เมื่อเอ่ยถึง เพลงลูกทุ่งเชื่อว่าหลายคนคงคงจำ เนื้อร้อง และทำนองได้ ติดหู ไม่ว่าจะเป็นลูกทุ่งยุคแรก จนกระทั้ง มีการวิวัฒนาการ มาสู่ เพลงลูกทุ่งในปัจจุบัน เรียกว่า เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง
วันนี้ สยามรัฐออนไลน์ พาไปรู้จัก พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" ว่ามีความเป็นมาอย่างไร โดย เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต ได้เผยแพร่ พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" ตอนที่ 5 ต่อจากตอนที่แล้ว ไว้ดังนี้
เพลงลูกทุ่ง (5) : พศ.2500 การเข้ามาของสำเนียงเสียงนานาชาติ
อิทธิพลทางการดนตรีของตะวันตกซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการฝึกหัดทหารตามแบบยุโรปแต่ได้ใช้แตรวงบรรเลงประกอบการฝึกมทหาร ได้มีการว่าจ้างนายทหารสองคนที่ปฏิบัติงานอยู่ในประเทศอินเดียมาเป้นครูฝึก คือ ร้ยเอกอิมเปย์ <Impey> เป็นครูฝึกในวังหลวง และร้อยเอกนอกซ์ <Knox> เป็นครูฝึกในวังหน้า เทาเซนต์ แฮรีส ทูตชาวอเมริกันที่เข้ามาในเมืองไทยเมื่อปี พ.ศ. 2364 บันทึกไว้ว่าวงดนตรีของเขานั้นเป็นของแปลกใหม่ที่ดึงดูดความสนใจของคนไทยที่พบเห็นเป็นอันมาก และเครื่องดนตรีส่วนใหญ่ในในวงดุริยางค์ทหาร จนเกิดวัฒนธรรม แตรวง เป็นวงดนตรีซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ทำด้วยทองเหลืองจำพวกแตร และเครื่องตี เช่น กลอง มีทั้งวงเล็กและวงใหญ่ การบรรเลงเพลงจะใช้ผู้บรรเลงหลายคน บรรเลงในลักษณะการนั่งหรือยืนล้อมเป็นวง
ก่อนจะพัฒนาเป็นเพลงตลาด คือ กลุ่มที่มีบรรยากาศ “ชนบท” เพราะมักรวมประเภท “การเมือง” ด้วย แต่บางทีเรียกกันว่า เพลงชีวิต เพราะมักแต่งเพลงสะท้อนชีวิตสามัญชน
ก่อนและหลัง พ.ศ.2500 หรือ กึ่งพุทธกาล แนวเพลงแบบ เบญจมินทร์ เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่นักฟังเพลงที่ชื่นชอบจังหวะรำวง ขณะที่เพลงช้าอย่างสมยศ ทัศน์พันธ์ อยู่ก่ำกึ่งความเป็นเพลงผู้ดีกับเพลงตลาด ส่วน คำรณ สัมบุญณานนท์ เริ่มเด่นชัดด้วยเพลงที่ออกสำเนียงเสียงเหน่อแบบสุพรรณบุรี ผสมด้วยเนื้อแบบชาวทุ่งมีกลิ่นอายเพลงสะท้อนการเมืองวิถีชีวิตของคนระดับล่าง
