วันที่ 13 ต.ค.67 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “โกรธไหมถ้าเงินดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 2 ไม่ตรงปก” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-9 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรูปแบบการจ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 2 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงสถานะการได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 2 ของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 56.95 ระบุว่า อยู่ในกลุ่มที่จะได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต ในเฟสที่ 2 รองลงมา ร้อยละ 23.95 ระบุว่า อยู่ในกลุ่มที่จะไม่ได้รับเงินใด ๆ ร้อยละ 17.00 ระบุว่า อยู่ในกลุ่มที่ได้รับเงินสด 10,000 บาท ไปเรียบร้อยแล้ว และร้อยละ 2.10 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
เมื่อสอบถามผู้ที่ระบุว่าอยู่ในกลุ่มที่จะได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต ในเฟสที่ 2 และผู้ที่ระบุว่าไม่แน่ใจ (จำนวน 1,181 หน่วยตัวอย่าง)เกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่อรูปแบบการจ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 2 ดังนี้
รัฐบาลตัดสินใจยกเลิกโครงการ ไม่มีการจ่ายเงินไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือเงินดิจิทัล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.58 ระบุว่า โกรธมาก รองลงมา ร้อยละ 34.38 ระบุว่า ไม่โกรธเลย ร้อยละ 14.56 ระบุว่า ค่อนข้างโกรธ ร้อยละ 9.14 ระบุว่า ไม่ค่อยโกรธ และร้อยละ 0.34 ระบุว่าไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เป็นการจ่ายในรูปของเงินดิจิทัลวอลเล็ต แต่น้อยกว่า 10,000 บาท เช่น จ่ายแค่ 5,000 บาท พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.30 ระบุว่า ไม่โกรธเลย รองลงมา ร้อยละ 24.47 ระบุว่า โกรธมาก ร้อยละ 21.25 ระบุว่า ค่อนข้างโกรธ ร้อยละ 13.64 ระบุว่า ไม่ค่อยโกรธ และร้อยละ 0.34 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เป็นการจ่ายในรูปของเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 60.54 ระบุว่า ไม่โกรธเลย รองลงมา ร้อยละ 17.53 ระบุว่า ไม่ค่อยโกรธ ร้อยละ 12.11 ระบุว่า ค่อนข้างโกรธ ร้อยละ 9.31 ระบุว่า โกรธมาก และร้อยละ 0.51 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เป็นการแบ่งจ่ายในรูปของเงินดิจิทัลวอลเล็ต เช่น งวดละ 5,000 บาท จำนวนสองงวด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 60.88 ระบุว่า ไม่โกรธเลย รองลงมา ร้อยละ 20.07 ระบุว่า ไม่ค่อยโกรธ ร้อยละ 10.58 ระบุว่า ค่อนข้างโกรธ ร้อยละ 8.30 ระบุว่า โกรธมาก และร้อยละ 0.17 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่ระบุว่าอยู่ในกลุ่มที่จะไม่ได้รับเงินใด ๆ (จำนวน 479 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับการแจกเงิน 10,000 บาท ของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 29.44 ระบุว่า รัฐบาลควรแจกเงินให้กับทุกกลุ่ม ไม่ว่ากลุ่มนั้นจะมีรายได้หรือทรัพย์สินเท่าไรรองลงมา ร้อยละ 25.47 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการแจกเงินให้แก่กลุ่มใด ๆ ร้อยละ 25.25 ระบุว่า เห็นด้วยเฉพาะการแจกเงินสด 10,000 บาทแก่กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้พิการ เท่านั้น ร้อยละ 15.66 ระบุว่า เห็นด้วยกับการแจกเงินทั้งแบบเงินสดแก่ผู้เปราะบาง ผู้พิการ และแบบเงินดิจิทัลวอลเล็ต ในเฟสที่ 2 ร้อยละ 2.30 ระบุว่า เห็นด้วยเฉพาะการแจกเป็นรูปแบบเงินดิจิทัลวอลเล็ต ในเฟสที่ 2 เท่านั้น และร้อยละ 1.88 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.45 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.60 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.85 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.25 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.90 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.95 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.20 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.80 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 16.15 อายุ 16-25 ปี ร้อยละ 17.10 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 17.50 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 25.45 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.80 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.65 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.75 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.60 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.90 สถานภาพโสด ร้อยละ 60.15 สมรส และร้อยละ 1.95 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 0.70 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 25.10 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 39.40 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.65 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.35 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 2.55 จบการศึกษาปริญญาโทหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.25 จบการศึกษาปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.60 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.80 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.75 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.15 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.55 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.10 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 9.05 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.60 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 4.55 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 17.30 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 29.90 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 8.45 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.05 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 1.90 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.20 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.40 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.30 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ร้อยละ 0.45 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 4.90 ไม่ระบุรายได้