ปัจจุบันมี "กลุ่มมิฉาชีพ" เข้ามาหลอกหลวงหลายรูป  มีทั้งอาจเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ แอบอ้างให้เราหลงเชื่อ และหลอกถามข้อมูลส่วนตัวของเราทางโทรศัพท์ และทางสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ แก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรหลอกให้โอนเงิน ,การหลอกให้โอนเงิน ,การหลอกให้ลงทุนทรัพย์สิน และการหลอกเราเป็นผู้ต้องหาการเปิดบัญชีให้กลุ่มจีนสีเทา และการหลอกลวงเราว่าเปิดบัตรเครดิตเป็นหนี้กับธนาคารให้เราแจ้งความผ่านระบบ

อีกทั้งการโกงทรัพทย์สินของมิฉาชีพก็มีหลายรูปแบบ โดยให้เรารับรู้ถึงผลประโยชน์เรื่องค่าตอบแทนเป็นเงินทอง สินค้า ผลตอบแทนจากการลงทุน ,เรื่องคดีความก็จะแนะนำในเรื่องการหลุดผ้นจากคดีความ ,การให้โอนเงินเพื่อตรวจสอบช่องทางการเงินที่ได้มาจากบัญชีม้า ,การกดไลน์-กดแชร์ลิงค์เว็บไซต์ปลอมที่มิฉาชีพทำขึ้น ,การเข้าไปเว็บไซต์ลงทะเบียนเกี่ยวกับการเงิน และการเสียภาษี เพื่อดูดเงินออกจากบัญชีเรา เป็นต้น

"นายประเสริฐ จันทรรวงทอง" รัฐมนตรีกว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center) มีการดำเนินการต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 4 ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการจัดการข้อมูลที่เป็นเท็จทางสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะข่าวปลอมที่สร้างความตื่นตระหนักและความเสียหายกับประชาชนและสาธารณชนในวงกว้าง ซึ่งปัจจุบันพบปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์ และรวมถึงปัญหา Call Center ที่ทันต่อเหตุการณ์ จะเร่งรัดให้ใช้เทคโนโลยีป้องกันปราบปรามหลอกลวงออนไลน์ และ Central Fraud Registry จะตรงกับแผนงานนโยบายที่ได้มอบให้กระทรวง DE ดำเนินการ โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วน มีเครือข่ายผู้ประสานงานที่เข้าร่วมร่วมตรวจสอบให้นั้น มีมากกว่า 300 หน่วยงาน ทำหน้าที่การตรวจสอบและเผยแพร่ข่าวที่ถูกต้องแก่ประชาชน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

จากสถิติของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตั้งแต่เปิดศูนย์ฯ จนถึงปัจจุบัน พบว่า คนอายุ 35-44 ปี ให้ความสนใจติดตามข่าวสารจากศูนย์ฯ มากกว่าช่วงอายุอื่นๆ เมื่อเทียบกับการติดตามของแพลตฟอร์มของศูนย์ฯ ที่มีการติดตามสูงสุดในช่องทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คนกลุ่มนี้จะมีการติดตามข่าวสารในช่องทางออนไลน์ หรือ ใช้สื่อโซเชียลในการติดต่อสื่อสาร และจะพยายามทำความเข้าใจการคัดกรองข่าวสารก่อนจะแชร์ต่อ อีกด้านของข้อมูล พบว่าคนที่แชร์ข่าวปลอมมากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 40 ปีขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากกลุ่มอายุดังกล่าวจะใช้สื่อในการติดต่อค้นหาเพื่อนเก่าๆ ครอบครัว หรือ กลุ่มลูกหลาน โดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้ ไลน์ ในการติดต่อสื่อสาร และส่งต่อข้อมูลให้กัน โดยข้อความที่ส่งต่ออาจจะยังไม่ถูกคัดกรองว่าเชื่อถือได้หรือไม่ได้ รวมถึงอาจจะยังขาดทักษะ digital literacy หรือทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้พวกเขาติดกับดักข่าวปลอมได้ง่าย

"ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุไรวรรณ ชาญชลยุทธ" อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์  สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสาร คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่จักรพงษภูวนารถ กล่าวว่า การที่เราจะไม่ถูกมิฉาชีหลอกหลวงได้ต้องมีสติและสมาธิในการควบคุมการสนทนา ไม่ควรอยู่คนเดียวและมีเพื่อนให้คำปรึกษา ถ้าไม่แน่ใจความโทรไปหน่วยงานโดยตรงเอง การกดไลน์ กดแชร์เว็บไซต์ การกดลิงค์เว็บไซต์ที่เป็นทางด้านการเงิน ควรตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อน