โคราช จัดงาน “มามูรวย” วัฒนธรรมไทย-อินเดีย ดึง นทท.สายมูเที่ยวไทยกระตุ้นเศรษฐกิจ
ที่ตลาดน้ำบึงหัวทะเล ตำบลหัวทะเล อ.เมือง นครราชสีมา นายวิจิตร กิจวิรัตน์ รอง ผวจ.นครราชสีมา พร้อมนางณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย สมาชิกวุฒิสภา (สว.) นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา ผู้แทนเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย Dr.Chaitanya Prakash Yogi ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม Swami Vivekananda สถานเอกอัครราชทูตอินเดีย นายไชยนันท์ แสงทอง วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา นายเอกภพ โตมรศักดิ์ นายกเทศมนตรีตำบลหัวทะเล พ.ต.อ.คเชนท์ เสตะปุตตะ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา และนางสาวจิดาภา กัลยาณี นายกสโมสรโรตารีโคราช ร่วมเปิด “OM DEVA มามูรวย”สืบศิลป์ ถิ่นฐาน วัฒนธรรมไทย-อินเดีย ประจำปี 2567 จัดถึงวันที่ 9 กันยายน
ในงานมีการเคลื่อนขบวนอันเชิญพระพิฆเนศเข้าสู่ปรัมพิธี ขบวนโปรยดอกไม้และโบกธงชาติไทย-อินเดีย ต้อนรับคณะพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีและแขกผู้มีเกียรติ โดยยุวฑูตวัฒนธรรมไทย-อินเดียจากลิตเติล คิดส์ ไทยแลนด์ การแสดงคเณศสตุตี อลาริปปุ แฟชั่นโชว์ไทย - อินเดีย จากนางแบบกิตติมาศักด์ พิธีอาราธนาอัญเชิญองค์เทพ พิธีบูชาพระพิฆเนศแบบฮินดูโบราณ และพิธีอารตีไฟ โดยคณะพราหมณ์ฮินดู พิธีสวดมนต์ แสดงดนตรีสรรเสริญองค์เทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การแสดงนาฏศิลป์ไทย-อินเดีย กิจกรรม ประกวดพระพิฆเนศโดยการออกบูธจากผู้เลื่อมใสศรัทธาพระพิฆเนศ จัดแสดงและให้ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องบูชาเกจิเมืองโคราช โดยศูนย์พระเครื่อง ตำบลหัวทะเล การประกวด “นาฎนารีฮิจราห์” ครั้งแรกของประเทศไทย ภายใต้แนวคิด แสงสว่างแห่งความเท่าเทียม
เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนาและความเชื่อ ของประเทศไทยและอินเดีย สานสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-อินเดีย กระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจการค้าภายในจังหวัด โดยมีประชาชนและนักท่องเที่ยวแต่งกายชุดไทยและชุดอินเดียสีสันสวยงามเข้าร่วมอย่างคึกคัก
นายวิจิตร รอง ผวจ.นครราชสีมา ประเทศไทยและอินเดียมีความผูกพันด้านวัฒนธรรมกันมาตั้งแต่โบราณ มีการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ และในปัจจุบัน มรดกทางวัฒนธรรมและประเพณี จากประเทศอินเดียยังคงมีอิทธิพลสำคัญต่อการดาเนินชีวิตของคนไทย ทั้งทางด้านศาสนา ภาษา วรรณกรรม และศิลปะแขนงต่าง ๆ ซึ่งการจัดงานจะเป็นครั้งแรกกับการนาเสนอศิลปวัฒนธรรมไทย-อินเดีย โดยเชื่อมโยงศาสนา และความเชื่อของคนไทยและอินเดีย รวมถึงอาหาร, การแต่งกาย, การแสดงนาฏศิลป์ ซึ่งได้รวบรวมที่สุดของวัฒนธรรมไทย-อินเดีย อย่างสมบูรณ์แบบมาอยู่ในงานครั้งนี้ รวมไปถึงในการยกระดับสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม ให้ประชาชนในจังหวัดมีรายได้ ก่อให้เกิดเม็ดเงินที่หมุนเวียนขึ้นและมุ่งหวังให้เป็นงานประจำปี ของเมืองโคราชในอนาคตต่อไป