เป็นที่น่าจับตามองในเรื่องของเทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรมของประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งมีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน บ่งชี้ถึงความก้าวหน้าในการพลิกโฉมประเทศให้เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และพร้อมสำหรับโลกอนาคต


วันที่ 9 ธ.ค.2567 ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ประธานบอร์ดของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ซึ่งเป็นกองทุนวิจัยของประเทศในด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เผยถึง “แนวโน้มโลกและทิศทางการวิจัยและนวัตกรรมไทย 2568” ในเวทีใหญ่แห่งปี ของวงการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย ในงาน “ทิศทางวิจัย X นวัตกรรมไทย 2568” ที่จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้ทำงานร่วมกับธนาคารโลก The World Bank Group ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในระดับนานาชาติ โดยกล่าวว่า “ความความก้าวหน้าของการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมไทยในปี 2567 นักวิจัยและนักวิชาการของประเทศไทยสร้างผลงานมากมาย เห็นได้จากตัวอย่างความสำเร็จของวงการวิจัยไทยที่สามารถทำให้เกิดความมุ่งเน้นหลายเรื่อง โดยมีประเด็นหลักคือ เรื่องของสุขภาพการแพทย์ การเกษตร และอื่น ๆ อีกทั้งงานวิจัยด้าน AI รวมถึง Advance Electronic วัสดุศาสตร์ และด้วยกระแสการเปลี่ยนแปลงโลก จึงได้ดำเนินการการวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยใน ปี 2568 ได้กำหนดเป้าหมายขับเคลื่อนประเทศในประเด็นสำคัญ 5-10 เป้าหมาย และสนับสนุนให้มีบุคลากรใหม่ด้านการวิจัยเพิ่มขึ้น ส่งเสริมนักวิจัยใหม่ สร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการร่วมมือ ร่วมลงทุนกับกลไกงบประมาณต่าง ๆ ของประเทศ”


สำหรับ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งในปี 2568 อันดับแรกต้องยก AI Everywhere ในด้านต่าง ๆ ซึ่งถือว่าในปีนี้มีความสำคัญอย่างมาก และจะมีความสำคัญยิ่งขึ้นในปี 2568 จะเป็น AI ในทุกๆ ที่ ซึ่งมองว่าจะเห็น AI เพิ่มขึ้นใน 4 ประเด็นนี้ 1. ด้านการให้บริการประชาชน 2. ด้านการแพทย์ โดยเฉพาะเรื่องของการวินิจฉัยโรคต่างๆ และใช้ในการรักษาโรค 3. ด้านการศึกษา ทำให้การเรียนการสอนดีขึ้น ตรงเป้าหมายมากขึ้น ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล 4. ด้านการเกษตร เช่น การควบคุมการให้ปุ๋ย น้ำอย่างเหมาะสม ซึ่งการวิจัยจะต้องดูถึงการใช้ AI อย่างเหมาะสม เช่น การบิดเบือนข้อมูลต่าง ๆ  เป็นต้น


2. D4 (DIGITALIZATION 4.0) ซึ่งในปี 2568 คาดว่าจะเกิดคลื่นลูกที่ 4 จะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด มีการนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ระบบจำนวนมาก เพื่อดำเนินการในด้านต่าง ๆ เห็นได้จากการเดินทางเข้าบางประเทศด้วยกระบวนการสแกนใบหน้า เพิ่มความสะดวกในการแสดงหนังสือเดินทาง


3. QT (Quantum computing) ระบบคอมพิวเตอร์จะมีการประมวลผลและสมรรถภาพสูงขึ้น หนึ่งในความก้าวหน้าที่มากขึ้น คือเรื่องของ Quantum Computing บวกกับ Quantum Algorithm นำสู่กระบวนการต่าง ๆ 
4. EV (Electrified Transportation) มีตั้งแต่อีวีที่เป็นรถ ซึ่งราคารถอีวีในปีนี้ถือว่าถูกแล้ว แต่ปีหน้าจะถูกกว่านี้และ
อีวีในอนาคตยังรวมถึงระบบการขับเคลื่อนที่เป็นไฟฟ้าอีกหลายระบบตามมา ประกอบด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่เกี่ยวข้อง


5. HT (Advanced Health Technology) เทคโนโลยีการแพทย์ชั้นสูงที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างอย่างนาฬิกาสมาร์ทวอทช์บางรุ่นจะสามารถวัดค่าได้หลากหลายและต่อเนื่อง เช่น ระดับน้ำตาลในเลือด ประสิทธิภาพการทำงานของตับ ไต เป็น Wearable Devise ที่เกิดขึ้น อีกทั้งระบบเทเลเมดิซีน รวมถึงยาตัวใหม่ วัคซีนป้องกันโรคอีกหลายตัว ตลอดจนเทคโนโลยีดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
6. CE (Clean & Renewable Energy) การใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดในกระบวนการผลิตสินค้าต่างๆ รวมถึงการดำเนินการเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น Battery Storage, Advance Solar รวมถึงเทคโนโลยีที่ประเทศไทยดำเนินการแล้ว คือเรื่อง Fusion, Small Modular Reactor


7. RB (Industrial & Service Robotics) คาดว่าจะเกิดการขยายตัวของหุ่นยนต์ ในปัจจุบันหุ่นยนต์มีบทบาทในอุตสาหกรรมการผลิต เรื่องของการประกอบชิ้นส่วนของรถยนต์ สำหรับในอนาคตหุ่นยนต์จะถูกนำมาใช้นอกโรงงานในหลากหลายรูปแบบ เช่น ภาคการเกษตร การใช้เครื่องจักรกลต่าง ๆ ในภาคการก่อสร้าง การช่วยสร้างถนน

นพ.สิริฤกษ์ กล่าวด้วยว่า ใน 3 เทคโนโลยีสุดท้าย เป็นเรื่องที่นักวิจัยไทยอยากเห็น และเป็นความท้าทาย คือ 8. CC (Climate Change & Extreme Weather Tech) เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอากาศ อากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อยากเห็นการออกแบบตึก ผังเมือง การใช้อุปกรณ์ในการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงเรื่องของ Smart City, Sustainable Urban Planning

9. SE (Space Economy) การพัฒนาเทคโนโลยีและเศรษฐกิจอวกาศของประเทศไทยมีความน่าสนใจมากขึ้น และมีโอกาสเติบโตในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยอุตสาหกรรมอวกาศเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (10 S-Curve) มีเป้าหมายสำคัญในการกลับไปบนดวงจันทร์อีกครั้ง รวมถึงการเดินทางไปดาวอังคาร จะมีการขยายตัวของสิ่งที่เรียกว่า “แซทเทินไลท์ อินเตอร์เน็ต” หลายคนคาดการณ์ว่าการติดต่อของโลกต่อไป นอกเหนือจากสัญญาณ 5G ในปัจจุบันแล้ว ยังมีการเพิ่มขึ้นของการสื่อสารโดยตรงจากดาวเทียมด้วย
10. NT (Neuro-Technology) เทคโนโลยีด้านสมอง หนึ่งในเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นในอนาคต ที่ถือเป็นความท้าทายด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ในยุคถัดไปอันใกล้นี้ เป็นความเข้าใจทางด้านสมองของมนุษย์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แต่ต่อไปจะรักษามะเร็งได้ ดังนั้นกระบวนการในความเข้าใจเรื่องป้องกันและดูแลสมองจึงจะเป็นเรื่องสำคัญ รวมทั้งเชื่อว่าในยุคต่อไป เมื่อนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาประมวลแล้ว มนุษย์จะต้องทำงานร่วมกับเครื่องจักรกลต่างๆ เรื่องของ Brain Computer Interface ซึ่งมีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมดำเนินการอยู่ในขณะนี้ และทั้งหมดนี้จึงเป็น 10 เทคโนโลยี ที่ต้องจับตามองต่อไป