เมื่อเอ่ยถึง เพลงลูกทุ่งเชื่อว่าหลายคนคงจำ เนื้อร้อง และทำนองได้ ติดหู ไม่ว่าจะเป็นลูกทุ่งยุคแรก จนกระทั้ง มีการวิวัฒนาการ มาสู่ เพลงลูกทุ่งในปัจจุบัน  เรียกว่า เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง 

วันนี้ สยามรัฐออนไลน์ พาไปรู้จัก พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" ว่ามีความเป็นมาอย่างไร โดย เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต ได้เผยแพร่  พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" ต่อจากตอนที่แล้ว ไว้ดังนี้

เพลงลูกทุ่ง (4) 

ไทม์ไลน์นับตั้งแต่ พ.ศ. 2480-2500 นับเป็นยุคบุกร้างถางพงตั้งไข่วงการเพลงลูกทุ่ง ที่จะเริ่มปรากฎนามนักร้อง - นักแต่ง เช่น แสงนภา บุญราศรี เสน่ห์ โกมารชุน คำรณ สัมบุญณานนท์ สมยศ ทัศนพันธุ์ เบญจมินทร์ ชาญ เย็นแข เฉลิมชัย ศรีฤๅชา จนมาถึง สุรพลม สมบัติเจริญ วงจันทร์ ไพโรจน์ ก้าน แก้วสุพรรณ ในยุคหลัง พ.ศ.2490

พ.ศ.2496 ห้างแผ่นเสียง ต.เง็กชวน ได้มีนักร้องน้องใหม่สองคนใน พ.ศ.เดียวกันคือ สุรพล สมบัติเจริญ บันทึกแผ่นเสียงเพลง น้ำตาลาวเวียง ขณะปีเดียวกัน วงจันทร์ ไพโรจน์ บันทึกแผ่นเสียงเพลง ราตรีเจ้าเอ่ย ผลงานแต่งของ ครูฮอลหาญ บุญตรง ฝั่งหนึ่งแบบฉบับสองฝั่งโขง อีกฝ่ายมาแบบโลกตะวันตก

เพลงลูกทุ่ง มีกำเนิดและพัฒนาการเป็นแขนงหนึ่งของเพลงไทยสากลหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ใช้เครื่องดนตรีสากลของวงดนตรีสากล ประเภทเพลงตลาด หรือเพลงชีวิต แต่ไม่ใช่เพลงเพื่อชีวิต โดยมีผู้สร้างสรรค์บทนักแต่งเพลง ไพบูลย์ บุตรขัน มงคล อมาตยกุล ป.ชื่นประโยชน์ เป็นอาทิ 

เพลงลูกทุ่งจะเล่นกับภาษาซึ้งเป็นเนื้อหาในเพลง จึงสามารถใช้สื่อได้โดยเครื่องดนตรี เป็นองค์ประกอบหลัก และเสียงร้องเป็นเรื่องรองและต้องใช้ภาษาเข้ามาช่วยเสริมในการให้ความสำคัญของสัมผัสเสียงและสัมผัสอักษรหรืออย่างที่เรียกๆ กันว่า “เล่นคำสัมผัสความ”ความเป็นพ่อเพลง แม่เพลง ของคนพื้นเมือง เพลงลูกทุ่ง ซึ่งนับเอาเฉพาะภาคกลางก่อนโดยเพลงพื้นบ้านนั้นถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะกลอนเพลงยาว คือ กลอน มีรากเหง้าเค้าเดิมมาจากคำคล้องจองในชีวิตประจำวันของกลุ่มชนตระกูลไทย-ลาว
กลอน มี 2 แบบ คือ กลอนส่งสัมผัสร่าย เช่น กลอนทำขวัญ กลอนเทศน์ กลอนสวด กลอนเซิ้ง จนถึงคำเจรจาโขน กับกลอนส่งสัมผัสเพลง เรียกว่า “กลอนเพลง” เช่น กลอนเกี้ยวพาราศี กลอนโต้ตอบอย่างพ่อเพลงแม่เพลงร้องเล่นทั่วไปเรียก เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงเทพทอง เพลงอีแซว เป็นต้น จนถึงเสภา มโหรี บทละคร ฯลฯ

