เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567  ที่อาคารกรมราชทัณฑ์ จังหวัดนนทบุรี กรมราชทัณฑ์ จัดงานวันคล้ายวันสถาปนากรมราชทัณฑ์ ครบรอบ 109 ปี (13 ตุลาคม 2567) บรรยากาศในช่วงเช้า ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ผู้บริหารกรมราชทัณฑ์ ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ และอดีตผู้บริหารกรมราชทัณฑ์ ทยอยเดินทางเข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง อาทิ  พันตำรวจเอก ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองเลขาธิการพระราชวัง อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์, นายอภัย จันทนจุลกะ อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์, นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นต้น

จากนั้นพันตำรวจเอก ทวี  มอบนโยบายและแนวทาง การปฏิบัติงานแก่ผู้บริหารงานราชทัณฑ์ทั่วประเทศ กล่าวว่า วันนี้นับว่าเป็นวันที่ดี ประการที่ 1 คำพูดที่บอกว่า อดีตต้องเป็นบทเรียน ปัจจุบันและอนาคตคือความรับผิดชอบ อตีดของราชทัณฑ์ หากไม่นับรวมบุคคล ก็มีประวัติความเป็นมา แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ ต้องยอมรับว่า เกิดขึ้นใน ล้นเกล้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

สิ่งนี้ต้องเป็นสิ่งเตือนใจ ที่บอกว่า เป็นบทเรียนของกรมราชทัณฑ์ หรือแม้กระทั่งกระทรวงยุติธรรม  อย่างน้อยที่สุดเราต้องนำ พระราชจริยวัตร รัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 มาเป็นแนวทางให้ฝังอยู่ในตัวตน และในสายเลือด DNA  ของกรมราชทัณฑ์ให้ได้ อย่างน้อยที่สุด ล้นเกล้า รัชกาลที่ 5 ท่านเลิกทาส เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก คนราชทัณฑ์สิ่งใดที่เป็นทาส จะต้องไม่มี

ประการที่ 2 ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน พระองค์ท่านเป็นที่รักของประชาชน พสกนิกร ดังนั้นกรมราชทัณฑ์ต้องเป็นที่รัก ทั้งเพื่อนร่วมงาน ผู้ต้องราชทัณฑ์ และประชาชน ทำอย่างไรก็ได้ให้ประชาชนรู้สึกว่า เป็นคนราชทัณฑ์ของเรา ไม่ใช่เป็นคนกรมราชทัณฑ์ที่มีคนหวาดระแวง

ประการที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านจะเสด็จประพาส ทั้งในและต่างประเทศ ท่านไม่ได้นั่งฟังในห้อง พวกเราโดยเฉพาะผู้บัญชาการเรือนจำ ควรคุยไปพบกับผู้ต้องราชทัณฑ์ทุกคน การไม่พูดคุยกัน ทำให้เราไม่รู้ เพราะการรับฟัง จะทำให้รู้ประวัติ รู้บุคคล

ประการที่ 4 เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน คือ พระราชจริยวัตร ของทั้ง รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 คือการปฏิรูป นั่นคือการทำให้ดีขึ้น

"กรมราชทัณฑ์เกิดขึ้นได้ก็เพราะการปฏิรูป ดังนั้นคนราชทัณฑ์ต้องปฏิรูปให้ดีขึ้น" พันตำรวจเอก ทวี กล่าว

พันตำรวจเอก ทวี กล่าวว่า ในฐานะรัฐบาล กระบอกเสียงที่สำคัญของรัฐบาลที่สุดคือ ‘นโยบายที่เราแถลง’ เพราะในรัฐธรรมกำหนดว่า รัฐบาลต้องยึดนโยบาย ซึ่งมีอายุ 4 ปี ในช่วง นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ดำเนินนโบายมาได้ 1 ปี และในรัฐบาลใหม่ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งยังคงเหลืออีก 3 ปี

“ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายกรมราชทัณฑ์อย่างยิ่ง กรมราชทัณฑ์อาจถูกแฝงไว้ในเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด เป็นสิ่งจำเป็นต้องเอาบุคคลที่มีคุณภาพ  เอาบุคคลที่ไปสร้างอนาคตให้กับประเทศชาติ กลับสู่สังคม นโยบายยาเสพติดก็ดี ต้องนำคนที่มีคุณภาพออกไปสู่สังคม”

