สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมเนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก ปี 2562 บ้านปลอดบุหรี่ "พ่อจ๋า บุหรี่ทำร้ายครอบครัวเรา" พร้อมรณรงค์โครงการบ้านปลอดบุหรี่ มูลนิธิเพื่อนหญิง ร่วมกับ เครือข่ายสตรีชวน ช่วยเลิกบุหรี่ เขตบางขุนเทียน มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และภาคีเครือข่าย สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมรณรงค์บ้านปลอดบุหรี่ “พ่อจ๋า บุหรี่ทำร้ายครอบครัวเรา” เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 25362 “ครอบครัว เรารักปอด ชวน ช่วย เลิกบุหรี่ ประจำปี 2562 โดยเดินรณรงค์จากหน้าลานห้างสรรพสินค้าโลตัส พระราม 2 บางขุนเทียน ไปยังโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช บางขุนเทียน เพื่อรณรงค์ ลด ละเลิก การสูบบุหรี่ให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป รวมถึงรณรงค์โครงการบ้านปลอดบุหรี่  บรรยากาศเวทีเสวนา สำหรับสถานการณ์ความรุนแรงต่อสตรี เยาวชน เด็ก และครอบครัว ที่ต้องเผชิญกับการสูบบุหรี่หรือยาสูบ ทั้งในรูปแบบของการเป็นผู้สูบนักสูบมือ 1 ผู้ไม่ได้สูบโดยตรงแต่สูดหรือสัมผัสกับ ควันบุหรี่ เข้าไปในร่างกาย ถือเป็นนักสูบมือ 2 และมือ 3 ขณะเดียวกัน จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2557 พบว่า หญิงไทยจำนวนมาก มีความรู้ไม่มากพอเรื่องอันตรายของการสูบบุหรี่ต่อคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ โดยจากคำถามถึงการรู้ว่า บุหรี่เป็นสาเหตุของมารดาคลลอดทารกก่อนกำหนด 28 – 34 สัปดาห์ พบว่ามีคุณแม่ที่ไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 54.3 รู้ว่ามีอันตราย ส่วนคุณแม่ที่สูบบุหรี่มีเพียงร้อยละ 39.5 เท่านั้นที่รู้ว่าการสูบบุหรี่อันตรายต่อทารกในครรภ์ ส่วนการได้รับควันบุหรี่มือสองในประเทศไทย พบว่า มีผู้หญิงประมาณ 8.46 ล้านคน ผู้ชายประมาณ 3.11 ล้านคน ที่รับควันบุหรี่มือสองจากในบ้าน และมีผู้หญิงได้รับควันบุหรี่มือสองในที่ทำงาน มากถึง 1.3 ล้านคน ผู้ชาย 1.4 ล้านคน มูลนิธิเพื่อนหญิง พร้อมภาคีเครือข่ายได้ยื่นข้อเสนอต่อ นายสุนทร สุนทรชาติ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร บัณฑิต แป้นวิเศษ นายบัณฑิต แป้นวิเศษ หัวหน้าขับเคลื่อนโยบายด้านสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง เปิดเผยว่า มูลนิธิเพื่อนหญิง และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. เพื่อดำเนินงานโครงการบ้านปลอดบุหรี่ ภาคกลาง พื้นที่นำร่องเขตบางขุนเทียน กทม. มีจุดเน้นเรื่องการพัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำแม่หญิง ขยายผลชวนพ่อบ้าน และครอบครัวที่ต้องการเลิกบุหรี่ มาเข้าร่วมการทำกลุ่มสนับสนุน ใน 6 ชุมชน จำนวนผู้เข้าร่วม 60 ครอบครัว มีผู้ชายที่สามารถเลิกบุหรี่ได้ 30 คน อีก 30 คน อยู่ระหว่างการทดลองเลิกบุหรี่ ทั้งนี้ ร้อยละ 90 มีสาเหตุการเริ่มสูบบุหรี่ มาจากพฤติกรรมสูบตามเพื่อน อีกทั้งต้องการยอมรับจากกลุ่ม เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้ชายที่สูบบุหรี่จะเริ่มเมื่ออายุ 14 -16 ปี มีเพียงร้อยละ 5 ที่หัดสูบเอง ส่วนอีกร้อยละ 5 สูบเพราะความเครียด ส่วนการอยากเลิกสูบบุหรี่ และการเลิกสูบบุหรี่ได้นั้น มาจากมีอาการเจ็บหน้าอก ไอติดขัดเวลานอน มีเสมหะข้น ไปหาหมอตรวจร่างกาย มีโอกาสเป็นถุงลมโป่งพอง เป็นมะเร็ง จึงต้องเลิกสูบบุหรี่ จิระวัฒน์ อยู่สบาย ขณะที่ นายจิระวัฒน์ อยู่สบาย หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและบังคับใช้กฎหมาย สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการเสวนาเรื่อง “บทบาทหน่วยงานรัฐ เอกชน ครอบครัว ชุมชน และสังคม กับความร่วมมือกระบวนการเสริมสร้างการเลิกบุหรี่เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ถึงบทบาทของภาครัฐ ว่า นโยบายการเลิกบุหรี่เป็นนโยบายสำคัญในการควบคุมยาสูบของประเทศไทย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ขณะนี้ได้บรรจุเรื่องการช่วยเลิกบุหรี่ เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ทั้งเรื่องการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกทุกระดับเพื่อผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญ การลดนักสูบหน้าใหม่ การช่วยเลิกบุหรี่ผ่านกระบวนการต่างๆ การจัดให้มีการบริการเลิกบุหรี่ ทั้งการตั้งรับ ผ่านคลินิกฟ้าใส ส่วนในเชิงรุก ขับเคลื่อนผ่าน อสม. และสุดท้ายคือการขับเคลื่อนผ่านพื้นที่ โดยกำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่กว้างขึ้น เหล่านี้เป็นปัจจัยทางอ้อมให้คนสูบบุหรี่น้อยลงเพราะพื้นที่ไม่อำนวย ส่วนการบังคับใช้กฎหมายนั้น นายจิระวัฒน์ ระบุว่า เป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ทำให้การควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบประสบความสำเร็จ เพราะได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างดี การสูบบุหรี่เป็นเรื่องที่ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายมาเป็นยาแรงสำคัญ เพราะเรื่องการสูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบ การสร้างสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่ การทำให้นักสูบหน้าใหม่ลดลง ล้วนแต่เป็นมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ได้ตอบโจทย์ทุกวิธีการที่เป็นช่องทางการเข้าถึง มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง มาตรการป้องกันการสื่อสารการตลาด มาตรการกฎหมายเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ ซึ่งทุกมาตรการเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่ทำให้กฎหมายบังคับใช้ได้จริง” นายจิระวัฒน์ กล่าว นอกจากนี้ มูลนิธิเพื่อนหญิง พร้อมภาคีเครือข่ายได้ยื่นข้อเสนอต่อ นายสุนทร สุนทรชาติ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะตัวแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2562 โดยมีข้อเสนอดังนี้ 1.ขอให้ผู้ว่าฯกทม. ฝ่ายสิ่งแวดล้อม ฝ่ายอาชีวอนามัย ศูนย์สาธารสุข ได้สนับสนุนกิจกรรม และจัดสรรงบประมาณ ให้กับชุมชน หรือแกนนำสตรี หรือกลุ่มพ่อบ้านชวน ช่วย พ่อบ้านเลิกสูบบุหรี่ในบ้าน โดยการจัดให้ความรู้ เสริมทักษะการ ลด ละ เลิกบุหรี่ ในบ้าน และทำให้ชุมชน โรงเรียน หรือเขตสถานที่ทำงานของภาครัฐ เป็นเขตปลอดบุหรี่ที่แท้จริง 2.ขอให้ ผู้ว่าฯ กทม. ได้กำชับหน่วยงานตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ ให้มีการตรวจตรา บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามร้านค้าแบ่งขาย หรือขายบุหรี่ให้กับเด็ก เยาวชนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี การกำชับตรวจสอบพื้นที่ปลอดบุหรี่ในหน่วยงาน หรือชุมชน 3.ขอให้ผู้ว่าฯ กทม. สนับสนุนให้มีการส่งเสริมคิดค้น นวัตกรรมใหม่ ที่ชาวบ้าน โรงเรียน หรือหน่วยงาน พัฒนาขึ้นมาใหม่ในการเป็นเครื่องมือตัวช่วย เลิกบุหรี่ ได้มีกิจกรรม และงบประมาณต่อยอด กิจกรรม โครงการที่ทำในเรื่องนี้ เช่น การพัฒนาส่งเสริมปราชญ์ชาวบ้าน กับยาสมุนไพร ช่วยเลิกบุหรี่ เป็นต้น