กลอนเพลง เริ่มแรกๆ มักด้นปากเปล่า จึงเป็นกลอนสั้นๆ เมื่อเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรก็สั้นๆ อย่างเพลงร้องเล่นมโหรี เพลงกล่อมลูก เป็นต้นเมื่อสังคมขยายตัวจากชุมชนหมู่บ้านเป็นชุมชนเมือง มีความซับซ้อนมากขึ้นกลอนเพลงที่เคยด้นเคยแต่งอย่างสั้นๆ ก็ค่อยๆ ยาวขึ้นเรื่อยๆ เพื่อสนองความต้องการของผู้ฟัง เช่น กลอนเสภา ใช้ขับเล่านิทานยาวๆ

ในที่สุดมีผู้เขียนลายลักษณ์อักษรเป็นกลอนเพลงยาวๆ บันทึกเรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยจัดขนบให้เริ่มด้วยวรรครับ หรือ วรรคที่สอง (ในจำนวน 4 วรรค เป็น 1 บท) เช่น กลอนเพลงยาวพยากรณ์ฯ ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ แต่เรียกสั้นๆ เป็นที่เข้าใจทั่วไปว่า เพลงยาว เพราะแต่งยาวขึ้นกว่าแต่ก่อน

ทั้งนี้ ท่วงทำนอง เพลงพื้นบ้าน เกิดจากการละเล่นในฤดูกาลต่างๆ เช่น หน้าน้ำ อย่างเพลงเรือ (หาฟังได้จากเพลง รอยไถ เพลงแรกในชีวิตของ กังวลไพร ลูกเพชร แต่งโดย สุรพล สมบัติเจริญ)หลังหน้าเกี่ยว อย่างเพลงเกี่ยวข้าว(ซึ่งเป็นปัจจุบันหาดูยากแล้ว) เพลงเหย่ย เพลงเต้นกำ เพลงสงฟาง เพลงต่างๆ ที่ใช้ร้องเล่นเต้นรำในเทศกาลต่าง อย่างเพลง พวงมาลัย เพลงขอทาน เพลงแห่นางแมว เพลงเย้าผี 

รวมทั้งเพลงที่ไม่จำกัดเฉพาะกาล อย่างเพลงเทพทองรำโทนแอ่วเคล้าซอ อีแซว รายละเอียดเพลงเหล่านนี้สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้อย่างเต็มอิ่มจาก หนังสือ เพลงนอกศตวรรษ ของ อเนก นาวิกมูลเพลงลูกทุ่งมีความพันทาง ที่กำเนิดจากหลายๆ อย่าง ประกอบขึ้นด้วยกัน จึงเกิดเป็นเป็นเพลงลูกทุ่ง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่และชัดเจนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่มีวิวัฒนาต่อเนื่องมาแต่ยุครัชสมัยที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มิใช่เพิ่งเริ่มมี เมื่อ พ.ศ. 2481

ทั้งนี้ ยังเชื่อมโยงไปถึงการออกภาษาในบทเพลงและการออกภาษาในบทเพลงดังปรากฏในหนังสือ การละเล่นของไทย มนตรี ตราโมท (สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2540)ยุคบุกเบิกเพลงลูกทุ่ง เนื้อหาเพลงลูกทุ่งช่วงนี้ มักกล่าวถึงธรรมชาติ ที่สวยงามของชนบท ส่วนวิถีชีวิตของชาวชนบทมักกล่าวถึงความรักของหนุ่มสาว ความยึดมั่นในศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณี นักร้องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อวงการเพลงลูกทุ่งไทย ในแง่ที่เป็นผู้ริเริ่มเสนอผลงานเพลงอันทรงคุณค่าในยุคแรกๆ เช่น คำรณ สัมบุณณานนท์ ชาญ เย็นแข ปรีชา บุญญเกียรติ วงจันทร์ ไพโรจน์ เบญจมินทร์ สมยศ ทัศนพันธ์ ส่วนนักร้องหญิงที่มีชื่อเสียง เช่น ผ่องศรี วรนุช ศรีสอางค์ ตรีเนตร วงดนตรีที่เด่นๆ เช่น วงจุฬารัตน์ ของมงคล อมาตยกุล วงดนตรีพยงค์ มุกดากึ่งพุทธกาล จึงนับเป็นช่วงก่อกำเนิดวงดนตรีต่าง ๆ ขึ้นมาก่อนและหลัง พ.ศ.2500 เป็นต้นมา

ขอบคุณ:เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต