หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขายข่าวขายความจริงให้ประชาชนคนไทยได้อ่านมาอย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประเทศไทยฉบับนี้ ประจำวันพุธที่ 13กันยายน พ.ศ.2566  แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ …*…

ครบถ้วนขบวนความ ตามพิธีการขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีคลัง พร้อมทั้ง คณะรัฐมนตรี เริ่มปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไป ประสา บารอน ก็ฝากความหวังไว้กับ รัฐบาลเศรษฐา เข้ามา แก้ปัญหาเศรษฐกิจ และ ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นต้องอย่าหาทำ เป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ที่ประชาชนฝากความหวังไว้ครับ ...*...

หลายเสียงยังไม่ยอมรับ กับนโยบายมหาประชานิยม แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้กับ ประชาชนคนไทยทุกคน ตั้งแต่ อายุ 16 ปีขึ้นไป ที่มีจำนวน 56 ล้านคน ต้องใช้เงินก้อนโตมหาศาล 560,000 ล้านบาท หรือ มากกว่างบประมาณพัฒนาประเทศ เพราะ เป็นความสุ่มเสี่ยงเกินไป พลาดพลั้งขึ้นมา ถึงขั้นพาประเทศชาติล้มละลาย บวกลบคูณหารแล้ว ได้ไม่คุ้มเสีย ...*...

เงินดิจิทัล เป็นเงินในอากาศ ถูกสมมติขึ้นมา ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่ เรียกกันว่าบิตคอยน์ ใช้สอยกันในวงแคบๆ รูปแบบของค่าเงินดิจิทัล ขึ้นอยู่กับดีมานด์ซัฟพลาย ทำให้ ค่าเงินไม่เสถียร มีขึ้นมีลง ขาดความมั่นคงของค่าเงิน ขนาด ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีความเจริญก้าวหน้าในเรื่องดิจิทัลอันดับต้นๆของโลก ยังไม่กล้าใช้ดิจิทัลหยวนเลยครับ เพียงแค่ ทดลองใช้ในบางเมืองเล็กๆเท่านั้น โปรดอย่าเอาประเทศไทยไปเสี่ยงเลยครับ ...*...

การจะทำให้ค่าเงินดิจิทัลมีค่าเท่ากับเงินบาท แน่นอนครับ ต้องหาเงิน 560,000 ล้านบาทมารองรับ ปัญหาอยู่ที่ว่า รัฐจะหาเงินก้อนโตมหาศาลจากแหล่งเงินไหน เป็น เงินภาษีก็มีไม่พอ ก็ต้อง ไปขอกู้จากรัฐวิสาหกิจมาเพิ่มเติม เหมือนไปตายเอาดาบหน้า อะไร ไม่ว่า บารอน ถามว่า เอาเงินดิจิทัลมาแลกเป็นเงินบาท ถามแบงก์ชาติหรือยัง ผิดกฎหมายการเงินการคลังหรือเปล่า? ...*...

ดูเงื่อนไขการใช้เงินดิจิทัลฯ อันดับแรก ต้องภายใน 4 กิโลเมตร จากทะเบียนบ้านที่อยู่ กำหนดเวลาใช้ภายใน 6 เดือน คนในชนบทห่างไกลตัวเมือง ระยะทางระหว่างหมู่บ้านไปตัวเมือง ก็ ยาวเกินกว่า 4 กิโลเมตร เป็นเหตุให้ ไม่ได้ใช้เงินดิจิทัล เมื่อ เงินดิจิทัลเข้าสู่ระบบบล็อคเชน ซึ่ง เป็นระบบที่ติดตามตรวจสอบไม่ได้ หาก มีคนไม่ได้ใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท จำนวน 1 ล้านคน จะทำให้ มีคนหายจนทันที 10,000 ล้านบาท และ 10 ล้านคน เท่ากับ 1 แสนล้านบาท ฉลาดเกินคาดจริงๆ ...*...

แต่ที่ชัดเจนขึ้นทันที คือ นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เมื่อ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีคมนาคม ออกมายืนยัน สามารถทำได้ทันที ภายในสิ้นปีนี้ 2 สาย คือ สายสีแดง กับ สายสีม่วง เพราะ สายสีแดง เป็นของการรถไฟฯ ให้บริษัทลูกการรถไฟฯดำเนินการ อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงคมนาคมอยู่แล้ว สามารถสั่งการได้ทันที ส่วน สายสีม่วง เป็นของ รฟม. รัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงคมนาคมเช่นกัน ต่างกันกับสายสีแดงตรงที่ว่า ได้ว่าจ้างเอกชน คือ บริษัทบีอีเอ็มบริหารจัดการเดินรถ เพราะฉะนั้น รัฐจะใช้เงินอุดหนุน ในส่วนที่รายได้ขาดหายไปเท่าไหร่ ก็แค่จ่ายกระเป๋าซ้ายย้ายไปกระเป๋าขวาเอง ...*...

ส่วน รถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่เป็นสายหลักของ บีทีเอส อาจจะยุ่งยากซับซ้อนนิดหน่อย เพราะ เจ้าของสัมปทาน คือ กทม. ที่มีทั้ง ส่วนต่อขยายไป 3 มุมเมือง โดยมอบให้ บีทีเอส ได้สัมปทานวิ่ง ซึ่ง บีทีเอสเป็นผู้ลงทุนการก่อสร้าง วางราง วางระบบ รวมถึง จัดหาขบวนรถ เป็นเหมือนกล้ามเนื้อนอกบังคับของกระทรวงคมนาคม ต้องเปิดเจราจา 3 ฝ่าย แต่ บารอน ว่า การคิดราคา 20 บาทต่อสาย หรือ 20 บาทต่อสี เห็นที จะสำเร็จได้โดยง่าย มีหนทางปฏิบัติ ให้รัฐจ่ายเงินอุดหนุน หรือ จะให้ขยายสัมปทาน บีทีเอส ไม่น่ายากแล้วครับ ...*...

ยังเป็นเขตประชาธิปัตย์ห้ามแซง คือ การเลือกตั้งซ่อม สส. เขต 3 ระยอง ฮิ เมื่อ นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ผู้สมัครโนเนมของพรรคก้าวไกล  ได้คะแนนเสียงกว่า 39,000 คะแนน เอาชนะ นพ.บัญญัติ เจตนจันทร์ อดีต สส.ประชาธิปัตย์ในเขตนี้ 3 สมัย ไปอย่างขาดลอยกว่าหนึ่งหมื่นคะแนน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ...*...

“บารอน” ดูผลคะแนน 39, 296 คะแนน ของ นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว เท่ากับพรรคก้าวไกลได้คะแนนเพิ่มหนึ่งหมื่นคะแนนเศษๆ ซี่ง คะแนนส่วนที่เพิ่มขึ้นมานี้ น่าจะมาจาก คะแนนของพรรคเพื่อไทย จากการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ที่ได้หนึ่งหมื่นคะแนนเศษๆเทให้พรรคก้าวไกล ...*...

ส่วน คะแนนเสียง ที่ประชาชนชาวระยอง เขต 3 เลือกหมอบัญญัติ เจตนจันทร์ เที่ยวนี้ กว่า 26,000 คะแนน เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ถึงเกือบสองหมื่นคะแนน น่าจะมาจาก คะแนนเสียงที่เลือกพรรคพลังประชารัฐ ที่ครั้งนี้ไม่ได้ลงสนามเลือกตั้งซ่อม คนระยองแบ่งข้างแบ่งสีชัดเจน...*...

ร้องเรียนมาจาก ชาวตากใบ จังหวัดนราธิวาส ผ่าน บารอน ทวงถามไปถึง นายกฯเศรษฐา ทวีสิน และ ทั่นรัฐมนตรีสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เจ้ากระทรวงคมนาคม โครงการสร้างสะพานแม่น้ำโกลก เชื่อมชายแดนไทย-มาเลเซีย ระหว่าง อ.ตากใบ – เปิงกาลันกูโบร์ มาเลเซีย เมื่อไหร่ จะได้ฤกษ์สร้างเสียทีครับ ทั้งๆที่ เป็นโครงการผ่านมติ ครม.มาตั้งแต่ ปี 2552 และ สำรวจออกแบบเสร็จ ปี 2559 ได้ประโยชน์ทั้งความมั่นคง และ ส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวใน 3 จังหวัดชายแดนใต้...*...