วันที่ 17ธ.ค.67 ที่แปลงเกษตรกรต้นแบบนายบุญเรือง กองทำ บ้านผักบุ้ง หมู่ที่ 6 ตำบลดงแคนใหญ่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร นายขาญชัย ศรีชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรเป็นประธานเปิดงานเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(Green Day)ตามที่สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธรได้จัดขึ้นโดยมีส่วนราชการอำเภอคำเขื่อนแก้วผู้นำท้องที่ท้องถิ่นเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
นายนพดล ผุดผ่องเกษตรจังหวัดยโสธรเปิดเผยว่าจังหวัดยโสธร มีพื้นที่เกษตรกรรม 1,649,544 ไร่ หรือร้อยละ 63.42 ของพื้นที่ เกษตรกรจำนวน 101,740 ครัวเรือน เกิดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลายประเภทเช่นฟางข้าว ใบไม้ เปลือกถั่ว แกลบ ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง วัสดุเหล่านี้มีปริมาณมากและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรและชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการพื้นที่และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ จึงไม่มีการวางแผนในการจัดการพื้นที่และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกษตรกรเผาเศษวัสดุในพื้นที่เพื่อทำการเกษตรฤดูถัดไปหรือทิ้ง ไม่นำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมีปริมาณมากและเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลากหลาย เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปี 2568 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดเป้าหมายจำนวนวนจุดความร้อนในพื้นที่การเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพรวมลดลงร้อยละ 20 ใน 3 ชนิดพืช ได้แก่จุดความร้อนลดลงร้อยละ 30 อ้อยโรงงาน จุดความร้อนลดลงร้อยละ 15 และเลี้ยงสัตว์ จุดความร้อนลดลงร้อยละ 10 ด้วยเหตุนี้จังหวัดยโสธร จึงได้จัดเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดร้อม (Green Day) เพื่อส่งเริ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่ให้มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ลดต้นทุนการผลิต สร้างรายได้เพิ่ม มีการสร้างมูลค่าเพิ่มวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายในกรบริหารจัดการพื้นที่และวัสดุเหลือใช้ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเกษตรกรเป้าหมาย200 รายเกษตรกรทั่วไป จำนวน 120 รายเกษตรกรจากกิจกรรมพืชใช้น้ำน้อย 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคำเชื่อนแก้ว อำเภอทรายมูล อำเภอกุดชุม และอำเภอเลิงนกทา อำเภอละ 20 ราย
นายนพดลฯยังกล่าวอีกว่าสำหรับกิจกรรมประกอบด้วย1.การสาธิตหยอดถั่วเขียว พันธุ์ KUML2.การสาธิตไถกลบตอซังข้าวและหว่านพืชปุยสด3.ฐานเรียนรู้ จำนวน 6 ฐาน ได้แก่1.การไถกลบตอซัง2.การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร3.การเพาะเห็ดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร4.การปลูกพืชหลังนา/ใช้น้ำน้อย5.การผลิตปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและฐานเรียนรู้ที่ 6 การจัดการดินปุ๋ยและการอารักขาพืช
นายนพดลยังกล่าวเพิ่มเติมว่านอกจากนั้นยังได้จัดนิทรรศการ จำนวน 9 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปฏิรูปที่ดิปที่ดินจังหวัดศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านวิศวกรรมเกษตร จังหวัดร้อยเอ็ด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดยโสธร, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยโสธรสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, บริษัท อวยชัยแทรคเตอร์ บริษัท พลาสม่า เพียวริตี้ พาวเวอร์ และหจก. คูโบต้าเครือเลาเจริญยโสธรและการจำหน่ายสินค้าเกษตร ผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากกลุ่มองค์กรเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน แปลงใหญ่ และศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)ด้วย