เมื่อวันที่ 14 พ.ย.67 ที่ บก.สส.บช.น.พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น , พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย ,พ.ต.อ.นิวัฒน์ พึ่งอุทัยศรี รอง ผบก สส.บช.น. พ.ต.อ.สิทธิศักดิ์ นาคามาตย์  ผกก.สส.2 บก.สส.บช.น. , พ.ต.ท ณัฐวุฒิ สีเสมอ , พ.ต.ท.นิติกรณ์ ระวัง รอง ผกก.สส.2 บก.สส.บช.น. สั่งการให้ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ท.วุฒิพันธ์ ผะอบทอง ,ร.ต.อ.เจษพงษ์ มีเพ็ชรทาน ,ร.ต.อ.พีรเวธน์ โพธิ  พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการที่ 1 ร่วมกันจับกุม นางสาววรรณชลี ไพฑูรย์ อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 166/1 ม.14 ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมาตามหมายจับศาลอาญา ที่ จ.1300/2567 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2567 

ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน , ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ผู้อื่นหรือประชาชน” โดยจับกุมได้ที่ หน้าบ้าน ม.15 ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

พล.ต.ต.ธีนเดช  กล่าวถึงพฤติกาณ์ว่าคดีมีผู้เสียหายแจ้งว่า เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2566 มีคนร้ายหลอกลวงให้ลงทุนออนไลน์ ชื้อขายเครื่องมือแพทย์ โดยได้ผลกำไรตอบแทนสูง ผู้แจ้งหลงเชื่อจึงโอนเงิน ทั้งหมด 11 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,034,899 บาท เมื่อครบกำหนดวันที่รับผลตอบแทนไม่สามารถถอนเงินออกจากระบบได้ทำให้ได้รับความเสียหาย ผู้แจ้งเชื่อว่าถูกหลอกลวงให้ลงทุน จึงมาแจ้งความร้องทุกข์เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีจนกว่าคดีจะสิ้นสุด ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสืบสวนเส้นทางการเงินจนทราบว่า บัญชีของน.ส.วรรณชลี เป็นบัญชีรับโอนเงินแถว 2 จากบัญชีทั้ง 11 บัญชีดังกล่าว จำนวน 300,000 บาท

จากการสอบสวนเบื้องต้น ผู้ต้องหาให้การว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.2565 ผู้ต้องหาได้เปิดบัญชีธนาคารให้เพื่อนที่รู้จักกันทาง Facebook ใช้บัญชีธนาคารดังกล่าว โดยอ้างว่านำไปซื้อขายสินค้าออนไลน์ จึงไว้ใจให้นำไปใช้ จากนั้นจึงนำตัวมาทำบันทึกจับกุม และ ควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน สน.พญาไท เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย

พล.ต.ต.ธีรเดช กล่าวว่าตามนโยบายของ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผช.ผบ.ตร. ให้ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมทางออนไลน์ ที่สร้างเดือดร้อนให้ประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์


เตือนให้ระวังมิจฉาชีพทางออนไลน์ที่มีจำนวนมาก โดยมิจฉาชีพมักนำมาใช้ในปัจจุบันคือการ “หลอกลงทุน” ทั้งการหลอกให้ลงทุนในหุ้น กองทุนรวม สกุลเงิน สินทรัพย์ดิจิทัล ทองคำ ตลอดจนสินค้าต่างๆ โดยรูปแบบการหลอกลวงพบได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเพจปลอม SMS ปลอม เว็บไซต์ปลอม หรือทางโทรศัพท์ ดังนั้น หากมีคนชักชวนให้ลงทุน อย่าเพิ่งเชื่อ ให้สอบถามชื่อบริษัท รูปแบบ และผลตอบแทนที่ได้รับ หากพบว่าผิดปกติหรือมีการการันตีผลตอบแทน ให้คิดไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพ หากท่านตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ สามารถแจ้งเข้ามาที่ศูนย์ AOC 1441 เพื่อทำการอายัดบัญชีคนร้าย และดำเนินคดีตามกฎหมายกับมิจฉาชีพ