หนึ่งตำบล หลายคนบ้า
                                                                                                                                                                                        ดร.สุพิศ ปราณีตลกพรัง

เหตุการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาดสร้างความเสียหายเกิดผลกระทบต่อด้านต่างๆมากมายโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ในด้านของสังคมก็เกิดปัญหาเกี่ยวกับความเครียด หวาดวิตกจนกลายเป็นปัญหาคนป่วยจิตเวช ทั้งในระดับแตกต่างกันไปจนน่าจะกล่าวได้ว่า ปัญหาผู้ป่วยจิตเวชนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทำให้เกิดผลความเสียหายติดตามมาทั้งในแง่ของ ชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนทรัพยากรมนุษย์

นอกจากผู้ป่วยจิตเวชแล้วยังมีปัญหาเกี่ยวกับคนคลุ้มคลั่ง อันเป็นผลมาจากการใช้ยาเสพติดซึ่งแพร่ระบาดถึงขนาดหาซื้อได้ทั่วไป การป้องกันปราบปรามและการแก้ไขก็ดูยังไม่เกิดผลที่มีประสิทธิภาพ ในระดับที่จะรองรับปัญหาได้แม้ว่าจะมีการยกเครื่องปรับปรุงกฎหมายยาเสพติดก็ตาม แต่ในด้านของการขับเคลื่อนให้บรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมายก็ยังไม่ปรากฏรูปธรรมอย่างชัดเจนโดยเฉพาะด้านของการบำบัดฟื้นฟูแก้ไขเพื่อทำให้ผู้เสพกลับมาสู่สังคมได้อย่างปกติ

สภาพการณ์ของการมีคนป่วยจิตเวช คนเสพยาเสพติดดังกล่าว มิใช่เป็นระเบิดเวลาที่รอการระเบิด แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดเป็นข่าวทุกเมื่อเชื่อวัน เช่น ข่าวคนป่วยจิตเวชคลุ้มคลั่ง ถูกปล่อยปละละเลยออกมาอาละวาดทำร้ายคนปกติทั่วไปถึงขั้นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ในขณะที่ผู้ที่ติดยาเสพติดเกิดอาการหลอน คลุ้มคลั่งก็เช่นเดียวกัน ถึงขนาด ลูกทำร้ายหรือฆ่าพ่อ แม่ กลายเป็นข่าวที่ดูจะชาชินเหมือนหน่วยงานที่รับผิดชอบจะไม่ยินดียินร้ายแก้ไข ป้องกันปัญหาเท่าที่ควร เป็นเหตุการณ์ที่เกิดได้ทุกหนแห่ง โดยเฉพาะในเขตชนบท ต่างจังหวัด

ความสูญเสียที่เกิดขึ้นนั้นแทบที่ประเมินค่ามิได้ กลไกแห้งการป้องกันปัญหาดูจะไม่ได้มีการกำหนด หรือวางแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการแต่อย่างใด หากปล่อยไปเช่นนี้แล้วความสูญเสียต่างๆก็จะเกิดขึ้นโดนตลอดและเป็นสภาพของการกระทำก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเกิดสภาพหนึ่งตำบล หลายคนบ้า คนเมายา

การแก้ไช ปราบปราม หรือจัดการต่างๆหลังเกิดเหตุอาจจะไม่สามารถที่จะเยียวยาแก้ไขปัญหาได้เท่าที่ควรหรือไม่ตรงจุด การป้องกันจึงน่าจะเป็นหนทางที่ทำให้การแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน ในกรณีของผู้ป่วยจิตเวชนั้น หากจะใช้มาตรการเหมือนตอนป้องกันผู้ป่วยไวรัสโควิด-19 กล่าวคือให้อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ทำการประสานดูแลตั้งแต่อาการรุนแรง มีการติดตามการรักษา การรับยาให้เป็นไปตามกำหนด ในการที่คนติดยาเสพติดก็ควรได้รับการดูแลเฝ้าระวัง เป็นการเอ็กซเรย์ตรวจสอบไปถึงระดับชุมชน ระรับครอบครัว เพราะคนในชุมชนด้วยกันเองนั้นย่อมรู้ดีว่าในชุมชนของตนเป็นอย่างไร คนบ้าคนติดยาอยู่ที่ไหน ตอนนี้มีสภาพเป็นอย่างไร ชุมชนจะช่วยกันดูแลแก้ไขเฝ้าระวังสนับสนุนหรือกำหนดนโยบายและแผนรองรับให้ชัดเจน หากปล่อยไว้สภาพปัญหาก็จะลุกชามรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นก็สายเสียแล้วที่จะแก้ไขเยียวยาได้