วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี MOU มหาวิทยาลัยอลาบาม่า รัฐเบอมิ่งแฮม พัฒนาองค์ความรู้คณาจารย์ มุ่งผลิตพยาบาลที่ดีมีประสิทธิภาพ พร้อมให้บริการและดูแลสุขภาพประชาชน

การเซ็นสัญญาข้อตกลงความร่วมมือทางทางการวิจัย วิชาการ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ระหว่าง School of Nursing, University of Alabama at Birmingham ประเทศสหรัฐอเมริกา และวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประเทศไทย โดยเป็นการลงนามระหว่าง Dr. Shadi Martin, Vice-Provost for International Education and Dean Of Graduate School และ Dr. Maria R. Shirey, Dean, Fay B. Ireland Endowed Chair in Nursing; Director, PAHO/WHO Collaborating Centre for International Nursing กับ รศ.ดร. ทัศนา บุญทอง คณบดีวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 

เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2567 ที่ ห้องประชุมผู้บริหารชั้น 2 อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เวลา 20.15 น. ตามเวลาในประเทศไทย ได้มีการเซ็นสัญญาข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการผ่านระบบซูม ระหว่าง รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง คณบดีวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และรองคณบดี รวมถึงผู้ช่วยคณบดี นอกจากนั้นยังมีอาจารย์ท่านอื่นเข้าร่วมด้วยกับ Dr.Shadi Martin,Vice-Provost for International Education and Dean of Graduate School University of Alabama at Bermingham,USA เพื่อสร้างความร่วมมือ ทางการวิจัย วิชาการ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม

รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง คณบดีวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า ทางรัฐบาลได้มีการมอบทุนการศึกษาแด่อาจารย์พยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ปีละ 10 ทุนเป็นเวลา 5 ปีเพื่อให้คณาจารย์เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่สูงขึ้น วุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้กลับมาจัดการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพสำหรับการผลิตพยาบาลที่ดีมีประสิทธิภาพและมีความพร้อมที่จะออกไปให้บริการและดูแลสุขภาพประชาชน

โดยอาจารย์แต่ละท่านที่ได้รับเลือกให้รับทุนการศึกษาจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของภาษาเพื่อจะไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จึงมีสถาบันการศึกษาที่พร้อมจะร่วมมือกันในการพัฒนา ทั้งการทำงานวิจัยร่วมกัน  แลกเปลี่ยนอาจารย์ แลกเปลี่ยนนักศึกษา เชิญอาจารย์จากสถาบันต่างประเทศมาสอน เหล่านี้ล้วนเป็นการพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษาทั้งสิ้น มหาวิทยาลัยอลาบาม่า รัฐเบอมิ่งแฮม สหรัฐอเมริกา นับเป็นมหาวิทยาลัยชั้นเลิศที่มีคุณภาพในการจัดการเรียนการสอน

ทั้งนี้ อาจารย์ที่จะได้รับการคัดเลือกให้รับทุนการศึกษานี้จะต้องมีคุณสมบัติ คือจบการศึกษาในระดับปริญญาโท มีอายุไม่เกิน 40 ปี มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษในเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยอลาบาม่าได้กำหนดไว้ มีการสัมภาษณ์ มีการนำเสนอโครงการวิจัยที่ต้องการจะศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ซึ่งโครงการวิจัยที่เสนอไปนั้น จะต้องเป็นโครงการวิจัยที่เป็นประโยชน์ในการนำกลับมาพัฒนาการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาล และมีประโยชน์ในการดูแลสุขภาพประชาชน ซึ่งคณะพยาบาลของมหาวิทยาลัยอลาบาม่า รัฐเบอมิ่งแฮม สหรัฐอเมริกา เป็นสถานศึกษาที่เก่าแก่มีสาขาความรู้ที่คณาจารย์มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย ในการทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้  นับเป็นประโยชน์ในการพัฒนาองค์ความรู้ของคณาจารย์แห่งวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้มีคุณสมบัติ มีวุฒิการศึกษาและมีประสบการณ์ที่ดี ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพต่อไป