ชาวสวนยางพาราปัตตานีไม่ทน ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรม ถูกนายทุนเอาเปรียบ ฉวยโอกาสอเมริกาปรับภาษี กดราคายางต่ำกว่าตลาด
วันที่ 18 เมษายน 2568 ที่ศูนย์ดำรงธรรม ศาลากลางจ.ปัตตานี นายพิศณุพงษ์ นกแก้ว ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดปัตตานี ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับการกดราคารับซื้อยางพารา ซึ่งนำโดยนายประยูรสิทธิ์ คณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมการเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางระดับจังหวัด จังหวัดปัตตานี พร้อมด้วยเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางทั้งชาวพุทธและมุสลิมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี กว่า 40 คน รวมตัวกันยื่นหนังสือ เพื่อขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับการกดราคารับซื้อยางพารา ผ่านศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดปัตตานี เพื่อส่งต่อไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เพื่อแก้ไขปัญหา หลังจากถูกกลุ่มทุนกดราคาการรับซื้อยางพาราอย่างไม่เป็นธรรม
โดยขณะนี้พบว่าชาวสวนยางพาราในพื้นที่จังหวัดปัตตานีได้รับผลกระทบอย่างหนัก หลังมีปรากฏสถามการณ์ราคายางพาราซื้อขายในตลาดภายในประเทศในห้วงเดือน เมษายน พ.ศ. 2568 มีราคาลดลงและตกต่ำประมาณ 10 บาทต่อ 1 กิโลกรัม และราคายางพาราแต่ละพื้นที่ ทั้งยางแผ่นรมควันชั้น3, ยางแผ่นดิบคุนภาพดี, น้ำยางสด, และยางก้อนถ้วย คาดว่าน่าจะต่ำกว่าราคากลาง และมีทีท่าว่าจะลงอย่างต่อเนื่อง จนทำให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่จังหวัดปัตตานีได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ในด้านต้นทุนการผลิดและ ขาดทุน และก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อชีวิตและครอบครัว
ซึ่งชาวส่วนยางมองว่า กลุ่มนายทุน บริษัทรับซื้อยางพารารายใหญ่ ได้อาศัยสถานการณ์ที่ผู้นำประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศมาตรการทางภาษี 37% ในการกดราคาลง ซึ่งความเป็นจริงแล้ว มาตรการดังกล่าว ก็มีการเลื่อนการบังคับใช้ออกไปอีก 90 วันแล้ว และยางพาราที่ทำการซื้อขายก็ไม่ใช่สินค้าที่อยู่ในหัวงการส่งออกไปยังต่างประเทศ
ทำให้ชาวสวนยางพาราต่างไม่พอใจ และไม่เป็นธรรมต่อเกษตรกร เพราะกลุ่มนายทุน จงใจกดราคารับซื้อให้ต่ำกว่าราคาที่เป้นจริง เพื่อประโยชน์ทางการค้าที่เอาเปรียบและย่ำยีชีวิตเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อหวังเพียงเพื่อผลกำไรของกลุ่มทุนของตนเท่านั้น จนทำให้เกิดความปั่นป่วนซึ่งราคายาพาราในตลาด จึงออกมารวมตัวกันเรียงร้องขอความเป็นธรรมในเรื่องนี้
สำหรับราคากลางของยางพาราวันที่ 18 เมษายน 2568 พบว่า ต่อ1กิโลกรัม ประกอบด้วย ยางแผ่นรมควันชั้น3 อยู่ที่ 65.50 บาท ส่วนต่างจากวันก่อนหน้า+3.50 บาท,
ยางแผ่นดิบคุนภาพดี 63.50บาท ส่วนต่างจากวันก่อนหน้า+3.50บาท, น้ำยางสด 55.75บาท ส่วนต่างจากวันก่อนหน้า +0.25บาท, และยางก้อนถ้วย100% 53.00บาท ส่วนต่างจากวันก่อนหน้า+1.00บาท, ยางก้อนถ้วย70% 37.10บาท ส่วนต่างจากวันก่อนหน้า+0.70บาท ทั้งนี้ราคาดังกล่าวเป็นราคากลาง แต่ความเป็นจริงราคาแต่ละพื้นที่จะต่ำกว่า
สำหรับข้อเรียกร้องชาวสวนยางพาราในปัตตานี ประกอบด้วย
1. ให้คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ออกประกาศกำหนดราคาซื้อ ตามมาตรา 25 พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการฯ ในราคาที่เหมาะสม เป็นธรรมต่อชาวเกษตรกร ชาวสวนยางพารา (โดยให้มีการหารือ ประสานข้อมูลกับการยางแห่งประเทศไทย ก่อนมีการออกประกาศ)
