“บิ๊กอ้วน” ถือปืนกลาโหม หนุนไทยผลิต แต่เปลี่ยนท่า บอก “ไม่อยากจะโชว์” ชมนิทรรศการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

เมื่อวันที่ 27 พ.ย.67 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เยี่ยมชมการจัดนิทรรศการอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศ ที่ศาลาว่าการกลาโหม โดยมีปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ร่วมชมนิทรรศการ ก่อนประชุมสภากลาโหม

พล.อ.วัฒนา ฉัตรรัตนแสง ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ได้ชี้แจงถึงแผนงานที่สำคัญด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่จะเร่งรัดเพื่อสนองตอนโยบายรัฐบาลในด้านการพัฒนางานวิจัยให้เป็นผลิตภัณฑที่ขายสู่ตลาดโลกได้จริง จำนวน 3 แผนงานคือ การสร้างช่องทางการขายไปต่างประเทศ ด้วยการจับคู่ธุรกิจ ปัจจุบันโรงงานในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้เข้ารวมงานกับผู้ประกอบการภาคเอกชนไทย เพื่อวิจัยและส่งออก ไนโตรเซลลูโลส ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่ใชในการผลิตดินส่งกระสุน โดยปี 2568 คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 36 ล้านบาท และอีกช่องทางหนึ่งคือการส่งออกผ่านบริษัทรวมทุนระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศกับภาคเอกชน

โดยการปรับปรุงขั้นตอนการส่งออก ตามพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ.2550 จากเดิมที่เป็นการขออนุญาตเป็นรายครั้ง ซึ่งใช้ระยะเวลา 81 วันทำการ เป็นการ ขออนุญาตแบบโควตาล่วงหน้ารายปี และเมื่อผู้ประกอบการได้รับใบสั่งซื้อจากลูกค่าต่างประเทศจะสามารถยื่นคำขอรับหนังสืออนุญาตส่งออกตอรัฐมนตรีวาการกระทรวงกลาโหม ทำให้ระยะเวลาการขออนุญาตลดลงเหลือ 30 วันทำการ

ขณะที่การจัดทำระบบประเมินมูลค่าการผลิต และมูลคาการสงออก ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อประเมินว่า สิ่งที่รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ ผ่านมาตรการต่างๆ กิจการอุตสาหกรรมปองกันประเทศได้สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจใหกับประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าการผลิตและมูลค่าการส่งออกเท่าไหร่ เอกชนไทยเติบโตขึ้นจริงหรือไม่

สำหรับผลงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่นำมาจัดแสดง ประกอบด้วย โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องยิงลูกระเบิด 120 มม. M132 A1 แบบอัตราจรล้อยาง วิจัยโดย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 120 มม. M132 A1 แบบลากจูง, ปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มม. คชสีห์ งานวิจัยปืนพก ขนาด 11 มม. เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีผลงานจาก โรงงานวัตถุระเบิด ทหาร กรมการอุตสาหกรรมทหาร ฯ ซึ่งมีขีดความสามารถในการผลิตดินส่งกระสุน ผลิตกระสุนปืนครบนัด ทั้งกระสุนปืนเล็ก กระสุนปืนพก และกระสุนปืนลูกซอง เพื่อสนับสนุนเหล่าทัพ และจำหน่ายแก่ภาคเอกชน รวมถึงโครงการขยายขีดความสามารถในการผลิตดินส่งกระสุนฐานคู่แบบเม็ดกลม

ทั้งนี้โรงงาน แบตเตอรี่ทหาร สามารถผลิตแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรด 4 ชนิด ได้แก่ แบตเตอรี่ทางยุทธการแบตเตอรี่ทางธุรการ แบตเตอรี่รถไฟ และแบตเตอรี่โซล่าเซลล์ โรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร จัดจำหน่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อความมั่นคงของชาติ และกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุนหน่วยงานในสังกัด กระทรวงกลาโหม และกระทรวงสาธารณสุขกรมการพลังงานทหาร ประเมินศักยภาพและแนวทางการพัฒนาแหล่งผลิตปิโตรเลียม รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการกลั่นน้ำมันดิบ และการดำเนินงานด้านพลังงานทดแทนกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม วางแผนให้เป็นหน่วยงานด้านการลงทุน (PMU) เกี่ยวกับโครงการความมั่นคงของประเทศที่เป็น Dual Use

นอกจากนี้ นายภูมิธรรม เยี่ยมชมเครื่องยิงลูกระเบิด 120 มม.แบบอัตตาจร ล้อยาง เยี่ยมชมนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยได้รับฟังรายงานสรุปจากหลายหน่วยงาน โรงงานเภสัชกรรมทหาร โรงงานแบตเตอรี่ทหาร โรงงานวัตถุระเบิดทหาร กรมการพลังงานทหาร และศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ทั้งนึีนายภูมิธรรม ได้ทดลองถือปืนเล็กยาว 5.56 มม.รุ่น MOD 2022 Carbine สำหรับใช้ในราชการทหารด้วย โดยหันปลายกระบอกขึ้นฟ้า “ไม่อยากโชว์“