ที่ห้องแพลทตินั่ม โรงแรม แกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพฯ ฟอร์จูน เมื่อวันที่ 28 ส.ค.62 นายวาที พีระวรานุพงศ์แก ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานสัมมนา Success Case กิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพของ SMEs ด้วยระบบ Visualize ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs) เปิดเวทีเสวนา แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ จาก 15 สถานประกอบการดีเด่น ที่ใช้เทคโนโลยีติดตามการทำงานเครื่องจักร ด้วยแนวคิด “3-Stage Rocket Approach” หรือจรวด 3 ขั้น ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าการผลิตได้ปีละ 200 ล้านบาท โดยการจัดงานครั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมกับ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพของ SMEs ด้วยระบบ Visualize ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยมีผู้ประกอบการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรปราการ จ.ปทุมธานี จ.นนทบุรี และภาคตะวันออก ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 100 กิจการ เป็นวิสาหกิจขนาด เล็กจำนวน 68 กิจการ ขนาดกลาง 23 กิจการ และ ขนาดใหญ่ 9 กิจการ อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและสินค้าเกษตร กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นต้น ทั้งนี้ ในจำนวนนี้มีวิสาหกิจต้นแบบความสำเร็จดีเด่น หรือ Success case จำนวน 15 ราย ประกอบด้วย 1. บริษัท ซันเปเปอร์ แพคเกจจิ้ง 59 จำกัด 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด โกลบอล โปลีเทค 3. บริษัท เช็พเอิด จำกัด 4. บริษัท ดาต้า เพาเวอร์ จำกัด 5. บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด 6. บริษัท โปลิโฟมไฮเทคส์ จำกัด 7. บริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด 8. บริษัท พลังผัก จำกัด 9. บริษัท พีบี โลหะกิจ จำกัด 10. บริษัทโรงงานผลิตภัณฑ์โคซี่ จำกัด 11. บริษัท ลิฟเบทเทอร์ อินดัสตรีส์ จำกัด 12. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สงวนฟาร์ม 13. บริษัท สยามอินเตอร์พลาส จำกัด 14. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที เจ ซัพพลาย 15. บริษัท ดำรงศิลป์ เมทัล เวิร์ค จำกัด สำหรับโครงการนี้เกิดจากการสร้างความเชื่อมโยงในกระบวนการผลิต ผ่านการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น Internet of Things (IoT) Artificial Intelligence (AI) และ Big Data มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นรูปแบบการทำงาน พร้อมผลักดัน “3–Stage Rocket Approach” หรือ “จรวด 3 ขั้น” ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. Stage 1 : Visualize Machine คือ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลดึงข้อมูลจากสายการผลิตและเครื่องจักร เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและสร้างโอกาสในการปรับปรุง 2. Stage 2 : Visualize Craftsmanship คือ การแปลงวิธีการทำงานเป็นดิจิทัล เพื่อใช้ในการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานที่แม่นยำและหาวิธีการที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 3. Stage 3 : Lean Automation System Integrators : หรือ LASI for SMEs คือ การเลือกปรับปรุงระบบอัตโนมัติอย่างเหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่ง Machine Monitoring System เป็นเครื่องมือที่ช่วยขับเคลื่อนให้ SMEs ไทยสามารถเข้าถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ จากการดำเนินการดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ถึง 30 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 13.88 อีกทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้ถึง 187 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 86