วันที่ 2 ต.ค.67 ที่บริเวณ โบราณสถานเวียงกุมกาม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ นางสาวพันชนะ วัฒนเสถียร นายกสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ จับมือร่วมกับ นายธนกฤษ เวียงแก้ว นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ว่าที่ร้อยเอก สันติพงศ์ บุลยเลิศ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ นพ.สมิต ศมพันธุ์พงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสารภี
โดยมี สำนักงานศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ชมรมฮักเขาใหญ่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สนง.เชียงใหม่ สมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ ตำรวจตระเวนชายแดน 33 ตำรวจท่องเที่ยวเชียงใหม่ นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคสารภี วิทยาลัยอาชีวะเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ รวม 200 คน
จัดกิจกรรมที่ชื่อว่า “ ปันน้ำใจจากเขาสู่เจียงใหม่ ” โดยผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวของเขาใหญ่ และเชียงใหม่ จับมือร่วมกับภาครัฐ จังหวัดเชียงใหม่ ทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมฟื้นฟูเยียวยาภาคการท่องเที่ยว ภายหลังที่ผ่านมา เกิดน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถาณชื่อดัง เมืองเก่าเวียงกุมกาม ซึ่งเป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา ที่พญามังราย โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1829 โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน
สำหรับกิจกรรม เป็นความร่วมมือของภาคเอกชนภาครัฐ และเครือข่าย รวมพลังแจกถุงยังชีพ ให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและเดือดร้อนอย่างหนัก พร้อมร่วมกันทำความสะอาดโบราณสถานเวียงกุมกาม ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ที่ผ่านมา
นายธนกฤษ กล่าวว่า ทางสมาคมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ จับมือร่วมกับ สมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมกันทำความสะอาดเมืองเก่าเวียงกุมกาม ที่เกิดปรากฏการณ์น้ำท่วมหนักในรอบ 50 ปี และบริหารจัดการด้านขยะจากน้ำ สาธารณะสุข
นางสาวพันชนะ กล่าวว่า กิจกรรมนี้ เป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อจะช่วยกันดูแลฟื้นฟูเยียวยามอบกำลังใจ ภาคการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ให้กลับมาเร็วที่สุด และเป็นครั้งแรกของ 2 สมาคมท่องเที่ยวภาคอีสาน กับภาคเหนือ ทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมร่วมกัน ภายหลังประสบน้ำท่วมหนัก เราจะเน้นการคัดแยกขยะจากน้ำท่วม ส่วนการที่เลือกพื้นที่เมืองเก่าในการทำกิจกรรม เพื่อต้องการสร้างการรับรู้เชิงสัณลักษณ์ ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม อย่างยังยืน