วิโรจน์ ลุยยุทธการโรยเกลือต่อ ลุยยื่น กมธ.เศรษฐกิจ ฟัน นายกฯ ปมตั๋วPN ตั้งประเด็น นิติกรรมอำพรางเลี่ยงภาษี เหน็บยกเป็น ระเบียบแพทองธารโมเดล ไปเลย แฉ กรมสรรพกร ยังไม่ตั้งคกก.วินิจฉัย จ่อส่ง นส.3 ฉบับเร่งรัดดำเนินการ ด้าน รังสิมันต์ โรมฝากความหวังศาลฎีกาฯ สร้างความกระจ่างคดีชั้น 14 เอาผิด ทักษิณ ขณะที่ ไทย-กัมพูชาประชุมร่วม GBC-17 ด้านความสงบเรียบร้อยและมั่นคงปลอดภัยในพื้นที่ชายแดน
         
เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2568 เวลา 09.30น. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ(กมธ.)พัฒนาการเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร มีนายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานกมธ.ฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยเชิญนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน มาให้ข้อมูลในฐานะเป็นผู้ยื่นเรื่องให้ตรวจสอบการร้องเรียนการซื้อขายหุ้นโดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วPNมูลค่า 4,434บาท ของน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ถูกมองมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
       
  นายสิทธิพล ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมว่า การตรวจสอบดังกล่าเป็นผลสืบเนื่องจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ที่มีข้อสงสัยเรื่องการซื้อขายหุ้นผ่านตั๋วสัญญาใช้เงินของนายกรัฐมนตรี กมธ.จึงเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมสรรพากร สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) มาร่วมให้ข้อมูล ให้ได้ความชัดเจนว่า การกระทำดังกล่าวถูกหรือผิดกฎหมาย และตั้งใจอาศัยช่องว่างกฎหมายหลบเลี่ยงภาษีหรือไม่ อยากให้หน่วยงานราชการทำเรื่องนี้ให้โปร่งใสชัดเจน
       
  ด้านนายวิโรจน์  กล่าวว่า หลังจากไปยื่นหนังสือถึงกรมสรรพากรวินิจฉัยพฤติกรรมน.ส.แพทองธาร ที่ใช้ตั๋วPNซื้อหุ้นจากบุคคลในครอบครัว เป็นการสร้างรูปแบบซื้อขาย โดยไม่มีเจตนาซื้อขายหุ้นจริง เป็นการทำนิติกรรมอำพราง เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีการรับให้หรือไม่  ขอให้กรมสรรพากรตรวจสอบให้เกิดความชัดเจน เพราะยังมีประชาชนที่กำลังจะโอนหุ้นบริษัทให้ทายาทที่มีมูลค่าเกิน 20 ล้านบาทในปีภาษี อาจจะไม่โอน เพื่อไม่ต้องชำระภาษีการรับให้
       
  "คำถามคือ ถ้าประชาชนเอาโมเดลจากนายกฯมาทำตาม อธิบดีกรมสรรพากรต้องประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ต่อไปนี้ให้ใช้ตั๋วPN และทำแบบนายกฯ หรือจะตั้งชื่อว่า แพทองธารโมเดล ให้ทุกคนทำตาม แต่กรมสรรพากรต้องรับสภาพว่า นับแต่นี้เป็นต้นไปอาจไม่สามารถจัดเก็บภาษีการรับให้ได้เลย ไม่ใช่เฉพาะกรณีนายกฯ หากแต่กรมสรรพากรต้องไปดูการใช้ตั๋วPN ในวงศ์วานของนายกฯ พิจารณาทุกธุรกรรมการโอนเงินผ่านธนาคารว่า มีการชำระเงินกันจริงหรือไม่ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน หากไม่พบการชำระเงินก็วินิจฉัยได้ง่าย หรืออีกกรณีที่เทียบเคียงได้คือนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท 9แห่ง มูลค่า 4,400ล้านบาท โดยสมบูรณ์ หมายความว่า บริษัททั้งหมดจ่ายเงินเงินปันผลหรือไม่ นายกรัฐมนตรีจัดสรรเงินปันผลชำระค่าซื้อหุ้นให้แม่ พี่สาวพี่ชาย และลุง ป้าสะใภ้บ้างหรือไม่ นายวิโรจน์ กล่าว
       
  ต่อมาเวลา 12.00 น. นายวิโรจน์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีวาระพิจารณาติดตามเรื่องร้องเรียนกรณีการตรวจสอบข้อเท็จจริงการทำธุรกรรมและการชำระภาษีเกี่ยวกับการซื้อหุ้นมูลค่า 4,434.5 ล้านบาท ของ น.ส.แพทองธาร ซึ่งเข้าข่ายการหลบเลี่ยงเสียภาษีรับให้ ว่า ในการประชุมพบว่า นายปิ่นสาย สุรัสวดี อธิบดีกรมสรรพากร ไม่ได้ร่วมประชุมแต่ได้ส่งผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาษีกลาง มาชี้แจงแทน ทั้งนี้ในการพิจารณาพบข้อมูลทที่น่าตกใจ คือ คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ยังไม่ครบองค์ประกอบ เพราะขาดกรรมการ ส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน 3 คน ทั้งนี้การตั้งกรรมการส่วนดังกล่าวเป็นอำนาจของนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ดังนั้น กมธ. ฯ เตรียมทำหนังสือถึงนายพิชัย ให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการในสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว อย่างไรก็ดีกมธ.ไม่ได้กำหนดกรอบเวลาดำเนินการให้แล้วเสร็จ แต่โดยปกติแล้วต้องทำโดยพลัน หากเป็นการทำหน้าที่โดยชอบ แต่หากดึงเวลาอาจเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
       
  นายวิโรจน์ กล่าวด้วยว่าในการตรวจสอบกรณีการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือ ตั๋ว P/N หลังจากที่ซื้อหุ้นของคนในครอบครับและเครือญาติของ น.ส.แพทองธาร นั้น ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาษีกลางระบุว่าเรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อเท็จจริง แต่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด เพราะมีประเด็นของปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ คือ การไม่มาชี้แจงของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้กมธ.ซักถามถึงขั้นตอน ทราบว่ากรณีที่เชิญบุคคลให้ชี้แจงแล้วไม่มา จะให้เวลา 15 วัน และหากไม่มาจะต่อเวลาอีก 15 วัน อย่างไรก็ดีการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวถือเป็นอำนาจของกองตรวจสอบภาษีกลางที่จะดำเนินการได้ และเมื่อตรวจสอบแล้เสร็จจะส่งเรื่องให้คณะกรมการวินิจฉัยภาษีอากรตรวจสอบขั้นตอนต่อไป ส่วนสตง. ที่ร่วมชี้แจงต่อกมธ.การพัฒนาเศรษฐกิจ  ได้ให้ข้อมูลกับกมธ.ว่า ไม่มีอำนาจตรวจสอบบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ทั้งนี้ สตง.มีหน้าที่ตรวจการใช้จ่ายและการจัดเก็บรายได้ ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นทราบว่าประเด็นตั๋วพีเอ็น หรือ ตั๋วเงิน นั้นไม่มีระเบียบหรือกติกาที่ชัดเจนในการปฏิบัติ ว่าทำได้จริงหรือเป็นเพียงรูปแบบที่ใช้เป็นนิติกรรมอำพราง
     
