ศูนย์สำรวจความคิดเห็น“นิด้าโพล”สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง“การเมือง เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตในปี 2567”ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-20 ธันวาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตในปี 2567 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองไทยโดยทั่วไป ในปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.65 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายเหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 28.40 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายมากขึ้น ร้อยละ 14.34 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายน้อยลง ร้อยละ 6.95 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะไม่วุ่นวายเลย  และร้อยละ 4.66 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสิน ในปี 2567 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.16 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินจะอยู่ยาวตลอดทั้งปี รองลงมา ร้อยละ 20.46 ระบุว่า รัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสินจะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 10.61 ระบุว่า จะมีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 8.40 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินจะลาออก ร้อยละ 7.86 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน จะเปิดทางให้นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ร้อยละ 6.79 ระบุว่า จะเกิดความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล และทำให้รัฐบาลล่ม ร้อยละ 4.20 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินจะโดนชุมนุมขับไล่ ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 2.14 ระบุว่า นายกเศรษฐา ทวีสินจะโดนคดีความทางการเมืองจนต้องหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 1.83 ระบุว่า รัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสิน จะโดนรัฐประหาร และร้อยละ 16.11 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทย ในปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.65 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 31.22 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 17.33 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่ลง ร้อยละ 13.66 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีเหมือนเดิม และร้อยละ 2.14 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ    

ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตโดยทั่วไปในสังคมไทย ในปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.98 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 31.76 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 18.17 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะแย่ลง ร้อยละ 16.18 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะดีเหมือนเดิม และร้อยละ 1.91 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

 เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.03 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.44 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.53 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

 ตัวอย่าง ร้อยละ 33.21 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.58 สมรส และร้อยละ 2.21 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.88 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.80 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.24 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.88 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.20 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

 ตัวอย่าง ร้อยละ 9.69 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.11 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.22 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.75 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.18 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.09 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.96 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 20.31 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.21 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.56 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.96 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.35 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.92 ไม่ระบุรายได้