การพาณิชย์อิเลกโทรนิคส์หรืออี-คอมเมิร์ซ (E-commerce) และการจับจ่ายซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากการใช้อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือขยายตัวมากขึ้น รวมถึงศักยภาพของระบบการชำระเงินออนไลน์และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ขณะเดียวกันการแข่งขันในตลาดอี-คอมเมิร์ซของไทยที่ดุเดือด ยังช่วยเพิ่มความสะดวกและส่งเสริมความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่จะจับจ่ายซื้อสินค้าออนไลน์ โดยคาดว่าเม็ดเงินในตลาดอี-คอมเมิร์ซของไทยจะพุ่งขึ้นถึงระดับ 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2565 การขยายตัวของตลาดอี-คอมเมิร์ซยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) เนื่องจากธุรกิจขนาดเล็กนั้นสามารถใช้ประโยน์จากแพลทฟอร์มอี-คอมเมิร์ซเพื่อเข้าถึงลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ทั้งลูกค้าและเจ้าของธุรกิจทุกมุมโลกยังสามารถทำการซื้อขายได้ง่ายขึ้น คุ้มค่ามากขึ้น และรวดเร็วกว่าเดิม2 หรืออีกความหมายก็คือ ธุรกิจขนาดเล็กกว่าสามารถรุกตลาดระดับโลกที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยอี-คอมเมิร์ซและเศรษฐกิจดิจิทัล สร้างโอกาสสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่จะทำการค้าข้ามเขตแดน (cross-border) ได้ จีน่า แกลวิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย กล่าวว่า “ภาคธุรกิจเอสเอ็มอีคือพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 3 ล้านรายหรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 99% ของธุรกิจทั้งหมดของไทย3 สร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มากกว่า 36% และมีการว่าจ้างงานกว่า 10 ล้านคน 4เพื่อให้เศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งรวมถึงธุรกิจเอสเอ็มอีและอี-คอมเมิร์ซที่กำลังขยายตัว เติบโตได้มากยิ่งขึ้น เราต้องสนับสนุนเอสเอ็มอีให้มุ่งพัฒนาธุรกิจ และก้าวสู่ผู้ประกอบการระดับโลกด้วยการรุกธุรกิจการค้าข้ามเขตแดน” อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการแข่งขันระดับภูมิภาคและระดับโลก สาเหตุหลักคือการขาดความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเพื่อเพิ่มผลิตผล ประสิทธิภาพ และศักยภาพรองรับการเติบโต ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมองว่าการค้าอี-คอมเมิร์ซข้ามเขตแดนนำมาซึ่งปัญหาการดำเนินการด้านพิธีการศุลกากรและอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งการจัดการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้า5 การขาดความเชี่ยวชาญด้านกฎระเบียบการจัดการการขนส่งระหว่างประเทศเป็นอุปสรรคที่ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่สามารถขยายธุรกิจให้เติบโตในต่างประเทศได้ ขณะเดียวกัน พิธีการศุลกากรที่ล้าสมัย ยุ่งยาก ซับซ้อน และมีต้นทุนสูงทำให้ผู้ประกอบการเผชิญกับความยากลำบากในการแข่งขันเนื่องจากปัญหาเหล่านั้นทำให้การขนส่งล่าช้าและเพิ่มต้นทุนการทำธุรกรรม ดังนั้น เราจึงต้องเร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้รับมือกับความท้าทายเหล่านี้ โดยปัจจัยหลัก 4 ประการที่กำลังขับเคลื่อนการค้าทั่วโลกได้แก่การเติบโตของอี-คอมเมิร์ซ โลกาภิวัตน์ด้านการค้า ซัพพลายเชนที่รวดเร็วยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตลอดจนธุรกิจเทคโนโลยีขั้นสูงและสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง “ที่เฟดเอ็กซ์ เราคิดค้นนวัตกรรมและนำเสนอโซลูชั่นส์ด้านการขนส่งที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีดำเนินการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการค้าข้ามเขตแดนของเอสเอ็มอี เช่น FedEx Electronic Trade Documents (ETD) วยสร้างระบบเอกสารอัตโนมัติสำหรับพิธีการศุลกากร FedEx Web Services คือการสนับสนุนการขนส่งระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับความต้องการทางธุรกิจทำให้การขนส่งไปยังปลายทางระหว่างประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น และผู้ประกอบการยังสามารถเลือกวิธีการขนส่งได้หลากหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับธุรกิจของพวกเขา ตั้งแต่ FedEx International Priority ไปจนถึง FedEx International Economy นอกจากนี้ FedEx Cross Border ยังมีการแนะนำและการบริการด้านกระบวนการชำระเงินที่ปลอดภัยและการตั้งราคาแบบหลายสกุลเงินด้วยการใช้กลยุทธ์ซัพพลายเชนดิจิทัลที่มุ่งช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นและมีประสิทธิภาพในตลาดระดับโลก” จีน่า แกลวิน กล่าวเสริม เฟดเอ็กซ์ช่วยตอบโจทย์ความท้าทายเหล่านี้ เพื่อให้ขั้นตอนกระบวนการค้าออนไลน์และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความสะดวกง่ายดายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บริการเหล่านี้มีเป้าหมายช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นและทำให้เกิดความสะดวกสบายที่สุด พร้อมกับประหยัดเวลาและเงินทุน เพื่อเพิ่มความสามารถในการสร้างผลกำไรในอนาคต