เมื่อวันที่ 23 ก.ค.66 ดร.สมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กระบุว่า
#สวปกป้องสถาบันชาติศาสนาพระมหากษัตริย์
#คนไทยที่จงรักภักดีต้องอ่าน
#ปฏิรูปสถาบันหวังดีหรือประสงค์ร้าย
#เปลือยธาตุแท้:แนวทางอุดมการณ์ก้าวไกล
ตอนที่1 แก้รัฐธรรมนูญลดพระราชสถานะพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์
จากที่ผมเคยแสดงหลักฐานร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 ของพรรคก้าวไกลที่เคยเสนอเข้าสภาผู้แทนราษฎร2ครั้งว่า
เป็นการลดฐานะกฎหมายคุ้มครองพระมหากษัตริย์ในฐานะพระประมุขแห่งรัฐ เอาออกจากหมวดความผิดต่อความมั่นคง และลดโทษจนบางเบาต่ำกว่ากฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา อันเป็นที่มาส่วนหนึ่งทำให้สส.สว.ที่รู้เท่าทันจึงไม่ไว้วางใจให้นายพิธา จากพรรคก้าวไกลเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่30 แล้ว
หากยังพบความเคลื่อนไหวและการดำรงความมุ่งหมายที่กังวลยิ่งกว่า!!!
คือ ร่างเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของนายปิยะบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า คีย์แมนคนสำคัญ ปรมาจารย์ทางความคิดและอุดมการณ์การเมืองผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ คณะก้าวหน้า และผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล ที่น่าจะยังดำรงความมุ่งหมายเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด2 พระมหากษัตริย์ ที่เคยเผยแพร่ต่อสาธารณะเมื่อ2564 และอาจเตรียมยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์ในอนาคตอันใกล้
โดยนายปิยะบุตร ได้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ น่ากังวลใจอย่างยิ่ง ดังนี้
ร่างแก้ไขในมาตรา 3ให้ยกเลิกหมวด2
พระมหากษัตริย์ของรัฐธรรมนูญ2560 ตั้งแต่มาตรา6ถึงมาตรา24และใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 6 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ
ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชน ชาวไทย และทรงเป็นกลางทางการเมือง
การสืบทอดตำแหน่งพระมหากษัตริย์เป็นไปตามหลักการสืบราชสมบัติ
ทางสายโลหิตตาม ที่ กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์”
โดยผมจะค่อยๆทยอยอธิบายรายละเอียดรายมาตราให้พี่น้องประชาชนทราบ เพื่อให้เข้าใจถึงเจตนารมณ์อย่างแท้จริงว่า แนวทางอุดมการณ์ก้าวไกล ที่อ้างนั้น พวกเขาคิดแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์เพื่อส่งเสริมหรือลดพระราชสถานะพระราชอำนาจ กันแน่?
เพราะนับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ได้เทอดทูนให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองให้เป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ จะกล่าวหาหรือฟ้องร้องมิได้ เช่นระบุไว้ในมาตรา6 ของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
แต่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของนายปิยะบุตร ผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล ได้ยกเลิกความทั้งหมดทิ้งและแก้ไขให้พระมหากษัตริย์ยังทรงต้องเป็นกลางทางการเมือง น่าจะถือว่าเป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีเจตนาแฝงเร้นและส่งผลลดทอนพระราชสถานะและพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ลง
กล่าวคือ
1)อ้างว่า กำหนดพระราชสถานะประมุขของรัฐ ศูนย์รวมจิตใจ และความเป็นกลางทางการเมือง
ประเด็นนี้ไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะข้อเท็จจริงรับรู้ในสังคมไทยตั้งแต่ประวัติศาสตร์ชาติและจารีตประเพณีในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขและทรงเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของพสกนิกรชาวไทยอยู่แล้วมาตลอด
การเสนอเพิ่มเรื่องความเป็นกลางทางการเมืองนั้น เป็นหลักการพื้นฐานที่บังคับใช้ในลักษณะจารีตประเพณีในทางรัฐธรรมนูญ ไม่จำเป็นต้องเขียนไว้เป็นเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญอีกเช่นกัน การแก้ไขเช่นนี้ จึงอาจเชมีเจตนาแฝงเร้นหรือใช้เพื่อโฆษณาชวนเชื่อ ว่า ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทยและเป็นกลางทางการเมืองอย่างแท้จริงนั้น
แต่ในความเป็นจริง “สถาบันพระมหากษัตริย์ตามร่างนี้ จะเหลือเพียงแค่เป็น*สัญลักษณ์ของประเทศเท่านั้น พระราชอำนาจต่างๆที่เคยมีและรัฐธรรมนูญรับรองไว้ถูกจำกัดลงมาก และยังเป็นการนำการเมืองไปเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้น ยังจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และสภาผู้แทนราษฏรที่มาจากการเลือกตั้งได้ในอนาคต
2)รัฐธรรมนูญแก้ไขนี้เป็นการ *ลิดรอนพระราชอำนาจที่มีอยู่เดิม โดยกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดซึ่งย่อมเป็นไปไม่ได้ที่รัฐธรรมนูญจะเขียนได้ครอบคลุมทั้งหมด อีกทั้งยังต้องได้รับคำแนะนำความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีก่อนด้วย
และยังถือเป็นการยกเลิก หลักการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญ ที่ได้วางหลักและกำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้วนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 ที่มีการคุ้มครองทั้งในส่วนที่เป็นสถาบันและในส่วนพระองค์ไว้
*กระทบกับพระราชสถานะ ความคุ้มครองที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันที่ระบุไว้ในมาตรา 6 ว่า
“องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้”
สอดรับกับแนวทางการเคลื่อนไหวแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 ที่มุ่งคุ้มครองสถาบันของพรรคก้าวไกล คณะก้าวหน้าและเครือข่ายมาตลอด
3)*เปลี่ยนกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ให้เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์
ในประเด็นนี้นับว่ามีปัญหาอย่างมากเนื่องจาก กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์เป็นกฎหมายเก่าแก่ของไทยที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวข้องกับวิธีการเลือกและแต่งตั้งพระรัชทายาท ลำดับการขึ้นครองราชย์สมบัติ ซึ่งเป็นเรื่องในส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาและฉบับปัจจุบันได้ใช้ยอมรับกันมาตลอด โดยมีค่าบังคับใช้
เท่ากับรัฐธรรมนูญ ไม่เคยเกี่ยวข้องในการกำหนดรายละเอียดต้องตรา
ขึ้นเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับที่มาและอำนาจขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญหรือวิธีพิจารณาคดีอาญาของศาล
การเปลี่ยนให้กฎมณเฑียนบาลมาเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ อาจส่งผลร้ายแรงตามมา ที่ฝ่ายการเมืองจะสามารถเข้ามาแทรกแซงในการกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์และลำดับการขึ้นครองราชย์ได้อย่างง่ายดายโดยเสียงข้างมากในรัฐสภา อันส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ และถือเป็นการลดทอนพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ในเรื่องการสืบราชสมบัติหรือการสืบราชสันตติวงศ์ที่มีการใช้กฎมณเทียนบาลสืบเนื่องกันมาตลอดทุกรัชกาล
โปรดติดตามรายละเอียดในแต่ละมาตราในตอนต่อไป
ดร.สมชาย แสวงการ
สมาชิกวุฒิสภา
23กค 2566
@ ตรวจสอบหลักฐานได้จากแหล่งอ้างอิง
1)Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
สรุปสาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ข้อขำกัด และประเด็นอื่นๆ
อ่านทั้งหมด : https://progressivemovement.in.th/article/special/5069/
2) Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
อ่าน "ข้อเสนอ 5 ข้อต่อขบวนการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์" https://progressivemovement.in.th/article/5007/
3) https://www.facebook.com/PiyabutrO.../posts/3076450455972150
4) ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของนายปิยะบุตร