คนไทยเสี่ยงสูงโลหะหนักปนเปื้อนเข้าร่างกาย ทั้งจากมลพิษ ฝุ่นและเขม่าควัน และการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้สารเคมีหรือวัตถุดิบที่มีโลหะหนักในขั้นตอนการผลิต N Health แนะตรวจหาโลหะหนักในร่างกาย ลดความเสี่ยงและป้องกันการได้รับสารพิษจากโลหะหนักที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ปัญหามลภาวะมลพิษในอากาศทั้งฝุ่นและเขม่าควันในปัจจุบัน ตลอดจนการปนเปื้อนของสารพิษในอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง ของเล่นเด็ก และของใช้ต่างๆภายในบ้าน ล้วนแต่มีโอกาสทำให้ร่างกายได้รับสารโลหะหนักจากวัตถุดิบหรือกระบวนการผลิต ตลอดจนภาชนะบรรจุ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ดร. ภูวดล ธรรมราษฎร์ ผู้จัดการอาวุโส ห้องปฏิบัติการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ จำกัด (N Health) เปิดเผยว่า นอกจากนี้ผู้ที่ทำงานในสถานที่ที่มีการใช้สารเคมีหรือวัตถุดิบที่ประกอบด้วยโลหะหนัก โดยเฉพาะ โรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ โรงงานผลิตสี โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โรงงานถลุงแร่ และโรงกลั่นน้ำมัน ล้วนเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงในการได้รับพิษจากโลหะหนักในปริมาณสูงเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งพนักงานที่ทำงานเหล่านี้ จำเป็นต้องได้รับการตรวจวัดระดับโลหะหนักในร่างกายเป็นประจำเพื่อประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสและวางแผนการดูแลสุขภาพ สำหรับ "สารโลหะหนัก" หมายถึง โลหะที่เป็นพิษ โดยชนิดของโลหะหนักที่พบได้บ่อยในร่างกาย ได้แก่ ตะกั่ว (Pb), ปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), แมงกานีส (Mn), โครเมียม (Cr), โคบอลต์ (Co), นิกเกิล (Ni), สารหนู (As) และอลูมิเนียม (Al) การที่มีโลหะหนักในร่างกายจะส่งผลให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับพิษจากโลหะชนิดนั้นๆ ทั้งพิษแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย และอาจทำให้เราเจ็บป่วยหรือเป็นโรคบางอย่างได้ ขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณ และระยะเวลาที่ได้รับเข้าไป ทั้งนี้การตรวจวัดจะใช้เทคโนโลยีการตรวจที่เรียกว่า Inductively Coupled Plasma-Mass Spectrometry หรือ ICP-MS ซึ่งสามารถตรวจวัดปริมาณโลหะหนักชนิดต่างๆ ได้พร้อมกันทั้ง 9 ชนิด ภายใต้การตรวจวิเคราะห์เพียง 1 ครั้ง ซึ่งทำให้ได้ผลการตรวจที่รวดเร็ว และใช้ตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์น้อย ซึ่งจุดเด่นของเครื่องมือดังกล่าว คือ ให้ผลการวิเคราะห์ที่มี่ความน่าเชื่อถือสูง “การตรวจวัดปริมาณโลหะหนักในร่างกายมีจุดประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงว่าเรามีโลหะหนักชนิดนั้นๆ อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการวางแผนการดูแลสุขภาพระยะยาวได้ ถ้าเราอยากทราบปริมาณโลหะหนักในร่างกายสามารถเจาะเลือดหรือเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการพิเศษได้” ดร. ภูวดล กล่าว ในภาวะปัจจุบันที่ประเทศไทยกำลังเกิดปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศอย่างรุนแรง ประชาชนควรระมัดระวังเรื่องการได้รับโลหะหนักเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งมีวิธีป้องกันง่ายๆ คือสวมหน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่นอย่างถูกวิธีเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่มลภาวะ นอกจากนี้หากต้องการทราบว่ามีโลหะหนักสะสมในร่างกายมากน้อยแค่ไหน สามารถติดต่อแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจและการแปลผล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประเมินภาวะสุขภาพในปัจจุบันและวางแผนการดูแลสุขภาพในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ห้องปฏิบัติการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยของ N Health ให้บริการตรวจวัดระดับโลหะในเลือดและปัสสาวะด้วยเทคนิค Inductively Coupled Plasma-Mass Spectrometry (ICP-MS) ซึ่งให้ผลการวิเคราะห์ที่มี่ความน่าเชื่อถือสูง นอกจากนี้ยังมีการรายงานผลในรูปแบบ “กราฟฟิกรีพอร์ตและการแปลผลเบื้องต้น” เพื่อช่วยให้สามารถทำความเข้าใจกับผลการตรวจวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.02-7624-000 หรือ Email : [email protected] และ @Nhealth