วันที่ 15 ก.ย.66 เมื่อเวลา 09.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ผ่านเพจ THE STANDARD มีเนื้อหาสรุปว่า การจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้เป็นเพราะความจำเป็นทางคณิตศาสตร์ โดยการเรียกความศรัทธาของพรรคเพื่อไทย หลังจากนี้ก็จะให้การทำงานของเรา ส่วนภาพที่เดินชมทำเนียบรัฐบาลร่วมกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกฯ เป็นการพูดคุยกันของผู้ใหญ่ 2 คนที่ส่งมอบงานกัน อะไรที่ดีอยู่แล้วก็จะทำต่อ เพราะตนไม่ได้ยึดที่คนยึดกับความมากกว่า
เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่าตอนนี้มีความเกรงใจหรือกลัวทหารหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ไม่ได้กลัว ที่ผ่านมาตนไม่เคยใช้คำว่าปฏิรูปกองทัพใช้คำว่าพัฒนามาโดยตลอด จุดยืนตนไม่ได้เปลี่ยน คือเรื่องทหารเข้ามาช่วยพัฒนา เช่นเรื่องภัยพิบัติ การพัฒนาพื้นที่ทำกินของประชาชน ส่วนเรื่องเกณฑ์ทหารโดยความสมัครใจ ตนไม่เคยบอกให้ยกเลิก แต่ให้เป็นการสมัครใจในการเกณฑ์ทหาร ทุกอย่างอยู่ในกรอบที่พูดคุยกัน ดูการซื้ออาวุธให้ดี ก่อนซื้ออาวุธผู้กับอย่างอื่นด้วยเช่นซื้อข้าวเราได้หรือไม่ ถึงยืนยันไม่ได้เปลี่ยนจุดยืน
เมื่อถามว่านโยบายเพื่อไทยคือป้องกันการรัฐประหาร นายเศรษฐา กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร แต่ไม่เห็นด้วยไม่ได้หมายความว่าต้องไม่พูดคุยกัน อะไรเห็นด้วยกันก็ทำกันไป ไม่มีประโยชน์ที่จะไม่พูดกันเพราะอย่างไรก็ต้องทำงานร่วมกัน ยืนยันไม่กลัวไม่เกรงใจ เราอยู่ด้วยกันอย่างผู้ใหญ่ พูดจากันด้วยเหตุผล อาจไม่เห็นตรงกันทุกเรื่องแต่เวลานี้คนประสบปัญหาเยอะ
เมื่อถามถึงการดึงบางนโยบายออกจากการแถลงต่อรัฐสภาจนถูกวิจารณ์เป็นนโยบายนินจา นายเศรษฐา กล่าวว่า การที่จะทำอะไรต้องมีความชัดเจนมีความแม่นยำ ถ้าพูดแล้วทำไม่ได้จะมีปัญหา ตัวชี้วัดต่างๆจะทยอยออกมาว่าเมื่อไหร่อย่างไร การประชุมคณะรัฐมนตรีแต่ละครั้งก็จะมีนโยบายต่างๆตามมา หลังจากนี้จะมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนกว่านี้ ยืนยันรายละเอียดของตัวเลขต่างๆที่ไม่ได้แจ้งในการแถลงนโยบายไม่ได้แปลว่าหายไป แต่เดี๋ยวจะเอาความชัดเจนออกมา การแถลงนโยบายเป็นการบอกทิศทาง เข้าใจว่าประชาชนอยากเห็นแผนทั้งหมด แต่ขอความเห็นใจ เราเพิ่งเข้ามาไม่อยากพูดอะไรที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในภายหลัง การประชุมครม.ที่ผ่านมาก็ทำให้เห็นแล้วว่าอะไรทำได้ทำไปก่อน อะไรที่ทำไม่ได้ก็อยู่ในกระบวนการอยู่
เมื่อถามย้ำว่า มีการตั้งข้อสังเกต บอกไม่รับลุงก็เปลี่ยนคำพูด ในนโยบายตอนหาเสียงให้ตัวเลขไว้ แต่พอแถลงนโยบายก็ไม่มีอีก ทำให้เกิดคำถามว่าอะไรที่เราเชื่อได้บ้างจากนายกฯ นายเศรษฐา กล่าวว่า เรื่องที่ยังไม่ได้พูดไม่ได้หมายความว่าจะไม่ทำ การประชุมครม.นัดแรกเราก็ทำให้เห็น ไม่ว่าจะเป็นดิจิทัลวอลเล็ตหรือเรื่องอื่นๆที่จะตามมาความชัดเจนจะมีมาแน่นอน
เมื่อถามถึงความชัดเจนนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต นายเศรษฐา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นนโยบายหลักของรัฐบาลมีแน่นอน 10,000 บาท แน่นอน 4 ตารางกิโลเมตร เมื่อมีการพูดคุยกันมากก็ต้องดูอีกทีจะขยับหรือไม่ ส่วนระยะเวลา 6 เดือนไม่ขยับเพราะเราต้องการให้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เรื่องงบประมาณอีก 2 สัปดาห์จะมีตัวเลขว่างบประมาณมาจากไหน ขอให้มีความชัดเจนก่อนแล้วจะชี้แจงทีหลัง บล็อกเชนแน่นอน ใช้ดาต้าของธนาคารกรุงไทยแต่ไม่ผ่านแอปเป๋าตัง ไม่ใช่คริปปโต เทรดไม่ได้ เป็นการให้ประชาชนเอาเงินไปใช้ในระยะทางที่จำกัด
เมื่อถามว่าจะเป็นการเอื้อนายทุนหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆไม่ได้มีทุกจังหวัดต้องให้หมดทุกอัน ความเสมอภาคทั่วถึงจะดีกว่า มีเงินเข้าไป 5.6 แสนล้าน สมมุติว่าเป็นวันที่ 1 ก.พ. การกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้เกิดวันนั้น แต่จะเกิดขึ้นก่อนต้องเพิ่มกำลังผลิต พอเรากำหนดวันที่ได้จะมีการออกอะไรมาอีกหลายอย่าง ขอให้ใจเย็นนิดหนึ่ง โดยภายใน 2 สัปดาห์จะชี้แจงที่มาของเงินอย่างแน่นอน เพราะจากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังจะมีงบประมาณที่เพิ่มขึ้นมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นมา 2 แสนกว่าล้าน ส่วนอื่นๆก็จะชี้แจงให้ทราบ
เมื่อถามว่าหากนโยบายดังกล่าวทำมาแล้วเกิดปัญหาจะรับผิดชอบอย่างไร นายเศรษฐา กล่าวว่า ทำไมไม่ถามบ้างว่าหากทำมาแล้วดีจะเป็นอย่างไร เรื่องนี้ทุจริตไม่มีแน่นอนเพราะให้โดยตรง หลายเรื่องทำอยู่แล้วแจกเงินให้ประชาชนอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้มีสถานที่ใช้อยู่แล้วไม่มีคอร์รัปชั่น
เมื่อถามถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีมีการตั้งคณะทำงานเพื่อทำประชามติหรือไม่เป็นการซื้อเวลาหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ไม่ใช่การซื้อเวลาแน่นอน เป็นการตั้งคณะทำงานเพื่อรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน เราทำประชามติแน่นอน ผ่านกลไกรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนประชาชนอยู่แล้ว โดยไทม์ไลน์จะเป็นอย่างไรนั้น สสร.ต้องฟังประชามติก่อน ตอนนี้เริ่ม แล้วยืนยันทำตามไทม์ไลน์ไม่ใช่การซื้อเวลา เราต้องการให้คนเห็นต่างร่วมพูดคุยว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาอย่างไร โดยสิ่งที่ไม่แก้คือหมวดพระมหากษัตริย์ชัดเจน ส่วนเรื่องอื่นก็รอฟังประชามติ ส่วนเรื่องมาตรา 112 ยืนยันไม่มีการปรับแก้ ขณะที่นักโทษทางการเมืองก็เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม