติดหู ไม่ว่าจะเป็นลูกทุ่งยุคแรก จนกระทั้ง มีการวิวัฒนาการ มาสู่ เพลงลูกทุ่งในปัจจุบัน  เรียกว่า เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง 

วันนี้ สยามรัฐออนไลน์ พาไปรู้จัก พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" ว่ามีความเป็นมาอย่างไร โดย เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต ได้เผยแพร่  พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" ตอนที่ 6 ต่อจากตอนที่แล้ว ไว้ดังนี้

เพลงลูกทุ่ง (6)

เพลงลูกทุ่ง จัดเป็นประเภทหนึ่งเพลงไทยสากลในกระแสป๊อปที่ผลิตในเมือง โดยมีตลาดอยู่ในเมืองและชนบท แล้วมีความเป็นพันทางกลมกลืนการละเล่นพื้นบ้านพื้นเมืองตามประเพณีราษฎร์เป็นของตน แล้วดัดแปลงปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างสรรค์ โดยมีพัฒนาการแบบธรรมชาติจากวัฒนธรรมป๊อปของฝรั่งล้วน ๆ ที่เรียกเพลงไทยสากล ประเภท “เพลงชีวิต” ตั้งแต่ราว พ.ศ.2480 เป็นต้นมา

พ.ศ.2500 เป็นต้นมาเริ่มวงดนตรีจุฬารัตน์ ,วงดนตรี พยงค์ มุกดา ,วงดนตรีประกายดาว เป็นต้น วงดาวประกายมีสี่ประสานเป็นนักร้องนำคือ สุรพล สมบัติเจริญ ,ผ่องศรี วรนุช ,ก้าน แก้วสุพรรณ และ ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย ขณะวงดนตรีจุฬารัตน์ ซึ่งมีพัฒนาการวงดนตรีชมภูฟ้า (ชมพูฟ้า) และ วงดนตรีมงคล อมาตยกุลจึงใช้ เป็นนามวงดนตรีใช้บรรจุลงบนแผ่นเสียง ก่อนปี พ.ศ. 2500 ก่อนที่จะมาเป็นวงดนตรีจุฬารัตน์ อย่างเต็มตัวเมื่อปี พ.ศ. 2500 และได้ชื่อว่าเป็นวงดนตรีมาตรฐานวงหนึ่งของเอกชน นับเป็นชุมทางสำคัญโดยในวงจุฬารัตน์นั้น ประกอบด้วย นักแต่งเพลง นักดนตรี และนักร้องมากมาย เช่น พร ภิรมย์, ปอง ปรีดา, ชาย เมืองสิงห์ โดยมีนักร้องดัง 4 คนซึ่งมีฉายาว่า 4 ทหารเสือ วงจุฬารัตน ได้แก่ ปอง ปรีดา, กุง กาดิน (นคร ถนอมทรัพย์), พร ภิรมย์ และทูล ทองใจ เมื่อทางวงออกเดินสายเปิดการแสดงตามต่างจังหวัดก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากแฟนเพลงอย่างดี

โดยเฉพาะ นักร้องแม่เหล็กคนสำคัญอย่าง พร ภิรมย์ ลิเกชื่อดังจากเมืองอยุธยาที่ผันตัวมาเป็นนักร้อง และแจ้งดังทั่วฟ้าเมืองไทยจากเพลง บัวตูมบัวบาน และจะกลายเป็นนักร้องที่โดนเด่นด้วยทำนองแหล่มหาชาติเพลงนิทาน รวมไปถึงชาย เมืองสิงห์ แม่เหล็กคนสำคัญของวงดนตรีจุฬารัตน์ หลังยุค 4 ทหารเสือได้ชื่อว่าเป็นผู้นำแห่งลีลาเนื้อหาท่วงทองเพลงพันทางและเป็นนักร้องลูกทุ่งคนแรกที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ อีกมิติในนักแต่งนามจริง สมเศียร พานทอง

อีกวงดนตรีหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือ วงดนตรีนามพระราชทาน พยงค์ มุกดาพันธุ์ ของครูพยงค์ มุกดา มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก เคนเป็นนักร้อง นักแสดง นักจัดรายการวิทยุ เคยแสดงภาพยนตร์ เช่นเรื่อง เสน่ห์บางกอก, ไซอิ๋ว เคยอยู่วงดุริยางค์กองทัพเรือ เป็นผู้ประพันธ์เพลงมาร์ช เช่น "สหมาร์ชราชนาวี", "มาร์ชสามัคคีสี่เหล่า", นาวีบลู สมเกียรติศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง สาขานักแต่งเพลงลูกทุ่ง - ลูกกรุง และเป็น ครูพยงค์ มุกดา คนนี้แหละที่สนับสนุนให้ สุรพล สมบัติเจริญ ตั้งวงดนตรีเป็นของตัวเองจนก้าวไปสู่ตำแหน่ง “ราชาเพลลูกทุ่ง”

