วันที่ 23 ก.ค.ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดเสวนา วิเคราะห์การโหวตนายกรัฐมนตรี รอบที่สาม และการจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตย  โดยนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยมีทางเลือกในการจัดตั้งรัฐบาลควรพยายามจัดตั้งประชาชนอย่างถึงที่สุดก่อน  ส่วนพรรคก้าวไกลทางเลือกที่ 1.ยืนยันเรื่องแก้ไขมาตรา 112 เป็นฝ่ายค้าน  2. มีการเปลี่ยนจากการแก้ไขมาตรา 112 เปลี่ยนเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ข้อบังคับแทน

นอกจากนี้ การจัดตั้งรัฐบาลฝ่ายที่เกี่ยวข้องในที่สุดสมาชิกวุฒิสภา (สว.)แต่ทุกฝ่ายอยากเห็นการจัดตั้งรัฐบาลที่ประชาชนยอมรับแล้วไม่เกิดปัญหาที่นำไปสู่ความขัดแย้ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ประชาชนจำนวนมากจะมีเสียงไปในทางเดียวกันว่าให้เราไปเลือกตั้งกันไปทำไม ซึ่งสิ่งนี้ไม่ควรทำให้เกิดกับความรู้สึกของประชาชน ซึ่งที่สุดแล้วก็อยู่ที่พรรคเพื่อไทยจะต้องจัดตั้งรัฐบาลที่สง่างามเพื่อให้ประชาชนยอมรับ

นายปริญญา กล่าวต่อว่า หรืออีกทางประชาชนให้การยอมรับน้อยและประชาชนต่อต้านกับรัฐบาลเสถียรภาพต่ำ ทั้งในสภาฯและนอกสภาฯ ย่อมทำให้เกิดปัญหาในประเทศอีกหลายอย่างตามมา ทั้งนี้ ต่อให้พรรคก้าวไกลเป็นฝ่ายค้านความร่วมมือกับพรรคเพื่อไทยก็ควรที่จะต้องมีต่อไปในสิ่งที่พูดคุยกันได้ ความพยายามที่จะสลายขั้วของฝั่งอำนาจหนึ่งที่จะสลายขั้วประชาธิปไตย กับพรรคเพื่อไทยดูเหมือนจะทำสำเร็จ ซึ่งพรรคเพื่อไทยก็จะต้องตระหนักไม่ให้เกิดความบาดหมางในทางการเมือง

ด้านนายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า การจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ค่อนข้างชัดเจนพอสมควรว่ามีปมปัญหาเยอะพอสมควร ปัญหาแรกคือเราได้เห็นอิทธิพลของสมาชิกวุฒิสภา (สว.)อยู่เหนือการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และหยุดยั้งการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยโดยการใช้อำนาจที่ตัวเองมีในการเลือกนายกฯ สกัดกั้นพรรคการเมืองเสียงข้างมาก ไม่ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเป็นการใช้อำนาจที่ขาดความชอบธรรมทางการเมือง ถึงแม้ว่าจะมีอำนาจก็ตาม  แต่การกระทำของสว.ดูเหมือนจะไม่สะท้อนการเป็นปวงชนชาวไทย แต่สะท้อนถึงความคิดและจิตสำนึกของกลุ่มอำนาจที่เป็นเครือข่ายของพวกพ้องตัวเองเป็นหลัก และมองข้ามอำนาจของประชาชน

นายพิชาย กล่าวต่อว่า  การจัดตั้งนายกฯเราเห็นกระบวนการการทำลายหลักนิติธรรมอย่างรุนแรง ซึ่งกระบวนการการทำลายหลักนิติธรรมอย่างรุนแรง ซึ่งการมีมติของสว.และสส.ให้ข้อบังคับอยู่ในรัฐธรรมนูญถือเป็นการทำลายหลักนิติธรรมและเสาหลักของกฎหมาย ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือถ้าเป็นสว.เพียงกลุ่มเดียวทำเช่นนั้น ตนก็ไม่ประหลาดใจ เพราะที่มาไม่ได้มีความผูกพันกับประชาชน แต่สิ่งที่ประหลาดใจคือสส. 188 คน ไปผสมโรงกับสว. ไปทำลายแหล่งกำเนิดของตนเองที่มาตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ เมื่อพรรคก้าวไกลไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ก็ส่งไม้ต่อไปให้พรรคเพื่อไทยแต่ยังต้องการรักษาเจตจำนงที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงอยู่ในการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากประชาชน 

นายพิชา กล่าวอีกว่า เหตุการณ์เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา สร้างความคลางแคลงใจให้คนจำนวนมากกับการกระทำของพรรคหนึ่งว่าต้องการอะไรกันแน่ หรือพรรคเพื่อไทยจะเป็นส่วนหนึ่งในการบดขยี้เสียงของประชาชน พรรคเพื่อไทยจะเอาเช่นนั้นหรือ จะเป็นกระบวนการเสียงส่วนหนึ่งในการบดขยี้เสียงของประชาชนใช่หรือไม่ ในสิ่งที่กระทำอยู่ สิ่งแรกที่พรรคเพื่อไทยควรทำคือการโน้มน้าวสมาชิกวุฒิสภาว่าควรจะได้กี่เสียง และจากนั้นจึงค่อยมาดำเนินการไปพูดคุยกับพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง ที่ไม่ใช่พลังประชารัฐ (พปชร.)กับพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)อาจจะเป็นพรรคภูมิไทย (ภท.)แต่พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.)และพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) เพื่อดูเสียง จึงค่อยไปดำเนินการกับพรรคการเมืองหลัง

แต่ครั้งนี้พรรคเพื่อไทยข้ามขั้นตามที่ควรจะเป็น  ไม่ใช่พรรคเพื่อไทยมาแสดงละคร เพราะมันทำให้สังคมเข้าใจและคิดไปในทิศทางเดียวกันว่าพรรคเพื่อไทย ยืมปากของทุกพรรคการเมืองเหล่านี้พูดเพื่อขับไล่พรรคก้าวไกลออกจากการร่วมรัฐบาล  ถึงแม้ว่าจะมีการปฏิเสธว่าเชิญมาเพื่อซักถาม แต่ก็เป็นการพูดที่คงไม่มีใครหากเชื่อพูดไปเขาก็จะคิดว่าเป็นการแก้ตัวที่น่ารังเกียจมากกว่า 

นายพิชาย กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ปรากฏการณ์นี้นำไปสู่ข้อสรุปความพยายามใน1-2 วันนี้ของพรรคเพื่อไทย ที่พยายามจะให้พรรคก้าวไกลออกไปจากการร่วมรัฐบาล ทั้งนี้ ตนเห็นว่าพรรคเพื่อไทยยังมีโอกาสในการแก้ตัวในเวลาที่เหลืออยู่อีก 6 วัน  ทั้งนี้ ตนเพียงแค่ชี้แนะ แต่หากไม่ทำก็ต้องรับผลการกระทำด้วยฉากทัศน์ที่เกิดขึ้น หากพรรคเพื่อไทยข้ามขั้วหลังจากที่ดูจากปฏิกิริยามวลชน อารมณ์ความรู้สึก ยิ่งมีความขุ่นมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าหากพรรคเพื่อไทยข้ามขั้วไปจริงๆจะต้องเผชิญหน้ากับแรงปฏิกิริยาโต้กลับ จากประชาชนที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยและคนที่ไม่ได้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย คือ พรรคก้าวไกล