ปัจจุบันหลายคนอาจยังสับสน และมีคำถามในใจว่า "เงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี?" โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงานหรือมีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อไม่ให้พลาดสิทธิประโยชน์ทางภาษี และไม่เกิดปัญหาในภายหลัง มาทำความเข้าใจเรื่องเกณฑ์การเสียภาษี และวิธีคำนวณกันอย่างละเอียดกันดีกว่า
เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเริ่มเสียภาษี
ตามกฎหมายกำหนดว่า ผู้มีรายได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง และผลประโยชน์อื่น ๆ จากการจ้างงานรวมกันไม่เกิน 120,000 บาทต่อปี ไม่จำเป็นต้องยื่นแบบภาษี หรือคิดเป็นเงินเดือนประมาณ 10,000 บาท
แต่สำหรับผู้ที่มีรายได้มากกว่า 120,000 บาทต่อปีแต่ไม่เกิน 150,000 บาท จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ แต่ยังไม่ต้องเสียภาษี เพราะได้รับการยกเว้น ส่วนผู้ที่มีรายได้เกิน 150,000 บาทต่อปี จะเริ่มต้องเสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า
วิธีคำนวณเงินได้สุทธิก่อนคิดภาษี
เงินได้สุทธิคำนวณจากสูตร
- เงินได้พึงประเมินทั้งปี
- หักค่าใช้จ่าย (50% ของรายได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)
- หักค่าลดหย่อนส่วนตัว (60,000 บาท)
- หักค่าประกันสังคม (สูงสุด 9,000 บาท)
ตัวอย่างการคำนวณ
- สมมติว่ามีเงินเดือน 30,000 บาท (รายได้ต่อปี 360,000 บาท)
- หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท (50% แต่ไม่เกิน 100,000)
- หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- หักค่าประกันสังคม 9,000 บาท
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน 150,000 บาท
- 191,000 - 150,000 = 41,000 บาท
คำนวณภาษี 5% ของส่วนที่เกิน
- 41,000 × 5% = 2,050 บาท (จำนวนที่ต้องเสียภาษี)
แนวทางการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง
หากคุณกำลังมองหาวิธีลดหย่อนภาษี ก็มีรูปแบบการลงทุนหลายประเภท ที่ให้ทั้งความคุ้มครองด้านสุขภาพ ชีวิต รวมไปถึงการเก็บออมอีกด้วย เรามาลองดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ช่วยลดหย่อนได้
ทำประกันชีวิต
ประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับประกันบำนาญสามารถลดหย่อนได้เพิ่มอีกไม่เกิน 200,000 บาท แต่ต้องระวังเงื่อนไขการถือครองกรมธรรม์ตามที่กำหนด
ทำประกันสุขภาพ
เบี้ยประกันสุขภาพส่วนตัวสามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท นอกจากนี้ยังสามารถลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาได้อีกไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ควรเลือกแผนประกันที่เหมาะสมกับความต้องการ และความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันระยะยาว
ลงทุนในกองทุนรวม RMF
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการออมระยะยาวเพื่อวัยเกษียณ สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ
- ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี อย่างน้อยปีละ 3% ของเงินได้ หรือ 5,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดต่ำกว่า
- ต้องถือครองจนอายุ 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
- หากผิดเงื่อนไขต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้งหมด
ลงทุนในกองทุนรวม SSF
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท มีข้อดีคือ
- ไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีเหมือน RMF
- มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายให้เลือก
- ต้องถือครองหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี
เพราะการวางแผนภาษี เป็นเรื่องสำคัญของทุกคนที่มีรายได้ การศึกษาเรื่องอัตราภาษี วิธีคำนวณ และแนวทางการลดหย่อนภาษี จึงช่วยให้คนทำงานสามารถมีเงินเหลือเก็บได้อย่างสบายใจ และหากคุณสนใจทำประกัน SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต พร้อมดูแลคุณ สามารถขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ ตัวแทน หรือสนใจซื้อประกันออนไลน์ สามารถติดตามข่าวสาร SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต ได้ที่ Facebook SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต, LINE Official @THAIGROUP และ Call Center โทร 0 2255 5656 ซื้อประกันชีวิตกับ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต เพราะเราเข้าใจคุณในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเรื่องออมเงิน ลดหย่อนภาษี คุ้มครองสุขภาพ หรือวางแผนเกษียณ ไม่ว่าเรื่องไหนๆ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต พร้อมมอบความสุขให้คุณในทุกด้าน