ทั้งนี้ ต้องขอกล่าวถึง สมาชิกอีกคนของดนตรีพยงค์ มุกดา คือ ชัยชนะ บุญนะโชติ เด็กหนุ่มจากแปดริ้ว ที่โด่งดังจากเพลง บางกอกน้อย ของ พิพัฒน์ บริบูรณ์ น้ำเสียงโดนใจครูไพบูลย์ บุตรขัน นำทำนองแหล่มหาชาติมาให้ครูไพบูลย์ ฟังจึงเกิดแรงบันดาลใจแต่งเกริ่นแบบสากลแล้วเข้าทำนองเพลงแหล่ในเพลง ดอกดินถวิลฟ้า จึงนับเป็นเพลงแหล่ลูกทุ่งเพลงแรกของวงการโดยไม่ยังไม่คำเรียกขานว่า “ลูกทุ่ง” 

บทบาทสำคัญอีกด้านหนึ่งชัยชนะ บุญนะโชติ เมื่อมาอยู่วงดนตรีรวมดาวกระจาย ของ ครูสำเนียง ม่วงทอง เป็นคนนี้แหละที่ชักชวนเปิดทางให้โอกาสเด็กหนุ่มนักเพลงจากอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เชื้อชายลาวเวียงนามว่า พาน สกุลณีเป็นสมาชิกใหม่ของวงดนตรีพร้อมชื่อใหม่ในวงการว่า ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ที่ได้ชื่อว่าพ่อเพลงแห่งเมืองสุพรรณ เมื่อผลงานเพลงของ จิ๋ว พิจิตร เป็นเสมือนคู่ขวัญคู่บุญที่สร้างเพลงงานบุญงานบวชจนเป็นตำนานมาจนถึงปัจจุบัน

โดยทั้ง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ และ ชัยชนะ บุญนะโชติ ลูกศิษย์อาจารย์ – พี่น้องสายเลือดลูกทุ่งได้รับเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงทั้งคู่
 
เพลงลูกทุ่ง จึงเป็นการปรับขึ้นใหม่แทนที่ ลิเก ซึ่งมีกำเนิดอยู่ในกรุงเทพฯ นับตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ขณะที่ ลิเก นั้น ก็ยังคงอยู่คู่กับสังคมปัจจุบัน และยังไม่ได้จางหายไป เพียงแต่ปรับวิธีการนำเสนอใหม่เป็นลักษณะแบบเพลงลูกทุ่งซึ่งผสมผสานมหรสพใหม่ขึ้นในกรุงเทพ โดยอาศัยรากฐานเดิมจากการเล่นต่างต่างปรับเข้าดนตรีฝรั่งที่มีมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 4  ในการปรับแถวทหารที่เรียกอย่างชาวบ้านว่าแตรฝรั่ง แตรฝรั่งเหล่านี้ กลายมาเป็นต้นแบบให้กลายเป็นแตรวง ตามงานๆ แล้วพัฒนาเป็นวงลูกทุ่ง หลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ซึ่งมีวิวัฒนาการร่วมกับมหรสพ

โดย มหรสพ นั้น แบ่งได้ในสองระดับ ระหว่าง ชนชั้นราชสำนัก กับ ราษฎร ทั่วไป แต่มีความสัมพันธ์กันในความต่างกันบางอย่าง ซึ่งส่งทอดอิทธิพลให้กันและกันไม่ขาดสาย เช่น โขน ละคร ทั้ง ละครนอก และ ละครใน รวมทั้ง ละครพันทาง ก่อนจะกลายเป็นความพันทางในวงดนตรี ในยุคต่อมาซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลากหลายที่หลอมรวมเป็นภูมิสังคมวัฒนธรรมแล้วปรับเปลี่ยนใช้มาตามยุคตามสมัย จากสำเนียงเสียงต่างๆ พันทางมาอย่างร้อยพ่อพันแม่ จึงปรับมาเป็นเพลงลุกทุ่งและส่งให้การเล่นร้องรำทำเพลงภูมิภาคอื่นปรับตัวไปด้วย เช่น หมอลำ กันตรึม ในภาคอีสาน

รวมทั้งกลิ่นอายเพลงพื้นบ้านสุพรรณบุรีที่ปรากฏในบทเพลงของวงคาราบาว  และกลิ่นอายเพลงตะวันตกในวงคาราวาน โดยมีพื้นฐานจากเพลงป๊อบไทยสากลมามีความพันทาง ที่กำเนิดจากหลายๆ อย่าง ประกอบขึ้นด้วยกัน จึงเกิดเป็นเป็นเพลงลูกทุ่ง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่และชัดเจนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่มีวิวัฒนาต่อเนื่องมาแต่ยุครัชสมัยที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วต่อเนื่องเรื่อยมาจากเป็นธรรมชาติ   พื้นฐานเหล่านี้จากเพลงพื้นบ้านและไทยเดิมเป็นรากกำเนิดที่มีอยู่ในเพลงลูกทุ่งที่ปรับขึ้นมารับใช้กระแสสังคมที่ตอบรับคนในยุคหลัง พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา

ความเป็น “พ่อเพลง แม่เพลง บวกความเป็น นักเลงกลอน”  ก่อให้เกิดเพลงลูกทุ่งสมัยใหม่ในยุคต่อมา