2. ให้คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ออกประกาศกำหนดตามมาดรา 25 พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการฯ ให้ผู้รับซื้อยางพาราแจ้งปริมาณ ณ สถานที่เก็บ ดันทุน ค่าใช้จ่าย แผนการผลิด แผนการนำเข้า แผนการส่งออก แผนการซื้อ แผนการจำหน่าย แผนการเปลี่ยนแปลงราคา หรือรายการอื่นใดที่เกี่ยวข้องในการรับซื้อ การจำหน่ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ การอื่นใดตามอำนาจหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมสินค้ายางพาราให้มีเสถียรภาพทางราคา ไม่ให้มีการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร (โดยให้มีการหารือ ประสานข้อมูลกับการยางแห่งประเทศไทย ก่อนมีการออกประกาศ)
3. เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับพฤติการณ์ หรือการกระทำที่ถือว่าเป็นการทำให้ราคา สินค้ายางพาราต่ำเกินสมควร หรือสูงเกินสมควร หรือทำให้ปั่นป่วนซึ่งราคาของสินค้ายมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ทำให้ราคาต่ำเกินสมควร หรือสูงเกินสมควรหรือ ทำให้ปั่นป่วนซึ่งราคา โดยประกาศในราชนุเบกษา ตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 (โดยให้มีการหารือ ประสานข้อมูลกับการยางแห่งประเทศไทย ก่อนมีการออกประกาด)
4. ให้รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ สั่งการอธิบดีกรมการค้าภายใน และ/หรือเจ้าพนักงานเกี่ยวข้อง ประสานการยางแห่งประเทศไทย เจ้าหน้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่สอบสวนคดีพิเศษ ตรวจสอบ สืบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน ดำเนินคดีกับนายทุน บริษัทรับซื้อยาพารา ที่ให้จงใจกดราคารับซื้อให้ ต่ำกว่าราคาเกินสมควร หรือทำให้เกิดความปั่นป่วนซึ่งราคายาพารา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคา สินค้าและบริการ พ.ศ.2542 มาตรา 29 มาตรา 41, มาตรา 42
5. เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการขนย้ายยางพาราในพื้นที่ชายแดน ที่มีความเสียงต่อการนำยางพาราที่มีแหล่งกำเนิดจากต่างประเทศ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ ให้มีมาตรการในการควบคุมการขนย้ายยางพาราในพื้นที่ชายแดนที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ ป้องกันการลักลอบนำเข้า หรือ การนำยางพารา นำเข้าสวมเป็นยาพาราในราชอาณาจักรไทย ให้คณะกรรมการกลางว่าด้วยสินค้าและบริการ หรือ คณะกรรมการส่วนจังหวัด อาศัยอำนาจตามมาตรา 25 พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542
มีประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่องการควบคุมการขนย้ายยางพารา และ หลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาต การอนุญาต แบบหนังสืออนุญาต และวิธีการขนย้ายยางพาราที่ เหมาะสมเป็นธรรมมีประสิทธิภาพ (โดยให้มีการหารือ ประสานข้อมูลกับการยางแห่งประเทศไทย ก่อนมีการออกประกาศ)
6. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการยางแห่งประเทศไทย ประสาน อธิบดีกรมสรรพากร, เจ้าพนักงานตำรวจ และเจ้าพนักงานกรม สอบสวนคดี พิเศษ จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบริษัทที่รับซื้อยางพาราที่มีการกดราคากับเกษตรกร อย่างไม่เป็นธรรม มีการจัดทำบัญชีรับซื้อ/ขายไม่ตรงกับความเป็นจริง ราคาซื้อ ราคาจำหน่ายไม่ตรงกับ ตันทุน (ข้อมูลบริษัท ดังกล่าวมีอยู่ที่การยางแห่งประเทศไทย ) อันมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการหลีกเลี่ยง การเสียภาษีอากร โดยให้ อธิบดีเข้าไปหรืออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานสรรพากเข้าไปใน สถานที่ประกอบกิจการนั้นๆ หรือ ยานพาหนะใดเพื่อทำการตรวจคัน ยึด หรืออายัดบัญชี เอกสาร หรือ นที่เกี่ยวกับหรือสันนิษฐานว่า เกี่ยวกับภาษีอากรที่จะต้องเสีย เพื่อดำเนินการตรารัษฎากร ให้มีการชำระภาษีแก่รัฐโดยถูกต้อง ครบถ้วน โดยให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร เจ้าพนักงานและเจ้าพนักงานกรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการตามกฎหมายทุกบทความผิด
7. ให้ปรับปรุงบทกฎหมาย ตามพ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2542 เพื่อให้สามารถบังคับ ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป
8. ชั้นนี้ ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ควบคุมยางฯ และพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยควบคุมสินค้าและบริการ เข้าตรวจบัญชีการรับซื้อยาง บัญชีคุมคุมสินค้า ตามประกาศ คณะกรรมการ กลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ, พ.ร.บ.ควบคุมยางฯ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ต่อไป
9. ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการสินเชื่อเงินกู้เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง (คก. 10,000 ล้าน - 5,000 ล้าน) ที่ผ่านคณะกรรมการยางธรรมชาติ (กนย.) เพื่อขยายเวลาการชำระหนี้ กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) กลุ่มเกษดรกรชาวสวนยาง หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จักได้รับความช่วยเหลือจากท่าน และ ขอขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้ ทั้งนี้ ขอให้แจ้งตอบกายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ หากกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางไม่ได้รับคำตอบ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม พวกเราจะยกระดับการ ขับเคลื่อนเพื่อต่อสู้เรื่องนี้ต่อไปด้วย
ด้านนายประยูรสิทธิ์ คณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมการเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า พี่น้องชาวสวนยางพาราที่มาในวันนี้เพื่อยื่นหนังสือผ่านศูนย์ดำรงธรรมของจังหวัดปัตตานี เพราะว่าเราได้รับวิกฤติ ของราคายางพารา เนื่องจากตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2568 เราโดนทุบราคาจากกลุ่มนายทุนจาก10 ต่อ กิโลกรัม และวันที่ 9 เมษายน ก็โดนทุบอีก 5 บาท ซึ่งเรามองกระบวนการซื้อขายยางพาราขาดความเป็นธรรม เพราะว่าเป็นพืชควบคุมตามกฎหมายราคายางที่จะกดลงมาได้ ตามมาตรการของการยางในตลาดกลางประกาศว่าราคาที่จะลงมาได้ไม่เกิน 2 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ว่าวันนี้ลงมา 15 บาท ในเวลา 2 วัน มันเกินความเป็นจริงมาก ซึ่งเรามองว่าขาความเป็นธรรมจากพ่อค้าในการซื้อขายยางพารา ซึ่งชาวสวนยางพารามีความเดือดร้อนค่อนข้างมาก เพราะว่าราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของเรามาก และยางพาราที่เข้าตลอดทั่วประเทศ ประมานวันละ 1แสนตัน ถ้าคิดเป็นเงินที่ถูกกดราคาลง 10 บาท เป็นเงินรวมวันละพันล้านบาท วันนี้ผ่านมาแล้ว 8 วัน ก็รวม 8พันล้านบาทที่เงินหายจากพี่น้องชาวสวนยางพารา จึงออกมาขอความเป็นธรรมคืนให้กับชาวสวนยางพาราซึ่งเรื่องดังกล่าว เมื่ออเมริกาได้ประกาศขึ้นภาษี ทางกลุ่มทุนก็ฉวยโอกาสนี้กดราคายางพาราของเราลงมาทันที ซึ่งเรามองว่ามันไม่เกี่ยวกัน
นายประยูรสิทธิ์ เปิดเผยตอนท้ายว่า ฝากไปยังนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ ที่มาดูแล และมีส่วนเกี่ยวข้องเรื่องยางพารา เรื่องดูแลพี่น้องเกษตรกร อยากจะให้ท่านมีมาตรการดูแลมากกว่านี้ให้พี่น้องเกษตรกรอยู่ดีมีสุขมากขึ้น ซึ่งเราให้ระยะเวลาในการยืนหนังสื่อไป15 วัน อยากจะให้มีมาตรการต่าง ๆ ออกมาจากแต่ละกระทรวงในการช่วยเหลือ
นายอาฮะมะ ฮะยีสะนิ ชาวสวนยางพารา ออกมาเผยความรู้สึกว่า ตนเป็นชาวสวนยางพารา ช่วงที่ราคายังไม่ลง ค่าครองชีพของชาวสวนยางก็ไม่พออยู่แล้ว แต่ถูกซ้ำเติมการกดราคาลงแบบนี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะอยู่ได้อย่างไรต่อไปได้อีก ซึ่งตนคิดว่าถ้าราคายางพาราไม่ขึ้น แน่นอนว่าความเดือดร้อน และปัญหาในสามจังหวัดน่าจะทวีคูณขึ้นไปอีก ตนอยากเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยดูแลอย่างเต็มด้วยด้วยเถิด อย่ามองข้ามปัญหาเรื่องนี้ เพราะจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต