เมื่อวันที่ 14 ก.พ.68 ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า

ความยากในการเจรจากับ Trump !!!

ระหว่างที่เรากำลังรอลุ้นว่า

ใครจะโดนสหรัฐเรียกภาษีนำเข้าเพิ่มบ้างภายใต้กรอบ Reciprocal Tariffs 

ญี่ปุ่นนับเป็นกรณีศึกษาที่ดียิ่ง

ที่จะช่วยให้เราเข้าใจถึงความยากในการต่อรองกับประธานาธิบดีที่ชื่อ Trump

ถ้าลองนับดู นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเป็นคนที่สอง ที่ได้เข้าทำเนียบขาว

เป็นรองก็เพียงนายกรัฐมนตรีอิสราเอลที่มาก่อน 2 วัน

เพราะญี่ปุ่นเป็นมิตรประเทศสำคัญ เป็นจุดยุทธศาสตร์หลักในการต่อสู้กับจีน

แต่ในการมาเจรจาความเมืองกับประธานาธิบดี Trump

จุดอ่อนไหวของญี่ปุ่น ก็คือ ญี่ปุ่นได้ดุลการค้ากับสหรัฐสูงสุดเป็นอันดับ 7

ตามหลัง จีน เม็กซิโก เวียดนาม ไอร์แลนด์ เยอรมันนี ไต้หวัน 

ไม่น่าแปลกใจ ระหว่างเข้าพบ

ท่านนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจึงได้ยอมท่านประธานาธิบดี Trump ในหลายเรื่อง

โดยหลังจากการหารือจบ ญี่ปุ่นประกาศที่จะ

1. ลงทุนในสหรัฐมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

2. ให้ Nippon Steel ลงทุนใน US Steel โดยไม่เป็นการซื้อกิจการ

3. ร่วมพัฒนา AI, Quantum Computing, Semiconductor เพื่อเป็นผู้นำโลก

4. ซื้อ LNG จาก Alaska ทดแทนจากเดิมที่ซื้อจากตะวันออกกลาง เพื่อช่วยลดการขาดดุลการค้าของสหรัฐ และสร้าง Energy Security ของญี่ปุ่น

5. สัญญาจะเพิ่มงบประมาณด้านความมั่นคงของประเทศขึ้นไปอีกระดับ

6. สั่งซื้อยุทโธปกรณ์จากสหรัฐเพิ่มเติม

7. ร่วมกับสหรัฐในการส่งเสริมพัฒนาตลาดใหม่ในพื้นที่ Indo-Pacific

8. เร่งขับเคลื่อนความสัมพันธ์ของ The Quad (Japan, Australia, India,  US)

พูดง่ายๆ ว่า ยอมถอย ยอมเอาใจ ในทุกประเด็น

ลดแลกแจกแถม

แต่ที่น่าคิด ก็คือ

แม้จะมาคุย

มาเอาใจถึงที่

มีข้อเสนอดีดีมาฝากให้สหรัฐมากมาย

แต่สุดท้าย สหรัฐก็ยังประกาศขึ้นภาษีนำเข้า 25% กับเหล็กกล้าและอะลูมินัมของญี่ปุ่นอยู่ดี

แบบ No Exception หรือไม่มีข้อยกเว้นให้เพื่อนคนนี้

คืนนี้ มาลุ้นกันว่า

ใครจะโดนเรียกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่ม

ประเทศไหนจะโดนมากที่สุด

คนที่ยอมให้สหรัฐในหลายๆ เรื่อง จะช่วยให้รอดหรือไม่

โดยเฉพาะญี่ปุ่นและอินเดียที่กำลังจะเข้าพบ จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษหรือไม่

ถ้าไม่ ก็คงต้องบอกว่า

สุดท้ายแล้วในการเจรจากับสหรัฐ

คำตอบหรือทางออกที่แท้จริงของทุกประเทศ

ต้องเจรจาเป็นเรื่องๆ เฉพาะมิติๆ ไป

ต้องไปแก้ที่โครงสร้างภาษีนำเข้าของตนเอง ให้เสมอกัน

หาทางทำให้ดุลการค้าที่ได้เปรียบสหรัฐลดลง

เพราะถ้ายังได้เปรียบ/เอาเปรียบสหรัฐ

คิดภาษีนำเข้ากับสหรัฐ มากกว่าที่สหรัฐคิด

มีข้อจำกัดทางการค้ากับสหรัฐ มากกว่าที่สหรัฐมี

ก็ต้องยอมรับผลที่ตามมา คือ Reciprocal Tariffs จากประธานาธิบดี Trump

ซึ่งเป็นตัวอย่าง เป็นต้นแบบให้กับคนที่กำลังหาทางอยู่ร่วมกับ Trump 2.0

พยายามหา Package ที่เหมาะสม เพื่อจะไปเจรจากับสหรัฐ

ทั้งหมดนี้ จะช่วยในการเตรียมการเจรจาของไทยต่อไปครับ 🙂