เมื่อเอ่ยถึง เพลงลูกทุ่งเชื่อว่าหลายคนคงคงจำ เนื้อร้อง และทำนองได้ ติดหู ไม่ว่าจะเป็นลูกทุ่งยุคแรก จนกระทั้ง มีการวิวัฒนาการ มาสู่ เพลงลูกทุ่งในปัจจุบัน  เรียกว่า เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง 

วันนี้ สยามรัฐออนไลน์ พาไปรู้จัก พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" ว่ามีความเป็นมาอย่างไร โดย เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต ได้เผยแพร่  พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" ต่อจากตอนที่แล้ว ไว้ดังนี้


พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" (3)

เพลงลูกทุ่ง (3)

ยุค พ.ศ.2490 ได้มีนักแต่งเพลง เริ่มปรากฎชื่อนักแต่งเพลงหน้าใหม่ นาม ไพบูลย์ บุตรขัน จากการชักนำของ สวัสดิภาพ บุนนาค ซึ่งเป็นเพื่อนและน้องเขย เพลงในยุคแรกได้แก่เพลง "มนต์เมืองเหนือ" "คนจนคนจร" "ดอกไม้หน้าพระ" "ดอกไม้หน้าฝน" และ "ค่าน้ำนม" "กลิ่นโคลนสาปควาย" (แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ขับร้องโดยชาญ เย็นแข) เป็นอีกผลงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของของไพบูลย์ บุตรขัน  และเป็นเพลงต้อง้ามเปิดในสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ เหตุเพราะมีนักร้องวงดนตรีของตนเองอยู่แล้วคือ วงดนตรีสุนทราภรณ์ จึงเปิดเฉพาะวงในสังกัด ทำใหม้ คนฟังเพลงขอไปสถานีอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถานีวิทยุทหารบก และทำให้แผ่นเสียงขายดี

ขณะเดียวกันก็มีดาวรุ่งที่มาในลายเพลงแนวรำวง คือ เบญจมินทร์ ขุนพลเพลงลูกทุ่งยุคบุกเบิกจากที่ลุ่มน้ำมูน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ชื่อว่าเป็น ราชาเพลงรำวงรำวงนั้นแต่เดิมคือ รำโทน เป็นจังหวะ เมื่อรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้บัญญัติรำวงวงมาตรฐาน โดยรำเป็นรอบวง ทำให้จังหวะ "รำโทน" ได้กายเป็น "รำวง" แต่บัดนั้นจังหวะรำโทน นี้เป็นวัฒนธรรมร่วมทั้ง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และ ลุ่มแม่น้ำโขง

จังหวะ รำวง ถือวาเป็นที่นิยมแพร่หลายของลายเพลงลูกทุ่ง พอๆกับจังหวะสามช่า จังหวะตีกลอน ป่ะ ป่ะ โทน โทน หรือจังหวะ รำโทน นี้เป็นวัฒนธรรมร่วมทั้งกันแผ่นดินสุวรรณภูมิ รำโทน เป็นส่วนหนึ่งของเพลงลูกทุ่ง แต่ไม่ใช่ต้นกำเนิด เพราะเพลงลูกทุ่งในเริ่มแรกนั้น ไม่มีอะไรที่ตายตัว เป็นกฎเกณฑ์ มาตรฐานแน่นอน แต่เพลงลูกทุ่งเป็นวิวัฒนาการที่สืบเนื่องมาจากการละเล่นที่หลากหลาย ครูเบญจมินทร์ เคยแต่งเพลง รำโทน บันทึกแผ่นเสียง ใช้ชื่อเพลงว่า รำโทน โดยนำทำนองไทยเดิมเพลง พม่ารำขวาน มาใส่ทำนอง เมื่อเอ่ยนามของราชาเพลงลูกทุ่ง ครูสุรพล สมบัติเจริญ จำเป็นด้วยต้องกล่าวถึงต้นแบบคือ ครูเบญจมินทร์ คนหนึ่งเป็นราชาเพลงลูกทุ่ง อีกคนคือ ราชาเพลงรำวง ครูสุรพล สมบัติเจริญ นับถือ ครูเบญจมินทร์ นั้นเป็นนักร้องต้นแบบที่ร้องเต็มคำเต็มเสียงและเชี่ยวชาญในการนำทำนอรำโทน - รำวงมาแต่งเป็นเพลง
เหตุการณ์สงครามคาบสมุทรเกาหลี ครูเบญจมินทร์ เป็นทหายในหน่วยวัฒนธรรมเดินทางไปร่วมรบ แต่มิได้รบ หกไปทำหน้าที่การขับกล่อมขวัญทหารในกองทัพ ก็เป็นช่วงครูสุรพล สมบัติเจริญ กำลังแจ้งเกิด แจ้งดังพอดิบพอดี

เมื่อกลับจากสงคราม ครูเบญจมินทร์ ก็พบว่ามีนักร้องน้องใหม่กำลังเรืองโรจน์ เสียงก็ละม้ายคล้ายคลึงกับมิผิด จึงเกิดเพลงตัดพ้อต่อว่าขโมย จนครูสุรพล สมบัติเจริญ ต้องมาแตงเพลง สิบนิ้วขอขมา แล้วครูเบญจมินทร์ก็แต่งโต้ตอบชื่อเพลง อย่าเถียงกันเลย
นั่นคือ ประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของวงการเพลงลูกทุ่งเมืองไทย

แต่หากต้องย้อนไปที่เพลงแรกตามหลักฐานที่บันทึกแผ่นเสียงของ ครูเบญจมินทร์ นั่นคือเพลง "ชายฝั่งโขง" ของครูจำรัส รวยนิรันดร์ แล้วมาที่เพลงแรกในชีวิตของการเป็นนักร้องของครูสุรพล สมบัติเจริญ คือเพลง "น้ำตาลาวเวียง" ในปี พ.ศ. 2496 กับห้างแผ่นเสียง ต.เง็กชวน 


ไม่ว่าจะเป็นทำนอง เนื้อหา ถอดแบบเพลง ชายฝั่งโขง มาทุกประเบียนนิ้วเลยทีเดียว ที่สำคัญทั้งสองเพลงนี้ ก็บันทึกแผ่นเสียงห้าง ต.เง็กชวนด้านนักมานุษยวิทยาดนตรี อานันท์ นาคคง ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเพลงทั้งเพลงนี้ไว้ว่า "ชายฝั่งโขง" กับ "น้ำตาลาวเวียง" โครงสร้างจังหวะทำนองเดียวกัน ลีลาการขับร้องเหมือนกัน แต่การเรียบเรียงดนตรีคนละแบบ ของครูเบญจมินทร์ เรียบง่ายกว่า มีแอคคอเดียนทำหน้าที่หลัก แซกโซโฟนช่วยเสริมห่างๆ มีกลองทอมเสียงต่ำตีเป็นบีทยืนจังหวะไว้ให้ร้องโหนพันไปพันมารอบจังหวะหลัก บาลานซ์ของดนตรีทำเอาไว้ดีมาก ถ้าหากนึกถึงเทคโนโลยีการบันทึกในเวลานั้น ครูเบญจมินทร์โชว์ทักษะการร้องเพลงที่สะกดใจได้ดีมาก ฟังเพลิน

ของครูสุรพล ตั้งใจทำดนตรีให้ฉูดฉาดกว่า แต่มีปัญหาเรื่องการเรียบเรียงเสียงประสาน และการบันทึกเสียงที่วางไมค์ไม่บาลานซ์กันระหว่างเครื่องดนตรีต่างๆ แต่ก็กล้าหาญมาก พาร์ทดนตรีมีการทดลองผสมแคน ขลุ่ย เข้าไปกับแซ็กโซโฟน เปียโน ใช้กลองทอมบ้าคู่เสียงสูงตีจังหวะค่อนข้างรุกเร้า มีบารากัส ทัมบารีน ฉาบเล็ก ใส่กันไม่ยั้ง ขลุ่ยกับแซ็กไม่ฟังกันนัก แย่งกันเล่น โชคดีที่เสียงร้องครูสรุพลสามารถฝ่าดงดนตรีไปได้

อย่างนี้เรียกว่าแรงบันดาลใจของคนและฝั่งสยามประเทศจากหนุ่มอุบลราชธานีเชื้อสายลาวเวียงถึงหนุ่งสุพรรณบุรีที่มีเชื้อสายเจ๊กปนลาว หลัง พ.ศ.2370 กวาดต้อนคนลาวไปอยู่สุพรรณ จากหลวงพระบาง, เวียงจัน, และสองฝั่งโขง ลงไปตั้งหลักแหล่งภาคกลาง โดยเฉพาะสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน เมืองสุพรรณบุรี เป็นต้นตอ สำเนียงเหน่อลาว พบหลักฐานในนิราศสุพรรณของสุนทรภู่ เมื่อนั่งเรือถึงเมืองสุพรรณ บอกว่าสองฝั่งแม่น้ำเป็นเรือนของพวกลาวสำเนียงเหน่อ ว่า “ลาวอยู่รู้เสียงสนอง เหน่อช้า”

วงการเพลงลูกทุ่งกำเนิดที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาคนในดินแดนสยามเป็นชาวสยามโดยไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ แต่สื่อสารเข้าใจกันด้วยภาษากลางทางการค้า คือภาษาไต-ไท (ต้นตอภาษาไทย) มีประเพณีขับลำแบบลุ่มน้ำโขง (ปัจจุบันเรียกเหน่อ ซึ่งเป็นต้นตอสำเนียงเจรจาโขนสืบเนื่องจนปัจจุบัน) มีประเพณีเล่นเพลงขับลำเรื่องขุนแผน (ต้นตอขับเสภาสมัยรัตนโกสินทร์เรื่องขุนช้างขุนแผน)

“เหน่อสุพรรณ” เป็นสำเนียงที่มี “ดีเอ็นเอ” ลุ่มน้ำโขง ผลักดันคนเพลงสุพรรณ (และกลุ่มฟากตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา) จำนวนไม่น้อย “แก้วเสียง” มีพลังสร้างสรรค์ เป็นนักร้องลูกทุ่งโดดเด่นพิเศษ ส่งผลให้นักร้องจากแดนสุพรรณบุรี จำเป็นเมืองหลวงของลูกทุ่งในภาคกลาง


ขณะที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึงหมายรวมดินแดนเดิม เช่น ยโสธร และ อำนาจเจริญ ก็แหล่งคนลูกทุ่งอีสาน ที่มี เบญจมินทร์ เป็นต้นทาง ก่อนที่ "ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา - ครูสุรินทร์ ภาคศิริ" 2 ครูเพลงแห่งลุ่มน้ำมูนจะมาสานต่อความเป็นลูกทุ่งอีสานผ่านถนนมิตรภาพมาสู่เมืองหลวงอย่างเต็มภาคภูมิ

คนลูกทุ่งทั้งมวลก็ กินน้ำร่วมห้วย กินกล้วยร่วมหวี กินปลีร่วมกาบ อาบน้ำร่วมวังกันมาแต่โบราณสืบเนื่องรากเหง้ายังมีในวิถีปกติ เพียงไม่อยู่บนเวทีห้องประชุมของราชการ แต่อยู่ในชุมชนหมู่บ้าน ได้แก่ งานบวช, งานวัด, งานวันเกิด จนถึงงานศพ ควบคู่ไปกับเรื่องราวของเพลงดนตรีทั้งแบบประเพณีและแบบป๊อปซึ่งล้วนมีกว้างใหญ่ไพศาล เป็นพลังเศรษฐกิจสร้างสรรค์


ขอบคุณ:เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต