บสย. เดินหน้าช่วย SMEs ทุกมิติ เปิดยอดค้ำประกันสินเชื่อ 10 เดือน 43,228 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการเข้าถึงสินเชื่อ  76,840 ราย เผย PGS 11 ค้ำประกัน ทะลุ  2 หมื่นล้าน ขยายกลุ่ม SMEs ที่ไม่เคยใช้บริการ บสย. ถึง 73% ขานรับนโยบายรัฐ ลุยแก้หนี้ให้SMEs  ถูกจ่ายเคลมหนังสือค้ำประกัน ผ่านมาตรการ "บสย. พร้อมช่วย" เร่ง Transforms องค์กรยายบทบาทช่วย SMEs ในประเทศไทย พร้อมมยกระดับกลไกค้ำประกันให้มีประสิทธิภาพ 


นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมชน (บสย.) เปิดเผยว่า ผลดำเนินงาน 10 เดือนของปี 2567 (ม.ค. -ต.ค.) บสย. มียอดค้ำประกันสินเชื่อ 43,228 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้น 76,840 ราย ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มรายย่อย สัดส่วนสูงถึง 90% ค้ำประกันเฉลี่ย 90,000 บาทต่อราย ที่เหลือ 10% เป็นกลุ่ม SMEs ค้ำประกันเฉลี่ย 4.78 ล้านบาทต่อราย ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงิน 46,775 ล้านบาท รักษาการจ้างงาน 398,998 ตำแหน่ง  เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกว่า 177,056 ล้านบาท แผนในปี 68 มองว่า ยอดค้ำประกันไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท 

สำหรับโครงการหลัก PGS 11 "บสย. SMEs ยั่งยืน" ซึ่ง บสย, ลงนามความร่วมมือกับสถาบันการเงิน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีเยี่ยม ตั้งแต่เปิดโครงการถึง 31 ตุลาคม 2567 มียอดค้ำประกัน 20,131 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ 19,039 ราย   ดึงกลุ่มลูกค้าใหม่ผู้ไม่เคยใช้บริการ บสย. ถึง 73%   ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Micro SMEs สะท้อนว่าการช่วยเหลือ "กลุ่มเปราะบาง" ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า แม่ค้า อาชีพอิสระ ที่มีปัญหาในการเข้าถึงสินเชื่อ ให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้มากขึ้น

ปัจจัยสำคัญมาจากการออกแบบโครงการที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการได้ทุกกลุ่ม ตั้งแต่ Micro SMEs ไปจนถึงผู้ประกอบการใหม่  รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรม ภายใต้ยุทธศาสตร์ IGNITE THAILAND และธุรกิจที่ปรับตัวเข้าสู่สังคม Carbon ต่ำ รวมถึง SMEs กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จุดเด่น  อาทิ ฟรี! ค่าธรรมเนียมค้ำประกัน เริ่มต้น 2 ปีแรก และสูงสุดถึง 4 ปีแรก (รัฐบาลนผู้สนับสนุนค่าธรรมเนียมค้ำประกัน) วงเงินค้ำประกันต่อรายตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 40 ล้านบาท  นานสูงสุด 10 ปี ช่วยให้ SMEs เข้าถึงสินเชื่อด้วยต้นทางการเงินที่ต่ำ  

บสย. พร้อมตอบโจทย์นโยบายรัฐ ด้วยการยกระดับการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ในประเทศไทย ล่าสุด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง บสย. และ Korea Credit Guarantee Fund (KODIT) และKorea Technology Finance Corporation (KOTEC) สถาบันค้ำประกันสินเชื่อของสาธารณรัฐเกาหลี  เพื่อยกระดับและพัฒนาการค้ำประกันสินเชื่อในประเทศไทยให้แข็งแกร่ง เสริมสร้างกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ การบริหารจัดการความเสียงที่ดีขึ้น และเพิ่มศักยภาพอำนวยความสะดวกด้านเงินให้กับ SMEs รวมทั้งยกระดับเครดิต การันตี โมเดล โดยใช้ข้อมูลทางเลือกอื่นๆ ของผู้ประกอบการ SMEs  ทั้งสององค์กร เข้าไปร่วมถือหุ้นกับเอสเอ็มอี เพื่อเติมศัยภาพเอสเอ็มอี เช่น รูปแบบการใช้จ่าย และพฤติกรรมการชำระเงิน จ่ายค่าน้ำประปา ไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายรายเดือนอย่างไร จึงเป็นจุดเปลี่ยนในการวิเคราะห์ลูกค้า นำมาคำนวณคะแนนเครดิตค้ำประกันสินเชื่อ  พร้อมน้ำโมเดลดังกล่าวไปไช้กับรูปแบบธรกิจใหม่  การใช้เทคโนโลยีและนวัดกรรม หรือกลุ่มสตาร์พอัพอัพ  จากการ MOU กับทั้งสองสถาบัน จะช่วยขยายศักยภาพ  โดยขยายรูปแบบการค้ำประกันสินเชื่อ  ปัจจุบันที่ค้ำประกันและจ่ายเคลมเป็นรายพอร์ต (Portfolio Guarantee Sche : PGS)   บสย.จะเป็นผู้ประเมินความเสียงด้านเครดิตของผู้ประกอบการตรง ตั้งแต่การตรวจสอบข้อมูล การประเมินความเสี่ยงรายบุคคล การคิดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันตามระดับความเสี่ยง ทำให้ บสย. ขยายขอบเขตให้ความช่วยเหลือ SMEs ได้มากขึ้น   

ทั้งสององค์กร KODIT  และ KOTEC  สถาบันค้ำประกันสินเชื่อของสาธารณรัฐเกาหลี  ใช้ทุนจากการปล่อยกู้ของธนาคาร ทั้งสององค์กรจะมาช่วยบริการค้ำประกันสินค้า  จึงมีความแตกต่างจาก บสย. ซึ่งใช้งบประมาณร้อยเปอร์เซ็นต์จากรัฐบาล  บสย.พร้อมปรับบทบาทค้ำประกันทั้งแบบยกพอร์ตทั้งหมดจากแบงก์ และค้ำประกันรายบุคคล เคลมเป็นรายบุคคล เช่น กลุ่มเอสเอ็มอี ยื่นประมูลงานจากหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากเป็นการใช้เงินสดการันตีในการประมูลงาน 

นโยบายภาครัฐ สู่การจัดตั้ง "สถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ" (NaCGA : National Credit GuaranteeAgency)  เน้น 4 มิติหลัก ดังนี้

1. ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ SMEs ทุกกลุ่ม  เตรียมปรับโฉมและยกระดับสำนักงานเขตทั่วประเทศ (Branch Reformat) สู่การเป็นศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs ร่วมกับช่องทาง Digital LINE OA : @tcgfirst

​​​​​​​

2. ด้านการพัฒนาเครื่องมือโมเดลวิเคราะห์ความเสียงในรูปแบบข้อมูลทางเลือก  เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อในรูปแบบ RBP (Risk-Based Pncing) คิดค่าธรรมเนียมตามระดับความเสี่ยงของ SMEs   โดยใช้ Credit Scoring มาใช้พิจารณาค้ำประกันสินเชื่อ

3. ด้านการใช้ประโยชน์จาก Big Data ฐานข้อมูลการคำประกันสินเชื่อตลอดระยะเวลา 33 ปี มาวิเคราะห์ข้อมูลในมิติด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาโอกาสในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้มากยิ่งขึ้น ร่วมกับStakeholders ที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม

4. ด้านการใช้ Digital Disruption เป็นแรงเคลื่อนองค์กร เพื่อพัฒนาระบบงาน และบริการใหม่ๆ ทางการเงินบน Virtual Banking  ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบด้าน เป็นแรงผลักดันให้ บสย. ต้องปรับตัวและเรียนรู้ไม่หยุดนิ่ง   ตามพันธกิจและการเป็น SMEs' Gateway มุ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และองค์ความรู้ทั้งระบบ