​แผนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2560-2564) ที่มุ่งเน้นสร้างรายได้ และความเจริญ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้ครอบคลุมทั้งประเทศโดยให้ภาคเอกชน และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกับภาครัฐ ในการขับเคลื่อนงานให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง จำเป็นต้องมุ่งเน้นมาที่การพัฒนาชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มสำคัญสามารถขยายผลให้การสร้างรายได้ และความยั่งยืนให้กับพื้นที่ สามารถสร้างอาชีพ ทั้งด้านการผลิต การค้า และการบริการ และการสร้างการรับรู้ แก่บุคคลภายนนอกเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว มาท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยวชุมชน เป็นการส่งเสริมการตลาด เพื่อเป็นช่องทางในการจำหน่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในวงกว้าง
           
ทั้งนี้จังหวัดสตูลโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสตูล ได้ริเริ่มโครงการสร้างเสริมศักยภาพชุมชนเข้มแข็ง พัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดสตูล โดยได้เปิดตัวเส้นทางท่องเที่ยว 8 เส้นทาง ที่เป็นไฮไลท์ของจังหวัดสตูลที่นักท่องเที่ยวเมื่อมาเยือนต้องไม่พลาดที่จะไปท่องเที่ยว และเยี่ยมชมความสวยงาม

-เส้นทางที่ 1 (เช็คอินถิ่นตูล) อำเภอเมือง - สันหลังมังกร ซึ่งจะได้พบกับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล (คฤหาสน์กูเด็น) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเรื่องราวภูมิหลังเมืองสตูลในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีวิถีชีวิต และโบราณคดี ,ถนนบุรีวานิช ย่านเมืองเก่า ,ชุมชนบากันเคย ,หาดทรายดำ ,เกาะหินเหล็ก และหาดสันหลังมังกร
 
 

-เส้นทางที่ 2 อำเภอควนกาหลง - บ้านโตนปาหนัน ซึ่งจะได้พบกับ ชุมชนบ้านโตนปาหนัน ,บ่อน้ำพุร้อนทุ่งนุ้ย บ้านโตนปาหนัน
 
 

-เส้นทางที่ 3 อำเภอควนโดน - ชายแดนวังประจัน  จะได้พบกับ ตลาดชายแดนวังประจัน ตลาด 2 แผ่นดินไทย - มาเลเซีย ,อุทยานแห่งชาติทะเลบัน (ทะเลสวย ที่ไม่ใช่ทะเลน้ำเค็ม) สินค้าวิสาหกิจชุมชนดาหลาปาเต๊ะ อาทิ กระเป๋า ,ผ้าบาติก และผ้ามัดย้อม ,


 

เส้นทางที่ 4 อำเภอมะนัง - ถ้ำภูผาเพชร วังสายทอง จะได้พบกับ “Unseen สตูล” อาทิ ถ้ำภูผาเพชรที่เก่าแก่กว่า 450 ล้านปี ,น้ำตกวังสายทอง ,วัดนิคมพัฒนาราม
 
 

-เส้นทางที่ 5 อำเภอท่าแพ - บ้านสาคร จะได้พบกัน ชุมชนสาครที่โอบล้อมด้วยธรรมาติแบบ 360 องศา เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด
 
 

เส้นทางที่ 6 อำเภอละงู – ปราสาทหินพันยอด จะได้พบกับ ปราสาทหินพันยอดที่เป็นภูเขาหินปูนในยุคออโดวิเซียน มีอายุเก่าแก่กว่า 488 ล้านปี และเป็นพื้นที่ถูกประกาศให้เป็นอุทยานธรณีโลก ซึ่งเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของไทย และปันหยาบาติก วิสาหกิจชุมขนที่ผลิต และจำหน่ายผ้ามัดย้อมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีฝีมือในการวาดลายผ้าที่สวยงาม โดดเด่น คือ เน้นการใช้สีธรรมชาติในการผลิตชิ้นงาน อาทิ แร่ธาติ ,ใบไม้ ,เปลือกไม้ และผลไม้ และนักท่องเที่ยวยังได้ร่วมทำกิจกรรม Workshop เพนท์ผ้าบาติกด้วยฝีมือตัวเอง
 
 

เส้นทางที่ 7 อำเภอทุ่งหว้า – ท่าข้ามควาย จะได้พบกับชุมชน     เล็กๆ ติดกับชายฝั่งทางออกสู่ทะเลอันดามัน ซึ่งมีกิจกรรม อาทิ ให้อาหารเหยี่ยวแดง ,ชมฝูงปูก้ามดาบ ,ชมฝูงค้างคาวนับหมื่นตัว และล่องเรือชมพระอาทิตย์ตกดิน ,พิพิธภัณฑ์บ้านท่าข้ามควาย ที่รวบรวมของเก่าหาดูยาก อาทิ เครื่องมือประมง ,อุปกรณ์ทำสวนยาง และเครื่องมือทำนา และจักสานต้นคลุ้มบ้านวังตง ที่มีผลิตภัณฑ์จักสานจากต้นคลุ้ม อาทิ โคมไฟ กระเป๋า และหมวก
 
 

เส้นทางที่ 8 เส้นทางท่องเที่ยว GEOPARK จะได้พบ พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีโลกสตูลนำเสนอข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับธรณีวิทยา ,ซากดึกดำบรรพ์ และโบราณวัตถุในพื้นที่ ,ถ้ำเลสเตโกดอน เป็นถ้ำเลที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร ในถ้ำมีหินรูปร่างแปลกตา ,ซากฟอสซิลที่มีอายุประมาณ 500 ล้านปี เหมาะสำหรับคนชอบท่องเที่ยวแบบ อเวนเจอร์ส และรักธรรมชาติ ,สะพานข้ามกาลเวลา เป็นทางเดินริมทะเลเพื่อศึกษาธรณีวิทยากับธรรมชาติเลียบชายฝั่ง ที่มีช่วงหนึ่งของหน้าผาที่ชนกันของหิน 2 ยุค คือ ยุคแคมเบรียน (542 - 488 ล้านปี)  กับยุค  ออร์โดวิเชียน (488 - 444 ล้านปี) และฉิมเมล่อน เป็นแหล่งเรียนรู้ท่องเที่ยวเชิงเกษตร การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน การผสมเกสรของเมล่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมล่อนจีโอปาร์คบนพื้นผิวเมล่อน (อัตลักษณ์หนึ่งเดียวในโลก) 
 
“การเปิดเส้นทางท่องเที่ยว 8 เส้นทางที่เป็นไฮไลท์ของจังหวัดสตูล เชื่อว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเป็นการนำพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนผลักดันให้เป็นซอฟเพาเวอร์ในท้องถิ่นสู่ตลาดสากล  และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ชาวบ้านมีงานทำ”