รมว.ยุติธรรม ลงพื้นที่อำเภอมายอ หนุนใช้ฮูกุมปากัตสู้ปัญหาพืชกระท่อม พร้อมประกาศมายอเป็นพื้นที่ต้นแบบ 120 วัน วาระพืชกระท่อมในทางที่ผิด

ผู้สื่อข่าวรายงานวันที่ 14 มิถุนายน 2568 ว่า พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยนางสาวอารีภักดิ์ เงินบำรุง รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พันตำรวจโท นริช สอนดิษฐ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ส. ภาค 9 และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ติดตามและตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการใช้พืชกระท่อมในทางที่ผิด ณ บ้านกอแล หมู่ที่ 1 ตำบลลางา อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

การลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในจังหวัดชายแดนภาคใต้แบบบูรณาการทุกมิติ พ.ศ. 2568–2570 โดยเน้นให้ความสำคัญกับบทบาทของชุมชนในการเป็นเจ้าของปัญหา และมีส่วนร่วมในการออกแบบแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

 

หนึ่งในแนวทางสำคัญที่อำเภอมายอนำมาใช้ คือการบังคับใช้ "ฮูกุมปากัต" หรือ ธรรมนูญชุมชน ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันของคนในหมู่บ้านในการควบคุมพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสังคม โดยเฉพาะการใช้และจำหน่ายพืชกระท่อมในทางที่ไม่เหมาะสม

จากเดิมที่เคยมีการขายพืชกระท่อมและน้ำกระท่อมผสมสารอื่นริมทางในพื้นที่ ปัจจุบันสถานการณ์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หลังจากผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ร่วมกันดำเนินการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจ และเจรจาพูดคุยกับผู้ค้าอย่างสันติ ส่งผลให้ผู้จำหน่ายพืชกระท่อมลดลงอย่างมาก และไม่มีการวางขายอย่างเปิดเผยอีกต่อไป

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวชื่นชมความสำเร็จของชุมชนที่สามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะการนำหลักศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชุมชน พร้อมย้ำว่า การแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ศาสนา ท้องถิ่น และประชาชน

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีฯ ยังได้ประกาศให้อำเภอมายอเป็น "พื้นที่ต้นแบบ" ของปฏิบัติการ 120 วัน วาระพืชกระท่อมในทางที่ผิด เพื่อเป็นโมเดลในการถอดบทเรียนและขยายผลสู่พื้นที่อื่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะยังคงสนับสนุนการดำเนินงานของชุมชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งเสริมแนวทางที่ให้ความสำคัญกับพลังของชุมชนในการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดอย่างแท้จริง

นายพิสิษฐ์ มีบุญ ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานความมั่นคง เปิดเผยว่า ผมได้มาเจอปัญหาหลากหลายในพื้นที่ทั้งปัญหาหารุกล้ำพื้นที่สาธารณ ร่วมถึงปัญหาตลาดพืชกระท่อมซึ่งมีอยู่เป้นจำนวนมาก ปัญหาเรื่องยาเสพติด โดยชาวบ้านก็ได้ตั้งคำถามว่าจะหาแนวทางการแก้อย่างไร การแก้ปัญหาเริ่มต้นได้มีการประชุมสภาสันติสุข แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ได้ จึงได้หยิบธรรมนูญ 9ดี หรือฮูกุมปากัส นำใช้ในการขับเคลื่อนปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีตน และผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนาและชุมชน  ที่จะก้ามไปพร้อมๆกันในการแก้ไขปัญหา

สำหรับการรุกล้ำพื้นที่สาธารณในการค้าขายใบกระท่อมแต่ก็ไม่แน่ใจมีการแอบแฝงกานน้ำกระท่อมที่ผสมหรือเปล่า เพราะคนที่ไปซื้อก็มีการมึนเมา ถึงเวลาก็มากินอีก กอนซ้ำๆอยู่ทุกวัน จนพ่อแม่ต่างออกมาบอกว่าช่วยกันแก่ปัญหานี้หน่อยให้หมดจากหมู่บ้าน ตนจึงร่วมมือกับทุกภาพส่วนเพื่อเข้าไปเจรจา โดยเข้าไปทุกๆวัน กระทั้งวันหนึ่งผู้ขายให้ความร่วมมือ จนไม่มีให้เห็นในพื้นที่ จากนั้นทำให้หมู่บ้านเข้าสู้ความยั่งยืน ตนจึงได้จัดทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านเฝ้าระวังพื้นที่ ร่วมถึงขึ้นป้ายรณรงค์ต้านพืชกระท่อมและน้ำกระท่อมในพื้นที่ จนประสบความสำเร็จ

นายมะดิง ตาเฮ ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 ต.ลางา อ.มายอ เปิดเผยว่า เราเริ่มทั้งตำบลลางา โดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะโต๊ะอีกมานให้มีการบรรยาเรื่องต้านพืชกระท่อมและยาเสพติดทุกประเภทในช่วงของละหมาดวันศุกร์ที่มีประชาชนไปประกอบศาสนกิจปกติ พืชกระท่อมได้มีการปลดล็อกเราก็ไม่สามารถเอาผิดได้ เราก็เลยใช้กฎ ฮูกุมปากัส 9 ข้อ (ธรรมนูญหมู่บ้าน9ดี) นำมาใช้ เพราะเราต้องการใช้แบบสันติวิธี โดยเข้าไปพูดคุยกับกลุ่มพ่อค้า หรือกลุ่มที่กินน้ำกระท่อม โดยชีแจ้งให้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ตอนนี้ในหมู่บ้านเริ่มไม่มีแล้ว มีเพียงไม่กี่คนที่เรากำลังดูแล และพูดคุยให้เขาหยุด สำหรับกลุ่มไว่รุนก็ไม่มีการต่อต้านอะไร เช่นเดียวกับชาวบ้านต่างช่วยกันทุกคน เพราะเขายืนยันแล้วว่าไม่เอาใบกระท่อม

สำหรับแรงจูงใจที่เรามาพลักดันเรื่องนี้ เพราะเราไม่อยากให้คนเยาวชนในชุมชน หรือคนในครอบครัวมาติดยา  ตนเห็นแล้วสงสาร ตนจึงได้ประชุมสภาสันติสุขและทุกภาคส่วนหารือร่วมกันในการแก่ไขปัญหา ส่วนตัวก็อยากให้พืชกระทบผิดกฏหมายเหมือนเดิม เพราะถ้าผิดพืชกระท่อมจะไม่ขยายมากกว่านี้ ก็ขอให้รับช่วยสนับสนุนกลุ่มเยาวชนที่เลิกได้แล้วให้พวกเขามีงานทำ เพราะกังวลว่าถ้าทุกคนไม่มีงานทำก็อาจจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมปาเรซ,อามีน/ปัตตานี

140668ปัตตานีรมว.ยุติธรรม ลงพื้นที่อำเภอมายอ หนุนใช้ฮูกุมปากัตสู้ปัญหาพืชกระท่อม พร้อมประกาศมายอเป็นพื้นที่ต้นแบบ 120 วัน วาระพืชกระท่อมในทางที่ผิด

ผู้สื่อข่าวรายงานวันที่ 14 มิถุนายน 2568 ว่า พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยนางสาวอารีภักดิ์ เงินบำรุง รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พันตำรวจโท นริช สอนดิษฐ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ส. ภาค 9 และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ติดตามและตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการใช้พืชกระท่อมในทางที่ผิด ณ บ้านกอแล หมู่ที่ 1 ตำบลลางา อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

การลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในจังหวัดชายแดนภาคใต้แบบบูรณาการทุกมิติ พ.ศ. 2568–2570 โดยเน้นให้ความสำคัญกับบทบาทของชุมชนในการเป็นเจ้าของปัญหา และมีส่วนร่วมในการออกแบบแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

หนึ่งในแนวทางสำคัญที่อำเภอมายอนำมาใช้ คือการบังคับใช้ "ฮูกุมปากัต" หรือ ธรรมนูญชุมชน ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันของคนในหมู่บ้านในการควบคุมพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสังคม โดยเฉพาะการใช้และจำหน่ายพืชกระท่อมในทางที่ไม่เหมาะสม

 

จากเดิมที่เคยมีการขายพืชกระท่อมและน้ำกระท่อมผสมสารอื่นริมทางในพื้นที่ ปัจจุบันสถานการณ์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หลังจากผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ร่วมกันดำเนินการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจ และเจรจาพูดคุยกับผู้ค้าอย่างสันติ ส่งผลให้ผู้จำหน่ายพืชกระท่อมลดลงอย่างมาก และไม่มีการวางขายอย่างเปิดเผยอีกต่อไป

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวชื่นชมความสำเร็จของชุมชนที่สามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะการนำหลักศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชุมชน พร้อมย้ำว่า การแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ศาสนา ท้องถิ่น และประชาชน

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีฯ ยังได้ประกาศให้อำเภอมายอเป็น "พื้นที่ต้นแบบ" ของปฏิบัติการ 120 วัน วาระพืชกระท่อมในทางที่ผิด เพื่อเป็นโมเดลในการถอดบทเรียนและขยายผลสู่พื้นที่อื่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะยังคงสนับสนุนการดำเนินงานของชุมชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งเสริมแนวทางที่ให้ความสำคัญกับพลังของชุมชนในการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดอย่างแท้จริง

นายพิสิษฐ์ มีบุญ ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานความมั่นคง เปิดเผยว่า ผมได้มาเจอปัญหาหลากหลายในพื้นที่ทั้งปัญหาหารุกล้ำพื้นที่สาธารณ ร่วมถึงปัญหาตลาดพืชกระท่อมซึ่งมีอยู่เป้นจำนวนมาก ปัญหาเรื่องยาเสพติด โดยชาวบ้านก็ได้ตั้งคำถามว่าจะหาแนวทางการแก้อย่างไร การแก้ปัญหาเริ่มต้นได้มีการประชุมสภาสันติสุข แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ได้ จึงได้หยิบธรรมนูญ 9ดี หรือฮูกุมปากัส นำใช้ในการขับเคลื่อนปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีตน และผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนาและชุมชน  ที่จะก้ามไปพร้อมๆกันในการแก้ไขปัญหา

สำหรับการรุกล้ำพื้นที่สาธารณในการค้าขายใบกระท่อมแต่ก็ไม่แน่ใจมีการแอบแฝงกานน้ำกระท่อมที่ผสมหรือเปล่า เพราะคนที่ไปซื้อก็มีการมึนเมา ถึงเวลาก็มากินอีก กอนซ้ำๆอยู่ทุกวัน จนพ่อแม่ต่างออกมาบอกว่าช่วยกันแก่ปัญหานี้หน่อยให้หมดจากหมู่บ้าน ตนจึงร่วมมือกับทุกภาพส่วนเพื่อเข้าไปเจรจา โดยเข้าไปทุกๆวัน กระทั้งวันหนึ่งผู้ขายให้ความร่วมมือ จนไม่มีให้เห็นในพื้นที่ จากนั้นทำให้หมู่บ้านเข้าสู้ความยั่งยืน ตนจึงได้จัดทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านเฝ้าระวังพื้นที่ ร่วมถึงขึ้นป้ายรณรงค์ต้านพืชกระท่อมและน้ำกระท่อมในพื้นที่ จนประสบความสำเร็จ

นายมะดิง ตาเฮ ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 ต.ลางา อ.มายอ เปิดเผยว่า เราเริ่มทั้งตำบลลางา โดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะโต๊ะอีกมานให้มีการบรรยาเรื่องต้านพืชกระท่อมและยาเสพติดทุกประเภทในช่วงของละหมาดวันศุกร์ที่มีประชาชนไปประกอบศาสนกิจปกติ พืชกระท่อมได้มีการปลดล็อกเราก็ไม่สามารถเอาผิดได้ เราก็เลยใช้กฎ ฮูกุมปากัส 9 ข้อ (ธรรมนูญหมู่บ้าน9ดี) นำมาใช้ เพราะเราต้องการใช้แบบสันติวิธี โดยเข้าไปพูดคุยกับกลุ่มพ่อค้า หรือกลุ่มที่กินน้ำกระท่อม โดยชีแจ้งให้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ตอนนี้ในหมู่บ้านเริ่มไม่มีแล้ว มีเพียงไม่กี่คนที่เรากำลังดูแล และพูดคุยให้เขาหยุด สำหรับกลุ่มไว่รุนก็ไม่มีการต่อต้านอะไร เช่นเดียวกับชาวบ้านต่างช่วยกันทุกคน เพราะเขายืนยันแล้วว่าไม่เอาใบกระท่อม

สำหรับแรงจูงใจที่เรามาพลักดันเรื่องนี้ เพราะเราไม่อยากให้คนเยาวชนในชุมชน หรือคนในครอบครัวมาติดยา  ตนเห็นแล้วสงสาร ตนจึงได้ประชุมสภาสันติสุขและทุกภาคส่วนหารือร่วมกันในการแก่ไขปัญหา ส่วนตัวก็อยากให้พืชกระทบผิดกฏหมายเหมือนเดิม เพราะถ้าผิดพืชกระท่อมจะไม่ขยายมากกว่านี้ ก็ขอให้รับช่วยสนับสนุนกลุ่มเยาวชนที่เลิกได้แล้วให้พวกเขามีงานทำ เพราะกังวลว่าถ้าทุกคนไม่มีงานทำก็อาจจะกลับไปเป็นเหมือนเดิม