จากการที่เรือบรรทุกน้ำมันชื่อ“ไทยแหลมทอง 8”เกยตื้น ที่บริเวณเกาะไม้ซี้เล็ก อ.เกาะกูด จ.ตราด(หน้าโรวแรมโซเนวาคีรี) ที่พิกัด ละติจูด 11° 42.63' เหนือ ลองติจูด 102° 31.11' ตะวันออก โดยมีลูกเรือ 10 นาย อยู่ในเรือ และปลอดภัยทุกคน เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์แล้วยังไม่สามารถนำเรือบรรทุกน้ำมันลำดังกล่าว

นายมานพ เหลืองอ่อน เปิดเผยว่า หลังจากทราบข่าวแล้วได้ติดตามไปยังสถานที่เกิดเหตุ และเข้าไปตรวจสอบสาเหตุ ซึ่งพบว่า ท้องเรือมีรอบรั่ว และปัจจุบันน้ำเข้าไปในเรือบรรทุกน้ำมันทำให้น้ำเข้าไปในเรือบรรทุกน้ำมัน ซึ่งเมื่อไม่สามารถอุดรอยรั่วได้จึงทำให้เรือบรรทุกน้ำมันช่วงท้ายเรือจมลงไป ซี่งจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข และประสานให้เจ้าของบริษัทเข้าไปดำเนินการกู้เรือบรรทุกน้ำมันเนื่องเกรงว่าจะเกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะน้ำมันที่ยังค้างอยู่ในเรือบรรทุกน้ำมัน ทั้งนี้ได้ใช้ตัวบูมล้อมเรือบรรทุกน้ำมันไว้แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมันรั่วไหลออกมา โดยวันนี้ ไม่มีคลื่นลมแรงเท่าใด จึลทำให้ทางเจ้าหน้าที่ศรชล.ตราดต้องเฝ้าระวังตลอดเวลาเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอื่นๆ

ด้านนายกริชเพชร ชัยช่วย อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยว่า เรื่องนี้ได้รับทราบจากเจ้าท่าตราดที่รายงานสถานการณ์ให้อย่างต่อเนื่องและได้สั่งการไปแล้วให้ดำเนินการป้องกันไม่ให้น้ำมันในเรือรั่วไหลออกมาเนื่องจากเกรงว่าจะกระทบกับสภาพแวดล้อมของทะเลเกาะกูดเนื่องจากเกาะกูดเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงามและสร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดตราดจึงต้องดูแลรักษาไว้ 

ล่าสุด สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 สาขาตราด (กรมเจ้าท่า) ได้       รายงานสถานการณ์ว่า ในวันนี้(วันที่ 25กันยายน 2567)ทางบริษัทฯ เจ้าของเรือไทยแหลมทอง 8 ได้ประเมินสถานการณ์แล้วคลื่นลมสงบ และในเวลา 08.30 น. เริ่มปฏิบัติงานกู้เรือและสำรวจสภาพเรือ โดยมีเรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน 2 ลำ ซึ่งแบ่งเป็น 2 งาน ดังนี้ 1.สนับสนุนในการช่วยล้อมบูมรอบเรือ เพื่อป้องกันคราบน้ำมัน หากเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล พร้อมพาคนประจำเรือของเรือไทยแหลมทอง 8 ไปเก็บสัมภาระของใช้ เอกสารเรือและสิ่งจำเป็นที่ยังคงไว้ที่เรือตอนสละเรือใหญ่ 2.ปฏิบัติภารกิจสำรวจเรือและกู้เรือ ตั้งแต่วันที่ 23-26 กันยายน 2567 โดยระหว่างนี้เรือสนับสนุน จะคอยซับพอร์ตเหตุการ์ณหากเกิดเหตุฉุกเฉิน และมีแผนการปฏิบัติงาน ดังนี้ คือ เรือวางบูมเข้าพื้นที่ และทิ้งสมอห่างจากจุดพื้นที่การทำงานอย่างน้อย 70 เมตร และส่งคนขึ้นฝั่งไปผูกเชือกรั้งบูม หัวท้าย พร้อมนำสมอบูมมาวางรั้งแนวตัวบูมให้เป็นท้องช้างเพื่อล้อมตัวเรือ และทำการลากบูมจากเรือบูมมาเข้าจุดและยึดบูมเข้ากับสมอและเชือก ทั้งนี้ ตรวจเช็คแนวบูมที่ล้อมเรือปรับแต่งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อป้องกันเหตุ หากเกิดการรั่วไหลของน้ำมัน

ซึ่งในการปฏิบัติงานล้อมบูมและวางสมอยึดบูม จะใช้เรือยาง 140 แรง เป็นหลัก เพื่อคล่องตัวต่อการปฏิบัติภารกิจ ซึ่งผลการปฏิบัติ สามารถทำการล้อมบูม รอบตัวเรืป้องกันเหตุหากเกิดการรั่วไหลของน้ำมัน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตัวบูมกักและกางล้อมรอบตัวเรืออย่างสมบูรณ์ และจากการตรวจสอบเบื้องต้น ยังไม่พบคราบน้ำมันรั่วไหลออกจากตัวเรือแต่อย่างใด