มูลนิธิรอสคองเกรส (Roscongress Foundation) ร่วมกับ สถานทูต และคณะผู้แทนการค้าของรัสเซียประจำประเทศไทยจัดการประชุมส่งเสริมศักยภาพธุรกิจและการลงทุนของรัสเซียเป็นครั้งแรกในประเทศ โดยภายในงานมีตัวแทนจากฝั่งผู้ประกอบการและสมาคมธุรกิจของไทยเข้าร่วมกว่า 180 ราย ซึ่งครอบคลุมทั้งใน อุตสาหกรรมเทคโนโลยี การแพทย์ ภาคประชาสังคม พลังงาน ธุรกิจค้าปลีก เกษตรกรรม และการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ ประเทศไทยยังคงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับรัสเซียแม้ท่ามกลางการคว่ำบาตรจากกลุ่มประเทศตะวันตก โดยในปี 2566 ความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างรัสเซียและไทยยังคงพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งมีมูลค่าการค้าถึง 1,500 ล้านดอลลาร์ โดยผู้บรรยายในงานมีความเชื่อมั่นว่าตัวเลขดังกล่าวมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องและเห็นว่ารูปแบบความร่วมมือในอนาคต ควรเป็นความร่วมมือระดับประเทศของทั้งไทยและรัสเซียผ่านการเจรจาที่ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โดยโครงการของมูลนิธิรอสคองเกรส มีส่วนสำคัญในการช่วยสนับสนุนความร่วมมือดังกล่าวและการนำเสนอโครงการข้างต้น คือหัวใจหลักของงานในครั้งนี้
ขณะที่ อเล็กซานเดอร์ สตุกเลฟ ประธานและซีอีโอของมูลนิธิรอสคองเกรส ยังได้นำเสนอเวทีเสวนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น St. Petersburg International Economic Forum, the Russian Energy Week, the Russian Travel Tourism Forum “Let’s Travel”, St. Petersburg International Legal Forum, the Russian Design Industry Forum และ the Eastern Economic Forum. อเล็กซานเดอร์ สตุกเลฟ ได้กล่าวว่า ธุรกิจไทยได้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย มูลนิธิรอสคองเกรส ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2566 ที่ผ่านมาภาคธุรกิจไทยเข้าร่วมกิจกรรมของมูลนิธิรอสคองเกรส อย่างต่อเนื่องโดย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และตัวแทนจาก บริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆ ในภาคพลังงานและ เทคโนโลยี จำนวน 157 แห่ง ได้เข้าร่วมวงเสวนา Eastern Economic Forum และในปี 2567 ประเทศไทยได้นำเสนอนิทรรศการ ขนาดใหญ่ ภายใต้ชื่อ The Travel! Forum
“ตามที่ได้มีการระบุไว้ใน International Business Forum "World of Opportunities: Russia-ASEAN" ที่ผ่านมาว่า ความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียนยังคงดำเนินต่อไปและเป็นหนึ่งในกลุ่มความร่วมมือที่รัฐบาลรัสเซียให้ความสำคัญ ซึ่ง ประเทศไทยในฐานะหนึ่งในเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียนมีความน่าสนใจเป็นพิเศษในมุมมองของภาคธุรกิจรัสเซีย โดยหน้าที่ของเรา คือรวบรวมโอกาสทั้งหมดเพื่อความร่วมมือระหว่างธุรกิจรัสเซียและไทย ที่ผ่านมามูลนิธิรอสคองเกรสสร้างโอกาสแก่ธุรกิจไทย ในการค้นหาคู่ค้า บรรลุข้อตกลง และหารือเพื่อการร่วมมือในอนาคต” สตุกเลฟ กล่าวเสริม
ที่สำคัญปัจจุบันการพัฒนาความร่วมมือของทั้งสองประเทศได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยรัฐบาลรัสเซียเสนอเงื่อนไข ที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจให้แก่ประเทศไทย ตัวอย่างเช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ อาทิ พื้นที่การพัฒนาขั้นสูงในภาคตะวันออกไกล ผ่านการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและขั้นตอนการบริหารที่ไม่ซับซ้อน โดยประเทศไทยสนใจการส่งออกและความช่วยเหลือใน อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจากรัสเซีย นอกจากนี้ การส่งมอบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรรวมทั้งทรัพยากรด้านพลังงานของรัสเซีย อย่างสม่ำเสมอช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมภายในประเทศของไทยและช่วยลดต้นทุนการผลิตเช่นเดียวกัน
ด้านเยฟกินี โทมิคิน เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำประเทศไทย กล่าวว่า "ไทยและรัสเซียได้สร้าง ความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ เช่น พลังงานและเกษตรกรรม รวมทั้งกำลังหารือประเด็นการบังคับ ใช้กฎหมายผ่านสภาความมั่นคงของรัสเซียและไทย นอกจากนี้ทั้งสองประเทศอยู่ในช่วงพิจารณาความเป็นไปได้ของข้อตกลงเขต การค้าเสรีกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (Eurasian Economic Union : EAEU) ซึ่งอาจช่วยสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือทาง เศรษฐกิจได้ อีกทั้งความร่วมมือด้านมนุษยธรรมก็อยู่ในช่วงดำเนินการผ่านโครงการร่วมในด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา และวัฒนธรรม ผมมั่นใจว่าการประชุมครั้งนี้จะกลายเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาโครงการในพื้นที่เหล่านี้ รวมถึงในเวทีธุรกิจสำคัญ ในรัสเซีย"
“เราได้รับคำขอทางด้านความร่วมมือจากทั้งนักธุรกิจไทย และ ธุรกิจจากทางรัสเซียเป็นจำนวนมาก และการประชุมในครั้งนี้มีความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมค้นหาวิธีการผ่านอุปสรรคร่วมกัน นี้คืออีกเหตุผลสำคัญที่ธุรกิจไทยควรเข้าร่วมอีเว้นท์ทางธุรกิจของรัสเซีย รวมไปถึงงานที่จะจัดขึ้นจากมูลนิธิรอสคองเกรส ทั้งนี้ยิ่งมีจำนวนบริษัทเข้าร่วมมากเท่าไรเราก็ยิ่งมีโอกาสที่จะสร้างความร่วมมือทางธุรกิจมากขึ้นเท่านั้น” ยูริ ลีชิน (Yuri Lyzhin) ผู้แทนทางการค้าของสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทย กล่าว
โดยมากไปกว่าตัวแทนจากภาคธุรกิจได้แบ่งปันประสบการณ์ความร่วมมือระหว่างรัสเซียและไทย ผู้ร่วมอภิปรายประกอบ ด้วย ยูริ ลีชิน (Yuri Lyzhin) ผู้แทนทางการค้าของสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทย คอนสแตนติน กอร์เชเนฟ (Konstantin Gorshenev) ตัวแทนจาก "OPORA Russia” องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่ทำหน้าที่สร้างพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างเจ้าของและผู้จัดการธุรกิจขนาดเล็กและกลางประจำกรุงเทพฯ วารินทร์ แคร่า รองประธาน กรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Cloudsec Asia และอดิศร์ กฤษณวงศ์ กรรมการบริหารสูงสุดหอการค้าแห่งประเทศไทย ส่วนผู้ที่สนใจที่จะเข้าร่วมการเจรจาทางธุรกิจในปี 2568 ที่จะถึงนี้ สามารถเข้าร่วมได้ที่ the St.Petersburg International Economic Forum ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-21 มิถุนายน 2568 และในช่วงฤดูใบไม้ร่วงกับ the Eastern Economic Forum ที่เมืองวลาดิวอสตอค ระหว่างวันที่ 3-6 กันยายน 2568