ภายหลังการ "เลือกตั้ง" เสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 14 พ.ค.66 ที่ผ่านมา ล่าสุดได้บทสรุปที่แน่นอนแล้วว่า "พรรคก้าวไกล" เป็นพรรคการเมืองที่มีคะแนนเสียงมากเป็นอันดับ 1 โดยมายาททางการเมือง จะเปิดโอกาศให้เป็นแกนนำ "จัดตั้งรัฐบาล" ก่อน เพื่อเลือก "นายกรัฐมนตรี" คนที่ 30 ของประเทศไทย ต่อไป
ทั้งนี้ "รัฐธรรมนูญปี 2560" บัญญัติถึงการลงมติเลือกนายกฯไว้ ดังนี้ ประชาชนไม่ได้มีสิทธิในการเลือก "นายกรัฐมนตรี" โดยตรง แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" หรือ "ส.ส." จะเป็นผู้เลือกนายกฯ
อย่างไรก็ตาม ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ได้กำหนดให้การเลือกนายกฯ จะต้องใช้ระบบ "รัฐสภา" ประกอบไปด้วย ส.ส. จำนวน 500 คน และ "สมาชิกวุฒิสภา" หรือ "ส.ว." จำนวน 250 คน ซึ่ง ส.ส. ทั้ง 500 คน แบ่งเป็น ส.ส. เขต 400 คน และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 100 คน ส่วน ส.ว.อีก 250 คนเป็น ส.ว.ชุดเดิม โดยจะมีรัฐสภาทั้งหมด 750 คนที่มีสิทธิในการลงความเห็นชอบในการเลือกนายกฯ
จากนั้น ส.ส. และ ส.ว. จะเป็นผู้ลงคะแนนให้ความเห็นชอบผู้ที่จะมาเป็นนายกฯ ตามรายชื่อ "แคนดิเดต" ของแต่ละพรรคการเมืองที่เสนอเข้ามา โดยจะเป็นการลงคะแนนเสียงแบบเปิดเผย ซึ่งทางสภาจะเรียกชื่อ ส.ส.ทีละคน ตามลำดับตัวอักษร โดยจะให้สมาชิกแต่ละคนออกเสียงเป็นรายบุคคล ระบุได้เลยว่า “เห็นชอบ” หรือ “ไม่เห็นชอบ”
ทั้งนี้ แคนดิเดตที่ได้รับการ “เห็นชอบ” จะต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ หรือมากกว่า 376 เสียงขึ้นไปของสมาชิกทั้งหมด 750 คน จึงจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้