นายฉิน กัง รัฐมนตรีการต่างประเทศจีนตเผยว่า “การริเริ่มโครงการ “เส้นทางสายไหม” เป็นการริเริ่มโดยจีน ทุกฝ่ายร่วมกันสร้าง และเป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะคุณภาพสูงที่สร้างและแบ่งปันทั่วโลก และยังเป็นโครงการที่มีมาตรฐานสูง ยั่งยืน และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของผู้คน เพราะเป็นโครงการที่มีคุณภาพสูงและสามารถใช้ได้จริงในเชิงปฏิบัติ จึงได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันสามารถดึงดูดสามในสี่จากประเทศทั่วโลก และ 32 องค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วมโครงการ” นายฉิน กัง กล่าวเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับการริเริ่ม “เส้นทางสายไหม” ของจีนและแผนโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกของสหรัฐอเมริกาและยุโรปว่ามีความสัมพันธ์เชิงแข่งขันกันหรือไม่ ในการแถลงข่าวของการประชุมสองสภา เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566
สิบปีแห่งการริเริ่ม จากพิมพ์เขียวกลายเป็นโครงการที่เกิดขึ้นจริง เป็นผลให้การพัฒนาของประเทศต่างๆ เกิดขึ้นและ ประชาชนได้รับประโยชน์ได้อย่างแท้จริง นับเป็นการปูเส้นทางสู่แสงสว่างเพื่อการพัฒนาร่วมกัน ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ความคิดริเริ่มของโครงการ “เส้นทางสายไหม” ได้ขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนเกือบหนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อให้เกิดโครงการความร่วมมือมากกว่า 3,000 โครงการ เป็นการสร้างงานให้กับประเทศต่างๆ ตามเส้นทางสายไหมแล้วกว่า 420,000 ตำแหน่ง และทำให้ผู้คนเกือบ 40 ล้านคนหลุดพ้นจากความยากจน
นายฉิน กัง กล่าวว่า “ โครงการ “เส้นทางสายไหม” เป็นความคิดริเริ่มเชิงรูปธรรมและเปิดกว้าง ยึดหลักการหารือ สร้างและแบ่งปันซึ่งกันและกัน ในความร่วมมือมีการปรึกษาหารือโดยตลอด แม้ในตอนแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันยังให้ความสำคัญกับมิตรภาพเป็นอย่างมาก สำหรับการริเริ่มโครงการนี้ของประเทศอื่นๆนั้น ตราบใดที่พวกเขามีอุดมการณ์เดียวกัน เรายินดีตอนรับเสมอ ตราบใดที่พวกเขาไม่มีผลประโยชน์ส่วนตนทางภูมิรัฐศาสตร์ เรายินดีทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นจริง
นายฉิน กัง เผยว่าถึงสิ่งที่เรียกว่า “กับดักหนี้” ไม่ว่าอย่างไรสิ่งนี้ก็จะไม่เกิดขึ้นกับจีนแน่นอน ตามสถิติชี้ว่า สถาบันการเงินพหุภาคีและเจ้าหนี้ทางการค้ามีสัดส่วนมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของหนี้สาธารณะของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นที่มาของแรงกัดดันหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ เงินทุนจากประเทศต่าง ๆ ทะยอยไหลออกมา ทำให้ปัญหาหนี้ของประเทศที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบแย่ลงไปอีก
นายฉิน กัง ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า จีนมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศที่ได้รับกระทบดังกล่าวมาโดยตลอด และจีนมีส่วนร่วมมากที่สุดในการริเริ่มผ่อนคลายหนี้ในกลุ่ม G20 ทั้งนี้ จีนยังมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหนี้ระหว่างประเทศด้วยทัศนคติที่สร้างสรรค์ ขณะเดียวกันจีนยังเรียกร้องให้ภาคีอื่นๆ ดำเนินการร่วมกันและแบ่งเบาภาระอย่างยุติธรรม ให้ทุกฝ่ายนั่งลงและเจรจากัน เพราะหนทางแก้ไขปัญหามีมากกว่าความยากลำบากแน่นอน