ความผันผวนในโลกปัจจุบันเร่งตัวขึ้นทุกเสี้ยววินาที สถานการณ์ระหว่างประเทศมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความไม่แน่นอนและปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก วิธีการผลักดันให้โลกเดินไปสู่ความสันติ ความรุ่งเรือง ความปลอดภัย และอนาคตที่เจริญก้าวหน้า เป็นโจทย์ที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องร่วมกันหาคำตอบ
ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวกดดันให้ทุกประเทศต้องพร้อมใจกันเผชิญกับปัญหา การประชุม G20 ปี 2024 โดยมีเจ้าภาพเป็นประเทศบราซิล ถือเป็นเวทีที่เชิญชวนประเทศต่างๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ในประเด็น "การสร้างโลกที่เป็นธรรมและยั่งยืน" การประชุมครั้งนี้เป็นสุดยอดการประชุมสำคัญที่จัดขึ้นภายใต้สถานการณ์ระหว่างประเทศที่คับขันและซับซ้อน ปัจจุบันความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์เกิดเป็นโครงสร้างบูรณาการขึ้น และเกิดขึ้นในระยะยาว การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกซบเซาลง ลัทธิฝ่ายเดียวและลัทธิกีดกันทางการค้าแพร่หลายมากขึ้น และเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์กำลังแตกเป็นชิ้นๆ จากปัจจัยหลายประการเช่น การเมืองและเศรษฐศาสตร์ที่มีความเกี่ยวพันกัน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและความก้าวหน้าร่วมกันของทุกประเทศ วิธีจัดการกับความเสี่ยงและความท้าทายนี้อย่างมีประสิทธิผลจึงได้กลายเป็นประเด็นหลักของการประชุมในครั้งนี้
สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีของจีนจะเข้าร่วมการประชุม G20 ตั้งแต่วันที่ 17 ถึง 21 พฤศจิกายน ในเมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เพื่ออธิบายนโยบายและข้อเสนอของจีนในด้านธรรมาภิบาลโลก สันติภาพและการพัฒนาของโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจีนต่อลัทธิพหุภาคี เศรษฐกิจโลกที่คลอบคลุมและยั่งยืน ส่งมอบภูมิปัญญาจีนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาระดับโลก
ย้อนอดีตจีนในการประชุม G20 ที่ผ่านๆมา
ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เข้าร่วมการประชุม G20 หลายต่อหลายครั้ง โดยมักใช้คำพูดอุปมาที่ชัดเจนในการพูดคุยเกี่ยวกับความร่วมมือและผลลัพธ์ที่ได้รับประโยชน์ทุกฝ่าย เพื่อจัดหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดีสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก อุปมาอุไมยที่ทิ้งความประทับใจอันลึกซึ้งให้กับผู้คน
เราเปรียบเศรษฐกิจโลกเป็นดั่งร่างกายของมนุษย์ ฉะนั้นการซื้อขายแลกเปลี่ยนและการลงทุนก็จะเป็นเหมือนเลือดในร่างกาย ถ้าการไหลเวียนของเลือดไม่ดี ก็ยากที่จะเติบโตไปอย่างแข็งแรง เศรษฐกิจก็เช่นกัน
—— ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวไว้เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในช่วงแรกของการประชุมผู้นำ G20 ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2558
G20 เป็นเหมือนสะพานที่นำทุกคนมารวมกันจากทุกทิศทุกทาง นี่คือสะพานแห่งมิตรภาพที่เราไว้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งมิตรภาพทั่วโลก นี่คือสะพานแห่งความร่วมมือที่เราสามารถหารือเกี่ยวกับแผนงาน เสริมสร้างการประสานงาน กระชับความร่วมมือให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และแสวงหาผลลัพธ์ที่ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย
—— คำกล่าวของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในงานเลี้ยงต้อนรับการประชุม G20 หางโจว เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2559
จีนได้เสนอโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเพื่อระดมทรัพยากรมากขึ้น กระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน บรรลุการบูรณาการตลาด บูรณาการประเทศและภูมิภาคต่างๆ สู่โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจมากขึ้น และร่วมกันดำเนินการบนเส้นทางที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
——ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวไว้เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและประเด็นการค้าในการประชุมผู้นำ G20 ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562
กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว การสร้างชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมวลมนุษยชาติต้องอาศัยความพยายามอย่างไม่หยุดยั้งจากทุกประเทศทั่วโลก เส้นทางนั้นยาวไกลและยากลำบาก แต่ไม่ไกลเกินเอื้อม หากทนเดินต่อไป จะได้พบกับอนาคตที่เต็มไปด้วยความหวัง
——ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวไว้ในการประชุม G20 ครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2564
ประเทศต่างๆ ควรเคารพซึ่งกันและกัน แสวงหาจุดยืนร่วมกันโดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ และส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจโลกแบบเปิด ไม่ควรเบียดเบียนเพื่อนบ้าน โดยการสร้าง "กำแพงสูง" เพื่อปิดกั้นผู้อื่น
——ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวไว้ในการประชุม G20 ครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565
บทบาทของจีนในกลุ่ม G20
ในฐานะเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับโลกที่สำคัญ กลุ่ม G20 ประกอบด้วยประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา โดยคำนึงถึงความสมดุลของภูมิภาค มีความเป็นตัวแทนและเป็นผู้นำค่อนข้างสูง และแบกรับภารกิจสำคัญในการส่งเสริมเสถียรภาพและการเติบโตของเศรษฐกิจโลก จีนมีส่วนร่วมค่อนข้างมากในกิจการของ G20 ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้เข้าร่วมหรือเป็นประธานการประชุม G20 หลายครั้งและเสนอแนวคิดเชิงปฏิบัติ โดยชี้นำทิศทางในการตอบสนองต่อประเด็นสำคัญระดับโลกและการปฏิรูประบบธรรมาภิบาลระดับโลก
จีนให้ความสำคัญกับประเด็นการพัฒนา การพัฒนายังคงเป็นประเด็นหลักของโลกปัจจุบัน และ "วิธีการพัฒนา" เป็นโจทย์สำคัญ ในการประชุม G20 หางโจวประจำปี 2559 ซึ่งจีนเป็นเจ้าภาพ ปัญหาการพัฒนาจึงถูกยกมาเป็นประเด็นหลักเป็นครั้งแรก จีนสนับสนุนวิธีการพัฒนารูปแบบใหม่ โดยกำหนดวาระการพัฒนาที่สามารถดำเนินต่อเนื่องได้ในปี 2030 และส่งเสริมการพัฒนาที่ครอบคลุม ฯลฯ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกังวลของจีนและการจูงใจต่อปัญหาการพัฒนา
จีนได้เสนอโครงการพัฒนาระดับโลก โดยสนับสนุนในเรื่องของ "การส่งเสริมการพัฒนาระดับโลกที่ครอบคลุมมากขึ้น" "ส่งเสริมการพัฒนาระดับโลกที่เข้าถึงง่ายมากขึ้น" และ "ส่งเสริมการพัฒนาระดับโลกที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น" ซึ่งตอบโจทย์อย่างชัดเจนถึงคำถามหลักที่ว่า "การพัฒนาแบบใดที่โลกต้องการ " เป็นการแสดงออกถึงจุดยืน มุมมอง และกลยุทธ์ของจีนในการส่งเสริมการพัฒนาและความก้าวหน้าร่วมกันของทุกประเทศทั่วโลกอย่างมีประสิทธิภาพ
จีนส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจโลกแบบเปิด ยึดมั่นในการพัฒนาแบบเปิดมาโดยตลอดและพยายามมีส่วนร่วมกับการร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระดับโลก ในการประชุม G20 จีนเรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมกันปกป้องระบบการค้าพหุภาคี ต่อต้านกลุ่มกีดกันทางการค้า และส่งเสริมการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน นอกจากนี้จีนยังสร้างแพลตฟอร์มให้กับองค์กรต่างๆจากแต่ละประเทศเพื่อกระตุ้นการตลาด โดยการจัดงานต่างๆ เช่น งาน China International Import Expo ถือเป็นอีกหนึ่งพลังผลักดันในการส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจโลกแบบเปิด
จีนส่งเสริมการสร้างธรรมาภิบาลเศรษฐกิจโลก จีนมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลเศรษฐกิจโลกและส่งเสริมการประชุม G20 ให้มีบทบาทมากขึ้นในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และให้มีบทบาทมากขึ้นในการประสานงานนโยบายเศรษฐกิจระดับมหภาค การกำกับดูแลการเงินระหว่างประเทศ การค้าและการลงทุนระดับโลก ในขณะเดียวกัน จีนยังมีส่วนร่วมในการทำงานและความร่วมมือต่างๆ ภายในการประชุม G20 เสนอภูมิปัญญาและแนวทางแก้ไขปัญหาของจีนในการกำกับดูแลเศรษฐกิจโลก
การกระทำย่อมสำคัญกว่าคำพูด นับตั้งแต่ริเริ่มโครงการพัฒนาทั่วโลกมานั้น จีนได้ทุ่มเงินลงทุนไปแล้วกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ และร่วมโครงการกับแต่ละฝ่ายกว่า 1100 กว่าโครงการ จนได้รับการสนับสนุนจากหลายองค์กรระหว่างประเทศ ในฐานะหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนา จีนยืนเคียงข้างกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆมาโดยตลอด รักษาผลประโยชน์ที่มีต่อประเทศกำลังพัฒนา มุ่งมั่นที่จะยกระดับอิทธิพลของประเทศกำลังพัฒนา แสดงความคิดเห็นอย่างยุติธรรมต่อการเปลี่ยนแปลงธรรมาภิบาลระดับโลก และจัดหาแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้มากที่สุด รัฐบาลจีนมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และจะเป็นเสาหลักที่ค้ำยันการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก อีกทั้งเป็นขุมพลังให้กับกลุ่ม G20 เพื่อให้ผลการพัฒนาเกิดประโยชน์ที่เท่าเทียมกันแก่ผู้คนทั่วโลกมากขึ้น