ผู้บริหารหลักสูตร “ภูมิพลังแผ่นดิน”รุ่นที่ 5 เรียนรู้ความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยอาจารย์ผู้ทรงความรู้ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นพื้นฐานเริ่มต้น ของการศึกษาประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาติ และศึกษาโครงการในพระราชดำริ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ร่วมกันสืบสานพระราชปณิธาณบูรพกษัตริย์ไทย ศาตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ประธานกรรมการร่างหลักสูตรฯ อดีตคณบดี บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง พิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งมีความหมายสำคัญ คือการยกย่องผู้ที่เหมาะสมขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เหนือพระมหากษัตริย์ทั้งหลายในสกลชมพูทวีป พระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีความซับซ้อนและรากฐานที่ยาวนาน ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกฉียงใต้รับพิธีนี้มาจากประเทศอินเดีย เช่นจากศิลาจารึก บ่งบอกถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้แผ่อำนาจไพศาล จึงได้รับการยกย่องให้เป็นกษัตริย์ที่เหนือกว่ากษัตริย์ทั้งหลาย มีพิธีมูรทาภิเษก พิธีรดน้ำศักดิ์สิทธิ์จากแม่น้ำคงคาซึ่งไหลลงมาจากสวรรค์ ตามคติความเชื่อของศาสนาพราห์ม ในสมัยกรุงสุโขทัย ต่อเนื่องมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับต้นเรื่องมาจากอินเดีย จนมาถึงสมัยของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งพระราชพิธีจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นกัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรศรี โพวาทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายเรื่องสถาปัตยกรรมอันเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รับคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิ นำมาสู่การสร้างสถาปัตยกรรมพระราชวัง เสมือน ทิพยวิมาน หรือที่ประทับของสมมติเทพ เช่น พระที่นั่งสรรเพชรปราสาท พระราชวังโบราณ ที่มียอดปราสาทสวยงาม //ภายในสืบเนื่องความเชื่อ เหมือนพระมหากษัตริย์ประทับอยู่เหนือเขาพระสุเมร นอกจากไทยแล้วยังมีประเทศแถบเอเชียตะวันออกฉียงใต้ที่รับพระราชพิธีนี้มาจากประเทศอินเดีย คือประเทศที่ปกครองด้วยระบบกษัตริย์ คือ เมียนมาและ กัมพูชา การบรรยายครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้บริหารระดับสูงที่เข้ารับการอบรมหลักสูตร ภูมิพลังแผ่นดิน รุ่นที่ 5 ซึ่งได้รับการคัดเลือกมาจากสาขาอาชีพต่างๆทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และองค์กรอิสระ เพื่อนำความรู้จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม.