วันหยุดสุดสัปดาห์...สัมผัสกับชีวิต จิตอาสาด้านไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มิได้มุ่งหวัง สิ่งตอบแทนเพราะในใจขอทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนและสังคม ยึดหลักอุดมคติในการทำงานว่า "ชัดเจน มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ ต่อตนเองและผู้อื่น"
ดร.พิมพ์นิภา พิณทิพย์ (ครูหนุ่ย) ประธานบริหารศูนย์ศูนย์ไกบ่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ศกช.กท.480103 สำนักงานเขตทวีวัฒนา. สน. ธรรมศาลา เขตทวีวัฒนา จบการศึกษาปริญญาตรี ศิลปะศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร -ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ด้วยผลงานจิตอาสา และประวัติการทำงาน โดยทำงานด้านวิชาการ โรงเรียนวัดแป้นทอง เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร - อาจารย์แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ ฝ่ายวิชาการและแผนงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีวิบูลย์บริหารธุรกิจ รามอินทรา (VBAC) - อาจารย์สอนภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร - ขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม - ประธานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน วิทยาลัยทองสุข , สำนักงานเขตทวีวัฒนา และสถานีตำรวจนครบาลธรรมศาลา
ดร.พิมพ์นิภา กล่าวว่าศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ภาคประชาชน มีขั้นตอน ดังนี้ เมื่อประชาชนได้รับการเดือดร้อน มาที่ศูนย์ไกล่เกลี่ย ประชาชนต้องกระทำ การยื่น คำขอจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน (ศกช.) กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพรับเรื่อง ตรวจสอบคุณสมบัติว่าผ่านหรือไม่ เมื่อผ่านแล้วก็จะดำเนินการตรวจประเมินความพร้อมก่อนจัดตั้ง ศกช. เห็นคนจัดตั้ง ขึ้นทะเบียนเป็น ศกช. และดำเนินงานตามบทบาท ตรวจประเมินมาตรฐานการดำเนินงาน ถ้าไม่เห็นควรจัดตั้ง ให้ผู้ยื่นคำขอทราบ จำหน่ายคำขอ ประสงค์พัฒนาเพื่อยื่นขอจัดตั้งใหม่ และแนะนำให้คำปรึกษา
เมื่อประชาชนยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไม่ได้ ก็จะส่งต่อหน่วยงานอื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เมื่อทางศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และชั่งน้ำหนักว่าไกล่เกลี่ยได้ ศูนย์ ไกล่เกลี่ย ก็จะดำเนินการ สอบสวนคู่กรณี ถ้าไกล่เกลี่ยไม่ได้ ก็จะส่งต่อหน่วยงานอื่น เนื่องจากไม่สมัครใจเข้าสู่กระบวนการจำหน่ายคำร้อง กรณีที่ไกล่เกลี่ยได้ ผู้สมัครใจเข้าสู่กระบวนการ ตั้งแต่ไกล่เกลี่ยจากบัญชีผู้ไกล่เกลี่ย จะให้คู่กรณีแต่งตั้งหรือศูนย์ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทแต่งตั้งก็ได้ ดำเนินการจักระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทางอาญา แจ้งพนักงานสอบสวน อัยการศาลแล้วแต่กรณี และดูผลการไกล่เกลี่ย ตกลงกันได้จัดทำบันทึกข้อตกลง ระงับข้อพิพาท ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็จัดทำบันทึกข้อตกลงว่าตกลงกันไม่ได้เพื่อดำเนินการต่อไป
การดำรงตำแหน่งประธานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนของ สน. ธรรมศาลา และ เขตทวีวัฒนา ยึดมั่นอุดมคติในการทำงานว่า "ชัดเจน มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ ต่อตนเอง และผู้อื่น " ซึ่งในการทำงานแต่ละครั้งจะมีคณะกรรมการหลายท่าน อย่างนายวีระเดช เกิงฝาก เรองประธานศูนย์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่เขตศรีวัฒนา ทำงานร่วมกัน ทุกอย่างทำงานด้วยจิตอาสา โดยมิได้หวังสิ่งตอบแทน คือเราโฟกัสของเราในการให้ความรู้เกี่ยวกับด้านกฎหมายและช่วยหน่วยงานราชการ เพื่อให้ประชาชนที่ไม่รู้กฎหมาย เมื่อมาศึกษาเกี่ยวกับด้านกฎหมายเลยทำให้รู้ว่ากฎหมาย ช่วยเหลือประชาชนได้ และช่วยเหลือ ตัวเองได้ ทำให้รู้ในจุดนี้ อย่างเช่นเราไม่รู้กฎหมายก็จะโดนคนที่เขารู้กฎหมายแกล้งเราได้เมื่อได้ศึกษาเรียนรู้ สามารถนำความรู้ออกมาช่วยเหลือ ช่วยประชาชนได้จริงๆ เช่นที่ผ่านมาในงานมหกรรมแก้หนี้ ให้กับสำนักงานเขต ศูนย์ฯเราได้ช่วยเหลือประชาชน และช่วยแนะนำการใช้หนี้ว่าขั้นตอน 1 ขั้นตอนที่ 2 และขั้นตอน 3. ทำอย่างไร ให้มีช่อฝทางออก
ที่ผ่านมามีประชาชนมาขอความช่วยเหลือจากศูนย์ไกล่เกลี่ย ให้ช่วยไกล่เกียร์ให้การทำงานช่วยเหลือประชาชน "ครูหนุ่ย" เข้าสู่ปีที่ 5 ภูมิใจที่ทำงานช่วยเหลือประชาชน ส่วนเรื่องการสนับสนุนจากภาครัฐ ต้องจัดทำงบประมาณส่งเข้าไปแต่ก็ไม่ได้ง่ายๆ ส่วนใหญ่มีแต่พวกเรามีน้ำใจลงขันกันเอาซื้อของไปฝากประชาชนแจก ในนามศูนย์ไกล่เกลี่ย และ สน. ธรรมศาลา
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีอะไรจะฝากถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือไม่ คณะกรรมการศูนย์ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท กล่าวว่า เราเป็นตัวแค่มดงานเนาะ แต่มดเป็นกำลังใจ ขอฝากท่านผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ว่าอยากให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์เรื่องของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้แพร่หลายสู่ประชาชนได้รับทราบ ว่าศูนย์ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทภาคประชาชนสามารถช่วยเหลือประชาชนและสังคมได้อย่างแท้จริง