  สตง. มีอำนาจตามกฎหมาย สตง. ในมาตรา 85 เพื่อส่งความเห็นไปยังกรมสรรพากรให้ดำเนินการออกระเบียบและการปฏิบัติงานเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย รวมถึงเพื่อให้สามารถจัดเก็บส่วนของภาษีการรับให้ จากกรณีการออกตั๋วพีเอ็น หรือ ตั๋วเงิน ได้ และเป็นไปด้วยความเป็นธรรม เสมอภาคถ้วนหน้า ทั้งนี้กรณีของนายกฯ ที่อาจบอกว่าเป็นการวางแผนภาษี แต่หากประชาชนคนอื่นเขาทำรูปแบบเดียวกัน กรมสรรพากรต้องให้สิทธิประชาชนคนอื่นทำด้วย ไม่ใช่ไล่บี้คนอื่นแต่ นายกฯกลับเพิกเฉย นอกจากนั้นแล้วผมมองว่าเมื่อมีช่องว่างให้ทำ แต่นากฯ ควรปิดช่องว่างที่จะทำให้ตนเองได้ประโยชน์ นายวิโรจน์ กล่าว
     
    นายวิโรจน์ กล่าวว่า กมธ.การพัฒนาเศรษฐกิจ เตรียมทำหนังสือไปยังหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับคือ 1.นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการใช้อำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรให้ครบองค์คณะ ซึ่งหากทำไม่ได้ก็จะนำไปสู่หลักฐานที่ชี้ว่าละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ ร้องต่อ ป.ป.ช.ได้  2. นายปิ่นสาย สุรัสวดี อธิบดีกรมสรรพากร  ถึงกรอบเวลาในการรวบรวมข้อเท็จจริง และจะส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรเมื่อไหร่ เช่นกรอบเวลาอย่างช้าที่สุด ที่จะนำไปร้องต่อ ป.ป.ช.ได้ และถามว่า หากประชาชนใช้โมเดลของนายกรัฐมนตรี กรมสรรพากรจะไม่ไปกล่าวหาว่าประชาชนทำความผิดใช่หรือไม่ เพื่อการบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค และ3. นายมณเฑียร เจริญผล ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ขอให้ใช้อำนาจทางกฎหมาย ทำหนังสือ เพราะปัจจุบันกรมสรรพากรยังไม่มีระเบียบในการทำงานเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี กรณีใช้ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่นใด หากปล่อยไปเช่นนี้ก็จะเกิดความเสียหายต่อการจัดเก็บภาษีเสียหายต่อราชการ เสียหายต่อประชาชน
      
 กมธ.มีข้อเตือนใจไปยังข้าราชการที่ต้องทำหน้าที่ด้วยว่า มีประเด็นที่เคยเกิดขึ้นกับ นางเบญจา หลุยเจริญ เมื่อครั้งทำหน้าที่ในกรมสรรพากรถูกพิพากษาจำคุกในคดีวินิจฉัยภาษีซื้อหุ้น และถูกลงโทษทั้งคดีอาญา และจำคุก หากทำหน้าที่ปกป้องสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งกรณีที่ตรวจสอบ น.ส.แพทองธารนั้น หากฝ่ายที่เเกี่ยวข้องประวิงเวลา อาจเท่ากับส่งสัญญาณปกป้อง หรือดึงเรื่องตรวจสอบน.ส.แพทองธาร ซึ่งอาจถูกร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.ต่อไป นายวิโรจน์ กล่าว
        
 ด้าน นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดพิจารณาไต่สวนคดีชั้น 14ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13มิ.ย.ว่า กรณีชั้น 14 มีความชัดเจนอยู่แล้วว่า มีปัญหาจริงๆ มีทั้งพยานหลักฐานแวดล้อม และการพูดของน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่สันนิษฐานได้ว่า น.ส.แพทองธารรู้เรื่องนี้ดีที่สุด องค์ประกอบจิ๊กซอว์ต่างๆต่อออกมาชัดเจนว่า กรณีชั้น 14 เป็นกรณีแกล้งป่วย ทำให้นายทักษิณไม่ต้องติดคุกจริง ยิ่งกว่านั้นยังพบหลักฐานการใช้โทรศัพท์มือถือต่างๆ หมายถึงนายทักษิณอาจบัญชาการสั่งการต่างๆ รวมถึงการปล่อยให้บุคคลภายนอกไปเจอนายทักษิณ จึงชัดเจนว่าการติดคุกของนายทักษิณไม่มีอยู่จริง มีความจำเป็นที่องค์กรต่างๆ และศาลต้องใช้กลไกกฎหมายตรวจสอบนายทักษิณอย่างจริงจังส่วนตัวมองประเทศอย่างไม่สบายใจ เห็นภาพประธานสภาผู้แทนราษฎร เจอกับประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ฝ่ายค้านส่งเรื่องให้ประธานสภาตรวจสอบประธานป.ป.ช.มานานแล้ว แต่ไม่เห็นความคืบหน้าว่า รัฐสภาจะส่งเรื่องนี้เมื่อใด ทั้งที่มีคลิปวิดีโอออกมาขนาดนี้ ถ้าส่งเรื่องไปให้ประธานศาลฎีกาตั้งคณะกรรมการไต่สวน จะเห็นความจริงอีกหลายอย่างมากขึ้น แต่จะเกี่ยวกับกับชั้น 14 หรือไม่นั้น มองว่า วันนี้องค์กรต่างๆแทบไม่สามารถเชื่อมั่นได้เลยว่า จะจัดการคดีชั้น 14 ดังนั้นการตั้งคณะกรรมการไต่สวนกรณีชั้น 14  จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะตอนนี้แทบไม่เหลือองค์กรใดจัดการชั้น 14 แล้ว บ้านเมืองกำลังถูกกัดกร่อนทำลายจากความอยุติธรรมที่ช่วยเหลือพ่อ เพื่อน พวกพ้อง
        
 เมื่อถามว่า ที่ผ่านมาองค์กรตรวจสอบไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง นายรังสิมันต์ตอบว่าศาลมีดาบอยู่ในมือที่เข้มแข็งมากที่สุดกว่าทุกองค์กร ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามศาล มีโทษจำคุกค้ำอยู่ ค่อนข้างมั่นใจว่าหน่วยงานต่างๆต้องให้ความร่วมมือมากยิ่งขึ้น แต่ต้องกลับไปถามนายกรัฐมนตรีและองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ถ้ามั่นใจกรณีชั้น 14 ทำถูกต้อง โปร่งใส เหตุใดไม่ให้ความร่วมมือ ทั้งแพทยสภา ป.ป.ช.ก็ประสบปัญหา สภาก็ประสบปัญหา อภิปรายไม่วางใจนายกรัฐมนตรีแทนที่จะตอบเรื่องนี้กลับไปเอาเรื่องพันธมิตร มาพูดทั้งๆที่ไม่มีมูลความจริง นายกรัฐมนตรีกลายเป็นหนึ่งในคนที่เผยแพร่เฟคนิวส์ วันนี้บ้านเมืองไปกันใหญ่แล้ว ศาลจึงเป็นที่พึ่งหวัง สร้างความกระจ่างเรื่องนี้
       
         ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ได้มีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 17  ณ โรงแรมรอยัล ออคิด เซอราตัน ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร ราชอาณาจักรไทย โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับ พลเอก เตีย เซียฮา รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กัมพูชา เป็นประธานร่วม
       
  โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือชายแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความสงบเรียบร้อยและมั่นคงปลอดภัยในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยและกัมพูชาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
       
  อีกทั้งที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างกองทัพทั้งสองประเทศในทุกระดับ อันจะนำมาซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงตลอดแนวชายแดนนอกจากนั้น ที่ประชุมยังได้รับทราบถึงความก้าวหน้าความร่วมมือในพื้นที่ชายแดน โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการพิจารณาทบทวนผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามโครงการความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป กัมพูชา-ไทย ครั้งที่ 16 ที่จัดขึ้น ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2567 เช่น ความร่วมมือในการผ่านแดนและการสัญจรข้ามแดน ความร่วมมือด้านแรงงาน ความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ายาเสพติด การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยกับหน่วยทหารและตำรวจของกัมพูชาในพื้นที่ชายแดน ความร่วมมือด้านการเกษตร ความร่วมมือด้านสาธารณสุข และความร่วมมือด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งที่ประชุม