ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับ และบอกเล่าความสำคัญของพระเกี้ยว ว่าเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์อันสูงส่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเทิดทูน เพราะเป็น พิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ใช้ พระเกี้ยว วางบนเบาะสีชมพูเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ จัดขึ้นเพื่อความเป็นมหามงคล และเปิดการอบรมหลักสูตร ภูมิพลังแผ่นดิน สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 5 เป็นหนึ่งคำมั่นว่า ผู้เข้ารับการอบรม จะนำความรู้ที่ได้ไปใช้พัฒนาชาติ เพื่อความผาสุก และสืบสานพระราชปณิธาณบูรพกษัตริย์ไทย ให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร ภูมิพลังแผ่นดิน รุ่นที่ 5 ได้มีโอกาสศึกษาภายใต้พระนาม จุฬาลงกรณ์ เมื่อได้ร่ำเรียนในหลักสูตรดังกล่าวแล้ว จะนำความรู้ไปใช้พัฒนาชาติ ร่วมกันธำรงไว้ซึ่งความผาสุก และสืบสานพระราชปณิธานของบูรพกษัตริย์ไทย ให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง หลักสูตร ภูมิพลังแผ่นดิน รุ่นที่ 5 ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้เท่าทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่นเดียวกับการศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีความเปลี่ยนแปลง ทั้งความมีอิสระทางความคิด จึงต้องเปิดโอกาสให้ และสนับสนุนคนแต่ละรุ่นให้มีโอกาสเรียนรู้ ทดลอง และให้ความสำคัญกับ innovation หรือนวัตกรรม ที่ช่วยเชื่อมโยงกับสังคมเป็น บทบาทของมหาวิทยาลัยในโลกที่ต้องมี และภูมิพลังแผ่นดินจะได้เติมเต็มสิ่งเหล่านี้ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง อดีตประธานชมรมภูมิพลังแผ่นดิน คาดหวังให้ผู้รับการอบรมหลักสูตร ภูมิพลังแผ่นดิน เป็นเครือข่ายผลักดันให้ประชาชนเห็นความสำคัญของชาติ ศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ อันนำไปสู่ การอยู่ดีมีสุขของประชาชน โดยทุกภาคส่วนของประชาชน ทั้งนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ประชาสังคม ล้วนมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ช่วยผลักดันให้ประชาชนเรียนรู้การอยู่ดีมีสุขได้ ช่วยเป็นเครือข่าย และพันธมิตรให้จุฬาฯ สำหรับผู้บริหารระดับสูงที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน​ รุ่นที่5 มีจำนวน 64 คน ได้รับการคัดเลือกมาจาก สาขาอาชีพทั้งภาค​รัฐ​ รัฐวิสาหกิจ​ เอกชน​ และองค์กร​อิสระ โดยใช้ระยะเวลาอบรม 5 เดือน ตั้งแต่ 3 กรกฎาคม - 3 ธันวาคม 2562.