"สภาผู้บริโภค" และ เครือข่าย" ผู้ได้รับผลกระทบจาก “ผังเมืองรวมกรุงเทพฯฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4)” ไม่ทนจัดรับฟังความคิดเห็นแค่พิธีกรรม ไร้การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ละเมิดสิทธิผู้ได้รับผลกระทบ ล่ารายชื่อยื่นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนคัดค้านวันพุธ 6 พ.ยนี้ ขณะที่  “อรรถวิชช์” ทวงคืนผังรับน้ำคู้บอน 8 แสนล้านลูกบาศเมตร หายจากผังเมืองรวม กทม. กลายเป็นหมู่บ้านจัดสรรของเอกชน

จากการที่กรุงเทพมหานครปิดรับฟังความคิดเห็น “ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่4) ในเดือนส.ค.2567 ที่ผ่านมาและเตรียมประกาศให้ประชาชนคัดค้านใน 90 วัน แต่พบว่ารายละเอียดของผังเมืองยังมีผลกระทบกับประชาชน ด้วยมีการขยายถนนมากถึง 148 เส้น และคลองอีก 200 คลอง โดยที่ประชาชนยังขาดการรับรู้และมีส่วนร่วมที่แท้จจริง เป็นเหตุให้สภาผู้บริโภคจัดเวทีสภาผู้บริโภคเพื่อ “เมืองที่เป็นธรรม” (Justice City) กรณี “การวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4) กับการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน” โดยมีเครือข่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมรับฟังและร่วมลงชื่อคัดค้านเพื่อยื่นให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิในวันพุธที่  6 พ.ย.นี้
             
วันที่ 2 พ.ย.2567 นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค  กล่าวว่า ที่ผ่านมาสภาผู้บริโภคได้ติดตามการร่างผังเมืองของกรุงเทพมหานคร และพบว่ามีปัญหาหลายประเด็นที่จะต้องได้รับแก้ไขอย่างเป็นระบบ เช่น เรื่องของน้ำท่วม ความแออัด และสภาพจราจร  เนื่องจากกรุงเทพฯมีประชากรเกือบ 5 ล้านคน  การอยู่อาศัยร่วมกันจึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทุกคนมีสิทธิที่จะมีส่วนนร่วมในการออกความคิดเห็น  ดังนั้นการร่างผังเมืองรวมต้องให้ประชาชนมีสิทธิ และมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น  และกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าการจัดทำผังเมือง จะต้องมีการจัดรับฟังความคิดเห็นและแสดงให้เห็นถึงผลกระทบกับประชาชนอย่างละเอียดชัดเจน แต่ที่ผ่านมากรุงเทพมมหานครดำเนินการโดยไม่มีการให้รายละเอียดผลกระทบและการสร้างการมีส่วนร่วมก็เป็นเพียงพิธีกรรมไม่ได้สร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
             
“สภาผู้บริโภคจึงจัดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน พบว่าในหลายพื้นที่ยังมีความเป็นห่วงและข้อกังวลของประชาชนว่าการร่างผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานครยังไม่ดำเนินการครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายว่าด้วยผังเมืองในปี 2562 ที่กำหนดเรื่องการมีส่วนร่วม  ซึ่งที่ผ่านมาสภาผู้บริโภคได้ทำหนังสือไปที่ กทม.เพื่อให้ทบทวนและจัดทำร่างผังเมืองใหม่ โดยเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม แต่ กทม.ไม่ทำ แต่จัดรับฟังความเห็นแบบพิธีกรรม เป็นเหตุให้เนื้อหาของผังเมืองรวมไม่มีความเปลี่ยนแปลงจากร่างผังเมืองเดิม  และพบว่ากระทบสิทธิของประชาชน หากปล่อยให้ดำเนินการต่อไปทำให้สิทธิของประชาชนอาจจะถูกละเมิดต่อไป ทำให้เรามีความคิดเห็นร่วมกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบว่าควรจะมีการยื่นหนังสือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่จะเข้ามาร่วมในการตรวจสอบ โดยจะเดินทางไปยื่นหนังสือในวันพุธที่ 6 พ.ย  นี้”
             
ด้านนางสุภัทรา  นาคะผิว  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  กล่าวว่า  หากประชาชนเข้าชื่อและยื่นต่อกรรมการสิทธิฯ ร่างผังเมืองรวม กทม. ที่อาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายด้าน อาทิ สิทธิข้อมูลข่าวสาร สิทธิการมีส่วนร่วม สิทธิในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี และสิทธิในทรัพย์สิน โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิในการมีที่อยู่อาศัย  ทำให้กรรมการสิทธิฯ พร้อมที่จะนำเรื่องดังกล่าวเข้ารับการพิจารณา ต่อคณะกรรมการสิทธินุษยชนแห่งชาติเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงว่ากระบวนการร่างผังเมืองรวมฯของ กทม.ละเมิดสิทธิของประชาชนหรือไม่ ซึ่งหากพบว่ามีการละเมิดสิทธิฯจริงเราจะเสนอไปยังกรุงเทพมหานครเพื่อให้พิจารณาต่อไป
             