 ดังนั้นการที่จะทำให้คนมีคุณภาพ ทำได้อย่างเดียว ท่านต้องหยิบรัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญเราเขียนไว้ว่า มาตรา 3 วรรคสองว่า ’การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์การ ตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามกฎหมายตามหลักนิติธรรม เพื่อความผาสุกของประชาชน และประเทศชาติโดนส่วนรวม‘  และที่ตามมาอีก คือ มาตรา 53 รัฐต้องให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมาย โดยเคร่งครัด‘

" กฎหมายราชทัณฑ์ ผมคิดว่า เราไปเอาหลักสหประชาชาติ และหลักสิทธิมนุษยชน มาใส่เป็นกฎหมายทั้งหมดเมื่อปี 2560 สิ่งสำคัญที่สุด คือต้องการแก้ไข ผู้ต้องขัง ผู้ต้องราชทัณฑ์ที่แออัด หรือเรียกว่านักโทษล้นคุก

เพราะลำพังจะนำเงินมาสร้างเรือนจำ 1-2 พันล้าน 1 เรือนจำ ไม่มากกว่านั้น นับวันเรือนจำจะยิ่งลดน้อยถอยลง ส่วนที่นำมาพัฒนาประเทศเป็นเงินกู้ทั้งนั้น เงินที่ประชาชนเสียภาษี มาเป็นรายจ่ายประจำ จึงเป็นเรื่องท้าทายของพวกเราว่าจะทำอย่างไร"  พันตำรวจเอก ทวี  กล่าว

พันตำรวจเอก ทวี  กล่าวต่อไปว่า ในกฎหมายราชทัณฑ์ เขาต้องการให้องค์กรหนึ่ง เข้ามาแก้ไขและต้องทำให้คณะรัฐมนตรีต้องฟังคือ คณะกรรมการราชทัณฑ์ เพราะคณะกรรมราชทัณฑ์ จะสามารถพัฒนาให้คำแนะนำ ราชทัณฑ์ในอดีตอาจเป็นยุคของการลงโทษ การข่มขู่ แต่ราชทัณฑ์ในยุคปี 2566 ราชทัณฑ์จะเป็นสถานที่สร้างอนาคตให้กับประเทศไทย เหตุที่มาพูดเช่นนี้ เพราะว่า มีคำกล่าวว่า หากจะดูอดีตสังคมใด ให้ไปดูที่พิพิธภัณฑ์กรมราชทัณฑ์ ถ้าจะดูปัจจุบันให้ไปดูที่หน่อยปฏิบัติ

วันนี้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ เป็นการสร้างจิตพิสัย ซึ่งจิตพิสัยเขียนไว้เลยว่า ต้องการ การศึกษา วันนี้ราชทัณฑ์มีเรื่องท้าทายมาก เพราะว่าผู้ต้องราชทัณฑ์ 77% หรือ สองแสนกว่าคน มีการศึกษาต่ำกว่าขั้นพื้นฐาน

“เวลามีนักเรียน 1 คน ที่อายุถึง 18 ปี จะต้องนำเงิน 55,000 - 60,000 บาท เพื่อให้ไปจัดการศึกษา แต่คนกลุ่มนี้ออกกลางคัน เรียนไม่จบ ส่วนมากก็เข้ามาอยู่ในราชทัณฑ์ถึง สองแสนกว่าคน  เขาบอกว่าไม่มีอะไรยากเท่าการบูรณะ ทางภาคอีสานบอกว่า การบูรณะวัตถุ หรือการสร้างบ้าน งานกว่าการซ่อมบ้าน ยิ่งการบูรณะคนที่ก้าวพลาดยิ่งยาก เป็นหน้าที่ของพวกท่าน ผู้บัญชาการเรือนจำ ต้องจัดการศึกษา ดังนั้นผมคิดว่าเป็นเรื่องท้าทาย

หากเราคิดทฤษฎีธรรมดา คนไม่มีการศึกษา ส่วนใหญ่จะทำความผิด สิ่งนี้ชัดเลย และที่สำคัญคนที่ออกจากเรือนจำ ส่วนใหญ่รัฐบาล ไม่ได้ต้องการให้มากระทำความผิดซ้ำ จึงเป็นการป้องกันอาญากรรม" พันตำรวจเอก ทวี ระบุ

พันตำรวจเอก ทวี กล่าวต่อว่า เมื่อก่อนเราถูกท้าท้ายเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้ต้องราชทัณฑ์ วันนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายอีกอย่างยิ่ง ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ บอกว่า ต้องเตรียมความพร้อม ต้องบำบัดฟื้นฟู ก่อนมีคำพิพากษา เพราะว่ายาเสพติด เดียวนี้ ปรากฏว่า 2 เม็ด ครอบครองหรือเสพ  แก้กฎหมายใหม่โทษ 2 ปี  แต่หากครอบครองธรรมดา มีโทษ 15 ปี ก็ต้องถูกฝากขัง 84 วัน เพราะกฎหมายไปบังคับศาล ก่อนศาลจะตัดสิน ให้คำนึงถึงการรักษา มากกว่าลงโทษ คนสองแสนกว่าคน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายพวกท่าน

“ประเทศไทยมีนักโทษอันดับ 5 ของโลก อินโดนีเซียมีประชากร 251 ล้านคน แต่นักโทษน้อยกว่าเรา ผมไปเจอคนอินโดนีเซีย เขาบอก เขานิสัยดีกว่าคนไทย ถ้านิสัยไม่ดีเขาต้องติดคุกแล้ว

อธิบดีกรมราชทัณฑ์มาเลเซีย เยือนกรมราชทัณฑ์ไทย เขาบอกว่า ตอนนี้ในเรือนจำมาเลเซีย ปีที่แล้วมี 70,000 คน อยู่ด้านนอก 30,000 คน ปัจจุบันนั้เขาจะเปลี่ยนวิธีคิดให้อยู่ในเรือนจำ 30,000 คน และอยู่ด้านนอก 70,000 คน ไม่งั้นคนที่อยู่ประเทศจะอ่อนแอ แต่ท่านจะปล่อยธรรมดาไม่ได้เแล้ว ท่านต้องปล่อยให้เข้ามีคุณภาพ ท่านต้องเปลี่ยนให้เขาเป็นมหาวิทยาลัยชีวิต” พันตำรวจเอก ทวี กล่าว

พันตำรวจเอก ทวี กล่าวต่อว่า  ขอชื่นชมท่านอดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ วันนี้เป็นโอกาสของประเทศไทย คือ คนหนุ่มสาว คนที่เป็นภาระ เราถูกรับภาระโดยนโยบาย ว่า จะทำอย่างไรให้คนหลังกำแพง ออกไปให้เป็นคนที่มีคุณภาพ สุขภาพที่ดี ติดยาเสพติด ต้องถูกรักษาในเรือนจำ ออกไปให้เขามีอาชีพ ให้เขามีการศึกษา หากให้ผู้ต้องราชทัณฑ์อ่านหนังสือสัก 1 เล่ม และพักโทษ 1-3 วัน  สิ่งนี้จะเป็นพลัง และวันนี้ถ้าคนอ่านหนังสือไม่ออก คนคิดเลขไม่เป็นทำธุรกิจไม่ได้ เราอยู่ไม่ได้แล้ว โดยสิ่งที่ทุกท่านทำอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นภาระเยอะ และรัฐบาลไม่มีงบประมาณเพิ่มให้

ดังนั้น ราชทัณฑ์อาจจะต้องตั้งคล้ายๆ ธนารัตน์พัฒนา อาจจะมี "ราชทัณฑ์พัฒนา" ขึ้นมา เพื่อมีกองทุนมาใช้เพื่อบริหาร สิ่งที่เป็นตัวชี้วัด คนที่ก้าวออกจากเรือนจำ ต้องเป็นคนมีคุณภาพ เราต้องดูแลเขาหลังจากออกเรือนจำด้วย สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราต้องมาหารือ และพูดคุยกัน

" อย่าเสียขวัญ และกำลังใจ ที่มีนักร้องที่ร้องปปช. และหน่วยงาน ผมจะบอกว่าถ้าเราปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหมายราชทัณฑ์บอกว่า เรือนจำหรือที่คุมขังมีดังนี้ 1.เรือนจำ 2.โรงพยาบาล 3.เรือนจำหรือที่คุมขังอื่น

4 ปีนี้ เป็นวาระที่เป็นโอกาส และเป็นสิ่งท้าทาย ของประเทศไทย อย่างน้อยที่สุดคนของกรมราชทัณฑ์ จะสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศ สร้างมนุษย์ให้มีคุณภาพ มีการศึกษา เรามารวมกันทำภาระกิจนอกจากพัฒนาจิตพิสัยแล้ว เราจะต้องมีตัวชี้วัดสำคัญ คือทำคนให้มีคุณภาพออกไปสู่สังคม"พันตำรวจเอก ทวี กล่าว