นายแพทย์ธนวัฒน์  ธนกิจประภาพันธ์ คณะกรรมการ YEC Health Care หอการค้าไทย  เปิดเผยว่า “ประเทศไทยถือเป็นจุดศูนย์กลางการลงทุนของทั้งภูมิภาคเเละได้รับความสนใจจากกลุ่มประเทศอื่น ๆนอกภูมิภาค ที่สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย บริษัทขนาดเล็กอย่าง SME มีข้อได้เปรียบที่ความคล่องตัว สามารถดำเนินกิจการต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เเต่ต้องเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้  ผู้บริหารจำเป็นต้องมีความรู้เเละความเข้าใจถึงศักยภาพของ SME ของตนเองเป็นอย่างดี ต้องประเมินให้ดีว่าเราสามารถควบคุมหรือยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยขนาดไหน


นพ.ธนวัฒน์  กล่าวอีกว่า “หากจะพูดถึงปัญหาของบริษัทหรือธุรกิจขนาดย่อม (SME)  นั้น การปรับเปลี่ยนเเละพัฒนาตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญ   หากได้การสนับสนุนจากทางรัฐบาลในการออกนโยบายสนับสนุนเเละพัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งในด้านการลดภาษี ช่วยลดต้นทุนในด้านทรัพยากร บุคลากร องค์ความรู้ หรือช่วยงบประมาณสนับสนุนการวิจัยนวัตกรรม รวมไปถึงสร้างมาตรการเพื่อปกป้อง ให้ธุรกิจเหล่านั้นสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น”


นพ.ธนวัฒน์  กล่าวว่า “ในการเสริมสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็น (Reskill) และยกระดับทักษะที่มีอยู่ให้สูงขึ้นเเละความเชี่ยวชาญ (Upskill)  นั้น  ธุรกิจประเภทการนวดสปาเเละการนวดเเผนไทย  หากนำมาพัฒนาต่อให้มีมาตรฐาน (standard ) ร่วมกับภาครัฐที่ออกเเบบโครงการมาสนับสนุนในการนำความรู้ความสามารถนั้นมาต่อยอด เพื่อสร้างเป็นธุรกิจ ก็จะเป็นการช่วยสร้างการเติบโตของตลาด SME ได้อย่างมาก เเละ ขอย้ำว่าธุรกิจ SME ต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้ในระยะยาว”

 


นพ.ธนวัฒน์  กล่าวว่า “สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจรายย่อยอย่าง SME ไม่สามารถคงสภาพกิจการไว้ได้จนถึงอายุ 10 ปี นั้น เลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องพบเจอกับปัญหาในด้านต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การปิดกิจการ มีด้วยกันหลายสาเหตุ ทั้งภาระหนี้สิน การขาดคุณสมบัติในการกู้ยืม  สินค้านำเข้าในไทยของตลาดในต่างประเทศที่มีราคาถูกกว่า น่าสนใจกว่า ทำให้การสร้างรายได้ของ SME ในประเทศไทยรายย่อยนั้นเป็นไปได้ยาก”
นพ.ธนวัฒน์ กล่าวต่ออีกว่า “ระหว่าง Content กับ Connection  อะไรสำคัญกว่ากัน Content คือ การตลาดที่สามารถทำให้ขายสินค้าได้ในราคาที่ดีขึ้น  ส่วน Connection  คือโครงข่ายที่จะทำให้ธุรกิจมีความเเข็งเเรงช่วยผลักดันธุรกิจ สร้างความร่วมมือในภาคส่วนต่าง ๆ โครงข่ายที่มีความเเข็งเเรงจะช่วยให้กลุ่มธุรกิจเหล่านั้นสามารถเติบโตได้ในระยะยาว ซึ่งในปัจจุบันมีเเนวโน้มที่ดีขึ้น ทั้ง Content เเละ Connection ล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น”


นพ.ธนวัฒน์  กล่าวอีกว่า “ในประเด็นปัญหาเรื่องคู่เเข่งทางการค้านั้น แทนที่เราจะมองธุรกิจในตลาดเดียวกันว่าเป็นคู่เเข่งเเล้วตัดทอนเเข่งขันกันเอง  เราควรเปลี่ยนมุมมอง เเละให้ความสำคัญในการร่วมมือกัน เเบ่งปันทรัพยากรเพื่อสร้างเคลือข่ายที่ดีต่อกัน จะเป็นการสร้างธุรกิจที่มีความยั่งยืน การทำธุรกิจเเบบตัดตอนซึ่งกันเเละกัน เเย่งชิงกันไปกันมา เลียนเเบบธุรกิจ การตัดราคา เหล่านี้ไม่สามารถสร้างความยั่งยืนของธุรกิจไทยได้อย่างเเท้จริง”


“ตลาดโลกและผู้ประกอบการรายย่อยควรปรับตัวในให้เท่าทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่ง ณ เวลานี้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Wellness (สุขภาพ) เเละเทคโนโลยี AI (ปัญญาประดิษฐ์) กำลังได้รับความสนใจ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี ที่คนไทยยังขาดความเข้าใจเเละส่วนใหญ่มีอยู่เพียงในกรุงเทพ ซึ่ง เทคโนโลยีนั้นมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว  นับเป็นเรื่องยากผู้ประกอบการรายย่อยเเละประชาชน โดยเฉพาะในต่างจังหวัดจะเข้าถึงองค์ความรู้เหล่านี้ได้ จะเป็นการดีมากหากภาครัฐกระจายศูนย์ช่วยเหลือเเละบริการไปยังจังหวัดต่าง ๆ เป็นการสร้างโครงข่ายความรู้ที่เข้มเเข็ง พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการต่อไป โครงการขับเคลื่อน ธุรกิจ กลุ่ม sme / micro sme / nano sme เช่น งบอุดหนุน  สิทธิในการสร้าวความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ด้วยกันในด้านความร่วมมือ การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมด้านการเงิน  การส่งเสริมด้านการวิจัยและนวตกรรม การรวมกลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มนี้  ตามประเภทธุรกิจอุตสาหกรรมและมี่สำคัญคือการส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงกับกุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ” นพ.ธนวัฒน์  กล่าว


นพ.ธนวัฒน์  กล่าวว่า “สำหรับปัญหาเรื่องการว่างงานนั้น ภาครัฐควรให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยพื้นฐานของคนไทย คือเกษตรกรรม ถือเป็นข้อได้เปรียบกว่าประเทศในเเถบตะวันตก โดยเฉพาะคนในพื้นที่ชนบทส่วนใหญ่จะมีที่นาในการทำเกษตรของตนเอง เหลือก็เพียงภาครัฐกำหนดเเนวทางเเละดึงบุคลากรเหล่านั้นให้ได้มีพื้นที่ในการใช้ความรูัเพื่อสร้างรายได้ เเละส่งเสริมเเนวทางเพื่อสนับสนุนพวกเขาให้สามารถทำได้ในระยะยาว”


“SME มีความสามารถในการปรับตัวได้เยอะ ปรับตัวได้ไว ผู้ประกอบการต้องมีความตื่นตัวเเละพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา สร้างการรวมกลุ่มเเละเคลือข่ายความร่วมมือ เพื่อผลักดันธุรกิจควบคู่กับโครงการของรัฐบาลต่อไป จะทำให้ธุรกิจภายในประเทศมีความมั่นคงเเละยั่งยืนอย่างแท้จริง” นพ.ธนวัฒน์  กล่าวในที่สุด