สำหรับเวทีรับฟังความคิดเห็นของสภาผู้บริโภคได้สะท้อนปัญหาการละเมิดสิทธิในเรื่องของกระบวนการรับฟังความคิดและการมีส่วนร่วมในการร่างผังเมือรวม กทม. โดย นายพรพรหม โอกุชิ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย  กล่าวว่า  การร่างผังเมืองรวม กทม.เริ่มตั้งแต่ปี 2560 แต่เมื่อกฎหมายผังเมือง ปี 2562ออกมาบังคับใช้ทำให้ กทม.ต้องร่างผังเมืองรวมใหม่ โดยรวมเอาผังน้ำและผังสิ่งแวดล้อมเข้ามาร่วม แต่ทั้งหมดไม่มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น และไม่มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม แต่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมครั้งวันที่ 25 ก.ค 2566 และมีการประชุมรับฟัง 50 เขต แต่พบว่าการจัดรับฟังความคิดเห็นของ กทม.ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันรวมประชาชนมีส่วนร่วม 21,776คน จากประชากรกรุงเทพฯ 5.4  ล้านคน หรือ 0.4 % ของประชาชนทั้งหมด  ขณะที่ผังเมืองรวม กทมฯมีการาตัดถนนน 148 เส้นและมีการขยายคลอง 200 คลองที่อาจจะกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก

ขณะที่ ดร.อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในฐานะประชาชนคน กทม. ว่า  ได้จับตาร่างผังเมืองรวมของ กทม.ฉบับใหม่หลังจากที่เปิดรับความคิดเห็นแล็วเสร็จว่า ยังไม่ได้นำเอาผังน้ำคู้บอน กลับมาบรรจุในผังเมือง หลังจากที่ผ่านมาตนได้คัดค้าว่าผังน้ำคู้บอนหายไปจากผังเมืองรวม แม้ว่า ครม. ได้ประกาศเป็นพื้นที่รับน้ำไว้แล้ว ซึ่งถ้าเป็นตามผังน้ำจะสามารถรับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกได้มากถึง 870,000 ล้านลูกบาศเมตร  แต่กลับปรากกฏว่ามีพื้นที่หมู่บ้านจัดสรรของบริษัทเอกชนก่อสร้างขึ้นจำนวนมาก แม้จะมีป้ายประกาศติดไว้ชัดเจน
           
“ผังน้ำคู้บบอน เคยมีการประชาพิจารณ์ และเตรียมเวนคืน แต่มีความผิดปกติเพราะผังเมือรวมไม่มีการบรรจุผังน้ำดังกล่าวเอาไว้ แต่ถูกจัดสรรให้บริษัทเอกชนทำหมู่บ้านจัดสรร ทำให้เห็นว่า โครงการนี้ผิดปกติเพราะผังน้ำหายไปจากผังเมืองฉบับใหม่  ผมจะรอดูว่าหลังจากรับฟังความเห็นแล้ว ว่าผังน้ำจะกลับมาหรือไม่ ถ้ายังไม่มีผังน้ำคู้บอนในผังเมืองใหม่ ผมจะนำเรื่องนี้ไปยื่นต่อ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช. ) ”
               
ด้าน นายทวีทอง ลาดทอง ผู้แทนประชาชนจากเขตคลองเตย กล่าวว่า ในอดีตชุมชนคลองเตยเคยเสียสละพื้นที่ชุมชนให้นำไปสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ และย้ายวัดที่สำคัญชองเรา 4 แห่งออกจากพื้นที่ วันนี้เราจึงอยากมีส่วนร่วมกับการร่างผังเมืองรวม กทมฯ ฉบับที่ 4 โดยขอพื้นทื่ 20 % ของท่าเรือคลองเตยเป็นที่อยู่อาศัยของ 26 ชุมชนคลองเตยเพราะจะทำให้ประชาชนกว่า 5 แสนคนในพื้นที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากคนในชุมชนเห็นว่าโครงการสร้างคอมเพล็กซ์ในพื้นที่ท่าเรือจึงอยากขอพื้นที่บางส่วนเพื่อให้ชาวคลองเตยสามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยได้อย่างมั่นคง
               
นายวุฒิชัย ดุลยวิทย์ ผู้แทนประชาชนจากเขตวัฒนา  กล่าวว่า   เราต้องมาร้องเรียนผ่านสภาผู้บริโภค เพราะว่าเราคือผู้บริโภค และผังเมืองก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่รัฐต้องจัดที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นสิทธิของเรา เนื่องจากผังเมืองคือหัวใจทุกอย่าง และเป็นเรื่องที่ทุกคนมาตกลงกันว่าเราจะอยู่อย่างไรให้มีความสุข  แต่ที่ผ่านมาเราไม่เคยรู้เรื่องนี้แลยจนมีการร่างผังเมืองแล้วเสร็จจึงเห็นว่า มีถนนที่ขยายออกมากระทบเรา แต่การประชาสัมพันธ์และการสร้างการมีส่วนร่วมไม่ได้เกิดขึ้นจริง แล้วเราจะสร้างเมืองที่เป็นธรรม (Justice City) ได้อย่างไร
               
ขณะที่นายก้องศักดิ์ สหะศักดิ์มนตรี อนุกรรมการด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย  กล่าวว่า  สิ่งทีเราพบในการร่างผังเมือ กทม. คือ การประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับบรู้ที่ล้มเหลว โดยเชื่อว่าคนกรุงกว่า  99.5 % ไม่ได้มีส่วนร่วม เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความหมายของผังเมืองที่ขีดเส้นและเปลี่ยนสี จึงเป็นที่มาว่ากระบวนการมีส่วนร่วมที่ไม่มีการบอกรายละเอียด และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจถึงรายละเอียดผลกระทบที่ชัดเจน ถือเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน
               
“การประชาสัมพันธ์ผังเมือง กทม.จะพูดเฉพาะข้อดี แต่ไม่มีผลกระทบที่เกิดขึ้นเพราะความจริงแล้วทุกเส้นที่ขีด และสีที่วาดมีคนที่ได้รับผลกระทบอยู่  นอกจากนี้ไม่มีการชี้แจงรายละเอียดของผังเมืองเลยรวมถึงไม่มีแนวทางเยียวยา ขณะที่ร่างผังเมืองไม่สะท้อนความจริงของพื้นที่ทำให้มีผลกระทบกับประชาชนจำนวนมาก”