เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.66 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “สิทธิ เสรีภาพ และกฎระเบียบในโรงเรียน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและกฎระเบียบในโรงเรียน การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเครื่องแบบนักเรียน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 80.53 ระบุว่า เพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัย รองลงมา ร้อยละ 35.65 ระบุว่า เป็นการบ่งบอกถึงสถานศึกษาของนักเรียน ร้อยละ 23.82 ระบุว่า เพื่อความปลอดภัยของนักเรียน ร้อยละ 21.76 ระบุว่า ทำให้ผู้ปกครองประหยัด ร้อยละ 20.23 ระบุว่า เป็นการป้องกันการแอบอ้างเป็นนักเรียน ร้อยละ 18.17 ระบุว่า เป็นความภาคภูมิใจของนักเรียน/ผู้ปกครอง ร้อยละ 11.53 ระบุว่า เพิ่มภาระด้านการเงินให้ผู้ปกครอง ร้อยละ 10.00 ระบุว่า ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในทุก ๆ โอกาส ร้อยละ 6.18 ระบุว่า เป็นการแบ่งชนชั้นระหว่างโรงเรียน ร้อยละ 4.73 ระบุว่า เป็นการจำกัดเสรีภาพของนักเรียน ร้อยละ 2.60 ระบุว่า ทำให้นักเรียนไม่ปลอดภัย ร้อยละ 2.29 ระบุว่า เป็นเครื่องหมายของการกดขี่/อำนาจนิยม และร้อยละ 0.15 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ    

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดยกเลิกการบังคับใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 59.47 ระบุว่า การบังคับให้ใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียนควรมีต่อไป รองลงมา ร้อยละ 20.69 ระบุว่า ในรอบสัปดาห์ควรอนุญาตให้ใส่ชุดอื่น ๆ (ชุดไปรเวต) ไปโรงเรียนได้บ้าง ร้อยละ 5.88 ระบุว่า สมควรให้นักเรียนได้มีอิสระที่จะเลือกว่าจะใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียนหรือไม่ ร้อยละ 5.04 ระบุว่า ควรให้เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียนอยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารแต่ละโรงเรียน ร้อยละ 4.50 ระบุว่า ควรให้เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียนเป็นไปตามประชามติของนักเรียนในแต่ละโรงเรียน ร้อยละ 4.27 ระบุว่า สมควรยกเลิกการใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียน และร้อยละ 0.15 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อถามถึงจำนวนวันจากผู้ที่ระบุว่าในรอบสัปดาห์ควรอนุญาตให้ใส่ชุดอื่น ๆ (ชุดไปรเวต) ไปโรงเรียนได้บ้าง (จำนวน 271 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 47.60 ระบุว่า 1 วันต่อสัปดาห์ รองลงมา ร้อยละ 37.64 ระบุว่า 2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 14.02 ระบุว่า 3 วัน ต่อสัปดาห์ และร้อยละ 0.74 ระบุว่า 4 วันต่อสัปดาห์    

 

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการเรียนวิชาด้านคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมในโรงเรียน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 72.52 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 18.24 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 5.04 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 3.59 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และร้อยละ 0.61 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อกฎระเบียบของโรงเรียน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 69.16 ระบุว่า กฎระเบียบ ของโรงเรียนมีเพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัย รองลงมา ร้อยละ 46.49 ระบุว่า กฎระเบียบของโรงเรียนมีเพื่อให้นักเรียนตระหนักในสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบ ร้อยละ 36.41 ระบุว่า สิทธิเสรีภาพของนักเรียนควรอยู่ภายใต้กฎระเบียบของโรงเรียน ร้อยละ 12.29 ระบุว่า กฎระเบียบของโรงเรียนสำคัญกว่าสิทธิเสรีภาพของนักเรียน ร้อยละ 9.31 ระบุว่า กฎระเบียบของโรงเรียนเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของนักเรียน ร้อยละ 4.05 ระบุว่า สิทธิเสรีภาพของนักเรียนสำคัญกว่ากฎระเบียบของโรงเรียน ร้อยละ 2.44 ระบุว่า กฎระเบียบของโรงเรียน เป็นเครื่องหมายของการกดขี่/อำนาจนิยม และร้อยละ 0.31 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.43 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.24 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.76 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 16.72 อายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 17.02 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.09 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 25.50 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 22.67 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.11 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.20 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.69 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 36.57 สถานภาพโสด ร้อยละ 60.61 สมรส และร้อยละ 2.82 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 24.81 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.26 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.94 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.56 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.43 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.70 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.41 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.68 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.06 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.82 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.62 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 7.71 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 23.67 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 18.63 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 30.23 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.92 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.13 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.05 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.37 ไม่ระบุรายได้