วันที่ 20 ต.ค.ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ใครจะคุ้มครองผู้บริโภค” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-16 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าของดารา และอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) คนดัง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการโฆษณาสินค้าของดารา อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.21 ระบุว่า ไม่ส่งผลเลย รองลงมา ร้อยละ 22.98 ระบุว่า ส่งผลมาก ร้อยละ 19.01 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผล และร้อยละ 15.80 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผล

ด้านความเชื่อของประชาชนที่มีต่อดารา อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ใช้สินค้าจากการโฆษณาจริง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 52.29 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าใช้สินค้านั้นจริง รองลงมา ร้อยละ 22.98 ระบุว่า เชื่อว่าใช้สินค้านั้นเป็นบางครั้ง ร้อยละ 20.53 ระบุว่า เชื่อว่าใช้สินค้านั้นเฉพาะตอนโฆษณา ร้อยละ 3.89 ระบุว่า เชื่อว่าใช้สินค้านั้นจริง และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความรู้สึกของประชาชนต่อการโฆษณาสินค้าที่มีของแถมจำนวนมาก และ/หรือ ลดราคาเยอะ ๆ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.12 ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่า คุณภาพสินค้าอาจไม่ดี รองลงมา ร้อยละ 30.23 ระบุว่า เป็นแค่วิธีการโฆษณาชวนเชื่อ ร้อยละ 23.89 ระบุว่า ไม่คิดจะซื้อสินค้าที่โฆษณาแบบนี้ ร้อยละ 19.47 ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่ามีเงื่อนไขอะไรแอบแฝงอยู่หรือเปล่า ร้อยละ 19.24 ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่า ต้นทุนสินค้าน่าจะถูกมาก ร้อยละ 17.94 ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่า สินค้านั้นอาจใกล้หมดอายุการใช้งาน ร้อยละ 8.63 ระบุว่า จะขอเปรียบเทียบคุณภาพกับสินค้าที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงก่อนตัดสินใจ ร้อยละ 8.17 ระบุว่า จะขอเปรียบเทียบราคากับสินค้าที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงก่อนตัดสินใจ ร้อยละ 7.02 ระบุว่า จะลองสั่งมาใช้ดู ร้อยละ 4.27 ระบุว่า ถ้าเป็นสินค้าที่ใช้เป็นประจำ จะซื้อสินค้านั้นทันที ร้อยละ 2.14 ระบุว่า สนใจที่จะซื้อสินค้านั้นทันที (แม้ว่าจะไม่เคยใช้ก็ตาม) และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับการร้องเรียนจากการถูกเอาเปรียบหรือหลอกลวงให้ซื้อสินค้าหรือลงทุน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.22 ระบุว่า ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ รองลงมา ร้อยละ 30.08 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ร้อยละ 25.19 ระบุว่า ไม่ร้องเรียนใด ๆ ร้อยละ 15.50 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสื่อ ร้อยละ 12.06 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับศิลปิน ดารา หรือจิตอาสาคนดัง เช่น หนุ่ม กรรชัย กัน จอมพลัง บุ๋ม ปนัดดา เป็นต้นร้อยละ 5.57 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (ไม่รวม สคบ.) ร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับทนายคนดัง ร้อยละ 1.68 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่เกี่ยวข้อง เช่น มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับนักการเมือง

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการร้องเรียนที่ได้รับความเป็นธรรมเร็วที่สุดจากการถูกเอาเปรียบหรือหลอกลวงให้ซื้อสินค้าหรือลงทุน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 24.81 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสื่อ รองลงมา ร้อยละ 23.05 ระบุว่า ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ ร้อยละ 15.88 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับศิลปิน ดารา หรือจิตอาสาคนดัง เช่น หนุ่ม กรรชัย กัน จอมพลัง บุ๋ม ปนัดดา เป็นต้น ร้อยละ 15.80 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และไม่ร้องเรียนใด ๆ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 1.91 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับทนายคนดัง ร้อยละ 1.45 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (ไม่รวม สคบ.) ร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่เกี่ยวข้อง เช่น มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ร้อยละ 0.07 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับนักการเมือง และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.34 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.90 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.76 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 36.72 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.22 สมรส และร้อยละ 2.06 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 0.92 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 20.69 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 34.58 จบการศึกษามัธยมศึกษา หรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.39 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30.69 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.73 จบการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.01 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.34 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.44 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 9.85 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.95 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.53 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.88 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 23.66 ไม่มีรายได้  ร้อยละ 3.44 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 13.89 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 28.93 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.07 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.58 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.97 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.37 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.23 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 0.84 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 7.79 ไม่ระบุรายได้