วันที่ 17 พ.ค.2566 ที่สวนสันติพร อนุสรณ์สถานพฤษภาประชาธรรม ถ.ราชดำเนิน กรุงเทพฯ ตัวแทนพรรคการเมือง และตัวแทนภาคประชาชน ร่วมรำลึก 31 ปี เหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม พร้อมด้วยการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา วางพวงมาลา และกล่าวรำลึกวีรชน
โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในฐานะว่าที่ผู้แทนของชนชาวไทย วันนี้เป็นวันครบรอบ 31 ปีที่พวกเราทุกคนได้มายืนตรงนี้ต่อหน้าอนุสรณ์สถานพฤษภาประชาธรรมที่ยืนตระหง่าน สิ่งที่มุ่งหวังไม่ใช่เพียงการรำลึกความสูญเสียทั้งชีวิตทรัพย์สิน และโอกาส จึงขอบคุณญาติที่เอาความสูญเสียมาเรียกร้องประชาธิปไตย ขอยกคำกล่าวของญาติวีรชนที่เคารพยิ่งคือ ‘อดุลย์ เขียวบริบูรณ์’ ที่บอกชัดเจนว่า ญาติวีรชนจะสูญเสียชีวิตแต่เค้าเจ็บปวด ไม่ได้ต้องการเพราะเพียงต้องการที่จะใช้ความสมบูรณ์ของร่างกายชีวิต และจิตวิญญาณพร้อมต่อสู้เรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า เรื่องนี้สะท้อนชัดเจนว่าความเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทยยังอยู่ในวังวนเคราะห์ซ้ำกรรมซัดจากการกระทำของผู้คนในชาติ เราเพียงต้องการความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงเราปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และระบบรัฐสภา เพียงแค่ใช้อำนาจปวงชนชาวไทยเพื่อปกครองโดยประชาชนเพื่อประชาชนรัฐเป็นของประชาชนเท่านั้น
"วันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมามีปรากฏการณ์ชัดแจ้งที่บ่งบอกถึงข้อเรียกร้องของความเป็นประชาธิปไตยได้ถูกปลุกฝังอยู่ในจิตสำนึกของคนไทยส่วนใหญ่พอสมควรอย่างน้อยได้เห็นความสำคัญประชาชนออกมาใช้อำนาจของตัวเองผ่านบัตรเลือกตั้ง ประกาศชัดว่าต้องการความเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นอยู่ในรัฐราชการ หรือรัฐทหาร จึงเลือกฝ่ายเสรีประชาธิปไตยอย่างท่วมท้น สะท้อนแล้วว่าประชาชนต้องการออกจากสิ่งที่เป็นอยู่ไม่ต้องการให้รัฐทหารเข้ามาเกี่ยวข้องทางการเมือง” นพ.ชลน่าน กล่าว
ด้าน ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวว่า ในวันรำลึกเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรมซึ่งเริ่มต้นจากการที่พี่น้องประชาชนรวมตัวกันเรียกร้องนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งคัดค้านนายกรัฐมนตรีที่มาจากการรัฐประหารนำมาสู่การสูญเสียครั้งใหญ่เหตุการณ์ผ่านมาแล้ว 31 ปีเรายังมีบทเรียน ยังไม่มีที่ไม่มีบทสรุป บทเรียน แรกคือการยอมรับกฎกติกาในระบอบประชาธิปไตยจะไม่นำมาซึ่งการสูญเสียวันนี้ ดังนั้นวันนี้หากสังคมไทยสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันซึ่งยืนอยู่บนพื้นฐานของหลักการประชาธิปไตยได้เราจะไม่เกิดเหตุการณ์ที่จะต้องสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อของพี่น้องประชาชน
บทเรียนที่สองหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 เห็นสังคมไทยเห็นกองทัพทหาร กลับเข้าสู่คำกองประชาชนดีใจว่าจะไม่ถูกกันแทรกแซงโดยกองทัพโดยเราไม่ได้ปฏิรูปกองทัพมาถึงวันนี้จึงเป็นบทเรียนที่มีความสำคัญกว่าการไม่ปฏิรูปกองทัพไม่ทำให้ทหารอยู่ภายใต้พลเรือนอย่างแท้จริงไม่ทำให้กองทัพออกจากบทบาทในการจัดการปัญหาความมั่นคงภายใน จึงไม่มีข้อรับประกันว่าอนาคตจะถูกแทรกแซงทางการเมืองโดยทหารอีก
นายชัยธวัช กล่าวว่า บทเรียนข้อที่สามคือเรื่องการไม่ปล่อยให้เกิดวัฒนธรรมลอยนวลผลผิด จนถึงวันนี้ยังไม่มีการตอบส่วนไต่สวนข้อเท็จจริงและนำคนที่มีบทบาทในการทำให้พี่น้องประชาชนจำนวนมากถูกปราบปรามบาดเจ็บล้มตายและสูญหาย มีแต่การออกพระราชกำหนดริทนิรโทษกรรมให้กับผู้ที่มีอำนาจรัฐและเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนทำให้เกิดสูญเสียล้มตายไม่ต้องรับผิด รายงานการสืบสวนข้อเท็จจริงที่ทำโดยกองทัพ ยังไม่ถูกเปิดเผย อย่างแท้จริง
ด้าน คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย กล่าวว่า ขอพูดในฐานะตัวแทนพรรคการเมืองและในนามส่วนตัว ในฐานะที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรมตั้งแต่วันแรก จำได้ดีขณะนั้นเป็นสองครั้งแรก 22 มี.ค. 2535 เข้าสภาไม่กี่วันเหตุการณ์เหตุการณ์ที่ประชาชน ผู้รักและหวงแหนต่อประชาธิปไตยได้แสดงออก ยืนยันที่จะไม่รับการสืบทอดอำนาจ จึงเริ่มรวมตัวหน้ารัฐสภาเรียกร้องให้นักการเมืองออกไปร่วมมีนักการเมืองน้อยแต่พรรคพลังธรรมที่ตนสังกัดอยู่ในขณะนั้นตัดสินใจออกไปช่วยประชาชนจึงพูดได้ว่าตนเองเข้าสภาฯไม่เกิน 5 วัน นอนกลางถนน ร่วมกับพี่น้องประชาชนเป็นผู้ที่ได้รับฉันทามติจากพี่น้องที่ร่วมชุมนุมให้เข้าไปเจรจากับ หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่แปลงกายเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น เพื่อให้ลาออก สิ่งที่เกิดขึ้น กงล้อประวัติศาสตร์ย่ำอยู่กับที่ และลึกกว่าเดิมเหมือนกับรถที่ติดหล่มเราต้องเร่งคันเร่งเพื่อให้ล้อหลุดจากหลุม แต่สิ่งที่ได้คือลมยิ่งลึกลงไปเรื่อยเรื่อย ปัจจุบันเร็วร้ายลงกว่าเดิม