คำรณ สัมบุญณานนท์ กลายเป็นต้นแบบของนักร้องรุ่นหลัง ๆ อีกหลายคน และเป็นครูไพบูลย์ บุตรขันที่หยิบสำเนียงเสียงเหน่อสุพรรณมาบรรจุใส่ในบทเพลงให้กับ คำรณ ขับร้อง ช่วงเดียวกันเกิดสงครามคาบสมุทรเกาหลีคาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ณ เส้นขนานที่ 38 เหนือ คือ สาธารณรัฐเกาหลีอยู่ทางตอนใต้ และเกาหลีเหนือ โดยถูกคั่นกลางโดยเขตปลอดทหาร ก่อนสงครามโลกและสงครามคาบสมุทรเกาหลี ทหารประชาชนชาวเกาหลีร่วมกันขับไล่ญี่ปุ่นที่ยึดครองมายาวนานเหลือแต่ซากปลักหักผัง บ้านเมืองถูกทำลายจนไม่เหลือดี แล้วภายใต้กานำของ คิม อิล-ซ็องตามอุดมการณ์จูเช (Juche) ว่าด้วยการพึ่งพาตนเอง พัฒนาตนเอง จูเชจึงกลายมาเป็นอุดมการณ์ของรัฐอย่างเป็นทางการ
ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2493–96 ในนามรัฐบาลไทยเป็นหนึ่งใน 21 ประเทศที่ตอบรับคำขอของสหประชาชาติในการส่งกำลังเพื่อช่วยเหลือเกาหลีใต้ในช่วงสงครามคาบสมุทรเกาหลี ตลอดระยะเวลาของสงครามเกาหลี กองทัพไทยส่งทหารรวม 11,786 นายไปประเทศเกาหลีใต้ มีบันทึกว่าทหารไทย 136 นายเสียชีวิตในสงครามครั้งนั้น เบญจมินทร์ สมัครไปสมรภูมิเกาหลีตามคำชวนของนายทหารกองดุริยางค์ทหารในปี พ.ศ.2499 อยู่ที่เกาหลีนาน 6 เดือน เมื่อกลับมา ได้แต่งเพลงเกี่ยวกับเกาหลีมากมายหลายเพลง ทั้ง อารีดัง , เสียงครวญจากเกาหลี,รักแท้จากหนุ่มไทย และเกาหลีแห่งความหลัง ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุด หลังจากรับราชการทหาร 5 ปี ก็ลาออกจากกองทัพ
ช่วงระหว่าง เบญจมินทร์ หายไปจากสาระบบวงการเพลงไทย สุรพล สมบัติเจริญ ได้แจ้งเกิดดังอย่างเต็มตัวในเพลง ลืมไม่ลง แต่งโดย สำเนียง ม่วงทอง และดั้นให้ ผ่องศรี วรนุช แจ้งเกิดไปด้วยในเพลงแก้เกี้ยว ไหนว่าไม่ลืม ที่ สุรพล สมบัติเจริญ แต่งแก้
การนำเพลงเกาหลีมาโดย เบญจมินทร์ ยังส่งผลให้เกิดกระแสเพลง ญี่ปุ่น เพลงจีน ที่เห็นได้ชัดจากเพลง รังริงโง ,อาทิตย์อุทัยรำลึก ของ สุรพล สมบัติเจริญ และ โตเกียวแห่งความหลัง ,รักเหนือขอบฟ้าของ ชูศรี ทองแย้ม อีกด้วย
ขณะนั้น สุรพล สมบัติเจริญ ,ผ่องศรี วรนุช ,ก้าน แก้วสุพรรณ และ ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย ตั้งวงดนตรีร่วมกันชื่อวงดนตรีประกายดาว ที่ครู ป. ชื่นประโยชน์ ตั้งชื่อให้ และยังให้เครื่องดนตรีใช้ออกมางานเพียงแต่สลับเปลี่ยนกันเป็นหัวหน้าวงเมื่อใครรับงาน
การกลับมาพร้อมตับเพลงเกาหลีอันลือลั่นเมืองไทยในกาลต่อมา ของ เบญจมินทร์ และในปีเดียวกัน ก่อนที่จะเดินทางไปภารกิจกองทัพที่เกาหลีนั้น ครูเบญจมินทร์รับเด็กหนุ่มเสียงดีจากลุ่มน้ำแม่กลองเป็นศิษย์นักร้องผู้ที่กลายเป็น "เจ้าชายแห่งรัตติกาล" นักร้อง "ระฆังฝังเพชร"
ครูเบญจมิทร์ แต่งเพลง พี่ทุยหน้าทื่อ บันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกในปี 2499 เป็นแนวเพลง คำรณ ให้กับ ทูล ทองใจ ได้รับการตอรับจากผู้ฟังตอบรับพอประมาณ รุ่งขึ้นปี 2500 เบญจมินทร์ เมื่อกลับจากสงครามเกาหลี จึงมีเพลง กลิ่นปรางนางหอม ทำให้รู้ทางแล้วว่าจะสร้างนักร้องหนุ่มเสียงดีจากดงดนตรีแดนแม่น้ำกลองผู้นี้ยังไง
จึงเขียนเพลง โปรดเถิดดวงใจ เพลงไพเราะเหมาะกับเสียงร้องของทูล มีชาญชัย บัวบังศร เรียบเรียงดนตรี บทเพลง ดนตรี เสียงร้องไพเราะ ลงตัว จึงขายดีถล่มทลาย และเพลง โปรดเถิดดวงใจ ก็เป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำตัวของเทพบุรุษเสียงกังสดาลท่านนี้
ทูล ทองใจ ได้ชื่อว่าเป็นนักร้องที่พิถีพิถันกับการบันทึกเสียงมาก ในสมัยนั้น เป็นการบันทึกสด คือร้องไปพร้อมกับดนตรีสด แต่ถ้าไม่ได้ดั่งใจ ทูลจะไม่ปล่อยให้ผ่านไปได้ และนั่นก็อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้งานของเขา คงความสุดยอดเอาไว้ได้จนถึงปัจจุบัน
เบื้องหลังการทำแผ่นเสียงครั้งนั้น เบญจมินทร์ เผยไว้ว่า ได้รับการสนับสนุนจากครูไพบูลย์ บุตรขัน ซึ่งขณะนั้นเป็นนักแต่งเพลงชั้นนำ ได้รับการยอมรับจากบริษัทแผ่นเสียง และมีเครือข่ายทีมงานดนตรีพร้อมมูล เบญจมินทร์เขียนถึงเรื่องนี้ไว้ว่า ต่อมาเด็กหนุ่มคนหนึ่งก้าวมาในชีวิตผม"ทูล ทองใจ" คุณ(ไพบูลย์) คงจำได้ ผมมาหาคุณ และบอกว่าอยากทำแผ่นเสียงเอง แต่เงินไม่มี ทำไงถึงจะเป็นแผ่นเสียงออกมาได้ "ไปหามงคล อมาตยกุล เพื่อนเราขายอยู่ดีคูเปอร์ฯ เขาช่วยได้"
"คุณแนะนำเช่นนั้น ผมดิ่งไปหามงคลเพื่อนรักทันที และครั้นแล้วเพลงต่างๆของผมก็หลั่งใหลออกมา ทั้งร้องเอง ทั้งทูลร้อง คุณขอทูลไปร้องบ้าง ผมอนุญาตด้วยความเต็มใจ นั่นคือการที่ทำให้ทูลมีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น นั่นคือสายสัมพันธ์รักนักเพลงระหว่าง เบญจมินทร์ กับไพบูลย์ บุตรขัน ที่ต่างนับถือฝีมือกัน ช่วยเหลือกัน ส่งผลเป็นการสร้างสรรค์ให้ ทูล ทองใจ ได้ร้องเพลงดีๆ กล่อมโลก กล่อมผู้คน เพลงในความทรงจำจากเสียงร้องของทูลจึงเป็นสองส่วนสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลงานของเบญจมินทร์ เช่น โปรดเถิดดวงใจ ในฝัน คืนนั้น อีกส่วนหนึ่งเป็นของครูไพบูลย์ บุตรขัน ซึ่งมากที่สุด นับตั้งแต่ พ.ศ.2500 สุรพล สมบัติเจริญ เริ่มต้นความยิ่งใหญ่ ขณะที่เบญจมินทร์ กลับมาจากดังด้วยก่อนกาลวัฒนธรรมเคป็อป และยังเป็นจุดเริ่มต้นวงดนตรีจุฬารัตน์ของครูมงคล อมาตกุล ที่ได้นักร้องรุ่นแรกคือ ทูล ทองใจ เป็นทหารเสือยุคตั้งต้น
ขอบคุณ:เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต