เมื่อเอ่ยถึง เพลงลูกทุ่งเชื่อว่าหลายคนคงคงจำ เนื้อร้อง และทำนองได้ ติดหู ไม่ว่าจะเป็นลูกทุ่งยุคแรก จนกระทั้ง มีการวิวัฒนาการ มาสู่ เพลงลูกทุ่งในปัจจุบัน  เรียกว่า เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง 

วันนี้ สยามรัฐออนไลน์ พาไปรู้จัก พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" ว่ามีความเป็นมาอย่างไร โดย เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต ได้เผยแพร่  พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" ตอนที่ 2 ไว้ดังนี้

เพลงลูกทุ่ง (2)

ถ้าจะเรียงลำดับพัฒนาการเพลง จนกลายมาเป็นเพลงลูกทุ่งใน หลัง พ.ศ. 2500 ต้องย้อนกลับไปถึงเพลงไทยสากลแรกสุดชื่อเพลงวอลทซ์ปลื้มจิต แต่งโดยกรมพระนครสวรรค์วรพินิต (วังบางขุนพรหม) สมัย ร.5 ราว พ.ศ. 2446 หลังจากนั้นต่อมามีเพลงกล้วยไม้ แต่งโดย พรานบูรพ์ (นายจวงจันทร์ จันทร์คณา) สมัย ร.7 ราว พ.ศ.2476

เพลงไทยสากล ต้นตอเพลงลูกทุ่ง บรรเลงด้วยวงดนตรีสากลในกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มมีพัฒนาการ (ตั้งแต่สมัย ร.4 เรือน พ.ศ.2400) ในกองทหารด้วยแตรวง, วงดุริยางค์, วงโยธวาทิต ซึ่งช่วงต่อไปเกี่ยวข้องกับพระเจนดุริยางค์ (ปีติ วาทยากร) มีลูกศิษย์ลูกหานับไม่ถ้วน 
จนกระทั่ง เพลงไทยสากลเป็นที่รู้กันกว้างขวาง

ถึงแม้ เพลงโอ้สาวชาวไร่ จะถูกยอมรับให้เป็นบทเพลลูกทุ่ง เพลงแรก แต่งขึ้นใน พ.ศ. 2581 แต่การตีความเรื่องกำเนิดของเพลงลูกทุ่งยังมีความเห็นแตกต่างตามแต่ที่จะมีหลักฐานมายืนยัน เช่น ข้อเขียนของ  ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์)  เขียนไว้ในหนังสือ เรื่องของละครและเพลง ว่า 

"หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้ว มหรสพต่างๆ ก็เริ่มฟื้นตัวขึ้น…เกิดเพลงแบบใหม่เรียกกันว่า เพลงลูกทุ่ง ตั้งเป็นวงดนตรีแบบสากล" ขณะที่ ครูพยงค์ มุกดา ศิลปินแห่งชาติ ครูเพลงที่มีแต่งทั้งเพลงลูกทุ่ง - ลูกกรุง เป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนสร้างสีสันให้กับวงการเพลงลูกทุ่ง มีเห็นว่า เรื่อง แผลเก่า ของไม้เมืองเดิม มีเพลงขวัญของเรียม ซึ่งพรานบูรพ์แต่งขึ้นใน พ.ศ. 2482 น่าจะถือเป็นแม่บทของเพลงลูกทุ่งได้ เพราะมีลูกเอื้อน ลูกขัด และสาระเนื้อหาแบบเพลงลูกทุ่ง

จนกระทั่ง ราว พ.ศ. 2498 ป.วรานนท์ ๕รูเพลงคนสำคัญและนักจัดรายการวิทยุชื่อดังยุคนั้น ผู้จัดแผ่นเสียทองคำพระราชทาน สถานีวิทยุ พล.1 ยุคแรกช่อง 4 บางขุนพรม ได้เรียกจัดประเภทเพลงชีวิต เช่น คำรณ สัมบุณณานนท์ สมยศ ทัศนพันธ์ เบญจมินทร์  พยงค์ มุกดา รวมถึงนักร้องน้องใหม่ที่เริ่มสร้างชื่อเสียง เช่น สุรพล สมบัติเจริญ ว่าเป็น "นักร้องตลาด" 

บทเพลงตลาด เริ่มถูกจำแนนในห้วงพ.ศ.นี้เอง เหตุด้วยเนื้อหาคำร้องของนักร้องเหล่านี้สามารถเข้าถึงผู้ฟังที่เป็นชาวบ้านทั่วไปได้ง่าย ภาษาบ้านตลาดร้านค้าเข้าถึง ส่วนนักร้องในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ อย่างวงดนตรีสุนนทราภรณ์ถูกจัดเป็นอีกแนวหนึ่ง เรียกว่า "เพลงผู้ดี" ซึ่งหมายถึง เพลงที่มีการแต่งอย่างไพเราะเพราะพริ้ง นักร้องแนวนี้ เช่น สุเทพ วงศ์กำแหง สวลี ผกาพันธุ์ พัฒนการวงการเพลงไทยสากลจึงถูกแบ่งประเภทออกเป็น ก่อนกำเนิดคำว่า เพลงลูกทุ่ง และเพลงลูกกรุง แต่จะใช้หลักเกณฑ์ใดในการตัดสินนั้น มีผู้ให้ความเห็นว่า เป็นเพราะช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมเมือง และชนบท รสนิยมของเพลงลูกกรุงจึงได้รับความนิยมในหมู่ผู้มีการศึกษาของสังคมเมือง ส่วนเพลงลูกทุ่งมุ่งรับใช้ชาวชนบทเป็นส่วนมาก แต่ความชัดเจนของดนตรีไทยสากลทั้งสองประเภทนั้นเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นก็เมื่อมีการตลาดเข้ามาจัดการโดยผ่ายวิทยุทรานซิลเตอร์


ขอบคุณ:เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต