ส่งเสริมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังทำนาเป็นอาหารให้โคนม ไร่ละ 6 พันบาท
วันที่ 22 เม.ย.68 ที่แปลงข้าวโพด บ้านนานกเขียน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดแปลงเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2568 โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลังนาผ่านระบบสหกรณ์ โดยสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด มหาสารคาม ได้มามาส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทดแทนการปลูกข้าวนาปรังเพราะใช้น้ำน้อย ซึ่งได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลังนา ผ่านระบบสหกรณ์ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกให้มีรายได้ที่แน่นอน โดยการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมในปีนี้มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 ราย พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพคอาหารสัตว์ จำนวน 100 ไร่ มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรับชื้อข้าวโพดอาหารสัตว์ จำนวน 87 ราย จำนวนแม่โคนม 4,050 ตัว ในการผลิตข้าวโพดอาหารสัตว์ ยังมีการรณรงค์ให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ รวบรวมฟางมาจำหน่ายให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและส่งเสริมการไถ่กลบตอซัง โดยไม่มีการเผาตอซังข้าว ในพื้นที่โครงการ ได้ 100% ที่สำคัญเป็นการสร้างอาชีพทางเลือกใหม่ ให้เกษตรกรและสร้างเงินหมุนเวียนในท้องถิ่น เพราะข้าวโพดอาหารสัตว์ เป็นอาหารอย่างดีให้กับวัวนมที่จะสามารถผลิตน้ำนมได้มากขึ้นในการกินข้าวโพดที่มีโปรตีนสูง เป็นประโยขน์กับสมาชิกในสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ
ทางด้านเกษตรกร นายโอ๊ด ภูเกิดพิม อายุ 52 ปี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้พื้นที่นาของตนเอง 20 ไร่ หลังจากหมดหน้าทำนาก็ปล่อยว่างไม่ได้ทำการปลูกอะไร ทางสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัดได้มาสนับสนุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ช่วงหน้าแล้ง ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ทางสหกรณ์ลงทุนให้ก่อนทั้งเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยยา ก่อนหลังจากที่ผลผลิตออกแล้วก็มาทำการเก็บเกี่ยวทั้งต้นทั้งฝักข้าวโพดในราคา 1.5 บาทต่อ กก.แล้วก็ค่อยหักค่าใช้จ่ายกัน ค่าเฉลี่ยผลผลิตน่าจะได้ประมาณ 3-4 ตัน ต่อไร่ รายได้ 6 พันบาทต่อไร่ได้ พอมาหักค่าใช้จ่ายแล้วก็จะเหลือ 3 พันต่อไร่ ก็มีรายได้เหลือเก็บ จากที่เราปล่อยที่นาว่างไว้ไม่ได้ทำอะไรก็มามีรายได้ช่วงหน้าแล้ง
ทางสหกรณ์ยังได้นำเครื่องแพคอาหารสัตว์มาทำการเก็บรักษาเอาไว้ใช้ทานในหน้าแล้ง ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้ 1 ปี เพื่อเป็นการถนอมและเป็นรักษาอาหารให้กับสัตว์เลี้ยง ทำให้สมาชิกสหกรณผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ ยังสามารถลดต้นทุนการผลิต มีรายได้และมีความมั่นคงในอาชีพมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของสมาชิกสหกรณ์ และความเข้มแข็งของสหกรณ์