ก้าวเข้าสู่ปีที่ 19 ของ ค่ายยอดนิยมในกลุ่มคนรักการเขียนนิยายและนักวาดการ์ตูน สำหรับ “ค่ายกล้าวรรณกรรม” และ “ค่าย 7-11 ถอดรหัสนักวาดการ์ตูนในฝัน” ภายใต้แนวคิด “นักเขียนรักษ์ป่าเพื่อโลก”โดยปีนี้มีนักเรียน เเละครูเข้าร่วมอย่างคับคั่ง 

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ สร้างโอกาสสู่เส้นทางนักเขียนและนักวาดการ์ตูน ประสานความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, สมาคมการ์ตูนไทย และสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย โดยมีสุดยอดเยาวชนนักเขียนและนักวาดการ์ตูนจากทั่วประเทศ และครู ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการในรูปแบบค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการเข้มข้น 4 วัน 3 คืน รวม 131 คน ณ บ้านผู้หว่าน จังหวัดนครปฐม

นายประสิทธิ์ ฉกาจธรรม รองกรรมการผู้จัดการ บมจ. ซีพี ออลล์ กล่าวว่า “ค่ายกล้าวรรณกรรม” และค่าย “7-11 ถอดรหัสนักวาดการ์ตูนในฝัน” เป็นกิจกรรมส่งเสริมการเขียนการอ่านการเรียนรู้ของซีพี ออลล์ ในการส่งเสริมการศึกษาพัฒนาเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ปณิธานองค์กรของซีพี ออลล์ที่ว่า “Giving & Sharing”

มีวัตถุประสงค์ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของโลกร้อนที่เข้าสู่จุดวิกฤตที่มีความรุนแรงมากขึ้น และผลกระทบจากยุคโลกเดือด (Global Boiling) จึงดำเนินโครงการภายใต้แนวคิด “นักเขียนรักษ์ป่าเพื่อโลก” และมุ่งหวังให้เยาวชนและอาจารย์ ร่วมกันนำประสบการณ์ที่ได้รับไปขยายผลในสถานศึกษาของตนต่อไป เพื่อสร้างบุคลากรด้านวรรณกรรมและการ์ตูน ให้มีความรู้ความเข้าใจ มีคุณภาพ ทั้งด้านทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ สามารถใช้สื่อใหม่ ๆ บูรณาการการเรียนรู้ การศึกษา และพัฒนาสังคม ได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่ผลงานที่สร้างสรรค์ รวมถึงการสร้างเครือข่ายและสัมพันธภาพที่ดี”

ความพิเศษและความเป็นเอกลักษณ์ของค่ายที่ทำให้นักเรียนและครูอาจารย์ จากทั่วประเทศมุ่งหวังส่งผลงานมาเพื่อให้ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมค่าย คือ ค่ายนี้ได้รับเกียรติจากศิลปินแห่งชาติ นักเขียนรางวัลซีไรต์ กวีซีไรต์ นักวาดการ์ตูนชื่อดัง นักวิชาการ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิแขนงต่าง ๆ ที่มากด้วยประสบการณ์ มาร่วมกันถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนเทคนิคการเขียน การวาดการ์ตูนแก่ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างใกล้ชิด 

ในปีนี้ มีนักเรียนและอาจารย์ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการค่ายกล้าวรรณกรรม 82 คน (นักเรียน 48 คน / ครูอาจารย์ 34 คน) โครงการค่ายการ์ตูนฯ 49 คน (นักเรียน 47 คน / ครูอาจารย์ 2 คน) รวมทั้งสิ้น 131 คน ซึ่งทุกคนจะได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจมากมาย เช่น 

– บรรยายพิเศษ หัวข้อ นักเขียนรักษ์ป่าเพื่อโลก โดย วัธนา บุญยัง นักเขียนสารคดีและนักเขียนแนวพงไพร

– สนทนาพิเศษ นักเขียนรักป่า สร้างป่า โดยวัธนา บุญยัง และบุหลัน รันตี สองนักเขียนสารคดี และดำเนินรายการโดย ชมัยภร แสงกระจ่าง ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ 

- บรรยายลิขสิทธิ์โดย เขมะศิริ นิชชากร ผู้อำนวยการกองป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา 

– เสวนาหัวข้อ “จริยธรรม และลิขสิทธิ์ ในงานสร้างสรรค์ ” โดย นรีภพ จิระโพธิรัตน์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, กนกวลี กันไทยราษฎร์ อดีตนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, ณภัทร พรหมพฤกษ์ นายกสมาคม TCAP, คณิต ศาตะมาน รองนายกสมาคมดิจิทัลไทย ดำเนินรายการโดย อ.ดร.ณประภาพร รุจจนเวท รองคณบดีฝ่ายพัฒนาศักยภาพนิสิตและกิจการพิเศษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และยังมีกิจกรรมเสริมทักษะพิเศษเฉพาะด้านของทั้งสองค่าย

น้องภูมิ หรือนายภูมิภัทร ใจบุญ นักเรียชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพฯ จากค่ายการ์ตูน เล่าว่า “ปกติสนใจเกี่ยวกับเรื่องวาดการ์ตูนอยู่แล้ว และคุณครูก็แนะนำว่าค่ายนี้เป็นค่ายที่น่าสนใจ จึงสมัครเข้ามาร่วม เพื่อเรียนรู้และรับคำแนะนำต่างๆ จากวิทยากรที่มาแชร์ประสบการณ์เอาไปต่อยอด และได้เครือข่ายเพือนๆ ที่อยู่ในแวดวงผู้ชื่นชอบการ์ตูนเหมือนกัน ซึ่งโอกาสอย่างนี้หาได้ยากครับ ถ้ามีโอกาสแล้วก็อยากให้ลองเข้ามาร่วมกิจกรรมค่ายนี้ครับ”

ด้านนายนนทพัทธ์ หิรัญเรือง คุณครู จากโรงเรียนกระดุมทองวิทยา จังหวัดศรีสะเกษ ที่มาร่วมค่ายกล้าวรรณกรรม เล่าว่า “สมัยยังเป็นนักเรียน นักศึกษาเคยส่งผลงานเข้าประกวด ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นักเขียนรุ่นเยาว์ จากโครงการหนังสือดีเด่นรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด หมวดกวีนิพนธ์ ปี 2561 และ 2563 ปี 2565 หลังจากที่ได้มาเป็นครูก็ได้ข่าวโครงการค่ายกล้าวรรณกรรม ซึ่งความจริงก็รู้จักโครงการนี้มานานแล้ว อาจารย์ที่เป็นอาจารย์พิเศษท่านได้แนะนำว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่มีการระดมนักเขียนแห่งชาติ ครูบาอาจารย์หลายท่านมาฝึกเขียนอย่างเข้มข้นใน 4 วัน ก็ทำให้มีความสนใจ ค่ายนี้ทำให้ได้เรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์จริง และผ่านการสร้างสรรค์งานมาอย่างเข้มข้น เชื่อว่าจะสามารถต่อยอดในการสร้างสรรค์งานได้ เพราะว่างานสร้างสรรค์ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าต้องมีการดูต้นแบบด้วย แล้วถึงจะคลี่คลายไปเป็นรูปแบบหรือแนวทางของแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้นการที่นักเรียนได้เข้ามาร่วมโครงการตรงนี้ เชื่อว่าจะได้คลุกคลีกับตัวจริงและวิพากย์วิจารณ์กันอย่างเข้มข้น เมื่อกลับไปในเรื่องของการสร้างสรรค์จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้นแน่นอนครับ”

โครงการค่าย “กล้าวรรณกรรม” และค่าย “7-11 ถอดรหัสนักวาดการ์ตูนในฝัน” เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 19 ปี ภายใต้นโยบายส่งเสริมการศึกษา พัฒนาเยาวชน และส่งเสริมการอ่าน-การเขียน ภายใต้โครงการ “เซเว่นบุ๊คอวอร์ด” ของซีพี ออลล์ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีเยาวชนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 2,344 คน และครูอาจารย์จำนวน 590 คน

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.csrcpall.com หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2071-2903 หรือ 02